#รีวิวหนังสือ สำหรับหัวหน้าที่อยากให้ลูกน้องคิดเองเป็น
สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ สำหรับหัวหน้า ที่อยากให้ลูกน้องคิดเองเป็น เล่มนี้ คู่มือพื้นฐานของหัวหน้ามือใหม่ ที่กำลังมีปัญหากลุ้มใจในการดูแลลูกน้อง อยากให้ลูกน้องพัฒนา โดยเปลี่ยนจากมนุษย์รอคำสั่งให้รู้จักคิดเองเป็น
รีวิวหนังสือ คู่มือพื้นฐานของหัวหน้ามือใหม่ หรือมือเก๋า ที่กำลังเจอปัญหา “กลุ้มใจกับมนุษย์รอคำสั่ง” ที่อยากเปลี่ยนลูกน้องจากมนุษย์รอคำสั่ง ให้นู้จักคิดเอง เคล็ดลับที่ผู้เขียนแนะนำไว้ใน รีวิวหนังสือ เล่มนี้ พิสูจน์แล้วว่าใช้ได้ผลจริง “ลูกน้องจะทำงานแบบรอรับคำสั่งหรือไม่? ขึ้นอยู่กับว่าคุณคิดและทำอย่างไร?
ผู้เขียน: ชิโนฮาระ มาโคโตะ
ผู้แปล: ศุภภัทร พัฒนเดชากุล
บทที่ 1 “วิธีฝึกให้ลูกน้องคิดเองทำเองเป็น” มี 3 ขั้นตอนง่ายๆ
- บอกลูกน้องว่ากำลังคิดอะไรอยู่
- ปล่อยให้ลูกน้องคิดเองทำเอง
- แม้ลูกน้องจะทำผิดพลอยก็ให้คิดว่า ช่วยไม่ได้
วิธีเรียนรู้เมื่อจำได้แล้วจะไม่ลืม ค้นพบคำตอบด้วยตัวเอง จะทำให้เรื่องนั้นๆติดแน่นในความทรงจำ การที่ไม่มีใครสอนจะช่วยให้เราเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง
บทที่ 2 หลัก 6 ข้อของหัวหน้าที่ไม่ธรรมดา
- ห้ามคิดว่าพอมีลูกน้องแล้วจะสบาย
- หัวหน้าไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าลูกน้อง
- ไม่ใช้อำนาจก็ไม่เป็นไร
- ห้ามบอกคำตอบ
- อย่าพยายามเพิ่มแรงจูงใจในการทำงาน
- ให้ลูกน้องทำงานโดยไม่ออกคำสั่ง
บทที่ 3 อะไรคือ “กลยุทธ์” ของหัวหน้า
- โซ ชู โซกุ ยู คือ กระบวนการเรียนรู้
- โซ จดจำให้เต็มที่
- ชู ฝึกฝนซ้ำๆให้เชี่ยวชาญ
- โซกุ ฝึกจนเชี่ยวชาญทำได้ง่ายเหมือนหายใจ
- ยู เล่น นำความเชี่ยวชาญนั้นไปท้าทายสิ่งใหม่ๆ
วิธีสอนที่ผิด
- สอนเยอะเกินไปในครั้งเดียว
- ลงมือทำเองมากเกินไป
- สอนน้อยเกินไป
บทที่ 4 วิธีสอนลูกน้องตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานจนถึงปีที่ 3
เวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ของพนักงานใหม่อยู่ที่ 3 ปี และการสอนงานให้ลูกน้องคิดเองทำเองเป็นก็ควรจะอยู่ที่ 3 ปีเช่นกัน 1 เดือนแรก
- ให้ลูกน้องทำความคุ้นเคย ไม่ใช่จำ
- หัวหน้าไม่จำเป็นต้องพูดเก่ง
- อย่าคิดเอาเองว่าลูกน้องมีงานที่อยากทำ
- ประชุมอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประชุมสั้นๆกับลูกน้องทีละคน
- นิสัยที่หัวหน้าอยากให้ลูกน้องมีนั้นคือการจดบันทึก
- หัวหน้าควรจะพูดอะไรกับลูกน้องในช่วงพัก หัวหน้าควรฟังมากกว่า
- ลูกน้องไม่ได้มีไว้ทำงานแทนหัวหน้า
บทที่ 5 9 วิธีรับมือเมื่อเกิดปัญหา
- ถ้าอยากให้ลูกน้องตั้งใจมากขึ้นให้บอกว่า อย่าพยายามมากไปนะ
- วิธีคิดและวิธีบอกส่งงาน
- อย่าคาดหวังให้ลูกน้องทำงานโดยใช้พลังงานเต็มเปี่ยมตลอดเวลา
- วิธีคิดพื้นฐานในการตักเตือนลูกน้อง ควรตั้งคำถามไม่ใช่ตักเตือน
- เมื่ออยากให้ลูกน้องพยายามมากขึ้นควรพูดว่า พยายามได้ดีนะ
- กรณีที่หัวหน้าไม่มีเวลาสอนงานให้ หัวหน้าก็ไม่ควรเรียกร้องอะไร
- หากความสัมพันธ์ย่ำแย่ อย่างน้อยก็ควรมีความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ
- เมื่อรู้สึกว่าลูกน้องไม่เหมาะกับงานให้หาจุดแข็งของเขา
- การคิดเชิงสมมุติฐาน ช่วยให้ลูกน้องเติบโตได้ต่อเนื่อง
รีวิวหนังสือ โดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)
อ้างอิงจาก https://bit.ly/33tQwUn