#รีวิวหนังสือ คัมภีร์ฉุดธุรกิจปากเหว ให้ฟื้นคืนชีพ

สิ่งที่จะได้ใน รีวิวหนังสือ เล่มนี้ : เพิ่มยอดขายได้ใน 1 ปี ด้วยการคิดนอกกรอบ และการสร้างแบรนด์แบบใหม่ รีวิวหนังสือ เล่มนี้ทำให้เห็นภาพทั้งหลักการ และแนวทางการปฎิบัติวิธีการเกิดใหม่ของบริษัทในอุตสาหกรรมที่อยูในระยะอิ่มตัว และระยะถดถอย

รีวิวหนังสือ

เปิดโนว์ฮาว สร้างชุมชน สร้างแบรนด์

สภาพแวดล้อมในการทำธุรกิจแบบ 3K คือ

  1. Kurushii (น่าอึดอัด)
  2. Kibishii (ตึงเครียด)
  3. Kanashii (น่าเศร้า)

วิธีพลิกฟื้นบริษัท

  1. โนว์ฮาว ( Know-how )
  2. คอมมิวนิตี้ ( Community )
  3. แบรนด์ ( Brand )

โนว์ฮาว ( การนำเสนอความรู้ ) โนว์ฮาว คือ ความรู้ ภูมิปัญญา เทคนิค หรือข้อมูลที่คุณมี โนว์ฮาวไม่ใช่สิ่งที่สั่งสมเก็บไว้ในตัวคุณ แต่เป็นสิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นเป็นครั้งแรกเมื่อเปิดเผยสู่ภายนอกบริษัท

การที่คุณนำเสนอโนว์ฮาวออกไป จะทำให้สร้างกลุ่มแฟนคลับที่พร้อมจะสนับสนุนคุณได้ เมื่อคุณเผยแพร่ความรู้ที่มีออกไป คุณจะกลามเป็นคนที่มีความสามารถโดดเด่นในอุตสาหกรรมนั้น และสร้างตลาดที่รวบรวมทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการธุรกิจเดียวกันกันไว้ได้

คอมมิวนิตี้ ( การนำเสนอสถานที่ ) คอมมิวนิตี้ไม่จำเป็นต้องหาและรวบรวมผู้เข้าร่วม และการรักษาคอมมิวนิตี้ก็ไม่จำเป็นต้องจัดเลี้ยงหรือนัดสังสรรค์ให้ลำบาก การสร้างสินค้า หรือ บริการ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้านั้นสำคัญทแต่การสร้าง สถานที่ เพื่อนำเสนอสินค้า ก็สำคัญ

แบรนด์ ( การนำเสนอคุณค่า ) วิธีที่สาม ในการทำให้ บริษัทปากเหว ที่ผลประกอบการมาถึงทางตันและกำลังถดถอย กลับมาเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างสง่างามคือการสร้างแบรนด์

15

โดย : ยูอิจิโร่ นากายามะ (Yuichiro Nagayama)

แปล โตมร ศุขปรีชา
จำนวน : 250หน้า
ราคา : 168 บาท

รีวิวหนังสือ หมวด : บริหารจัดการธุรกิจ


บทที่ 1 วิธีการพลิกฟื้นกิจการแบบตัว V ของธุรกิจ

บริษัท 97% อยู่ “ปากเหว”

14

อุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัว หรือ ระยะถดถอย คือ อะไร

ลักษณะ 3 ประเภท ของอุตสาหกรรมที่ไม่เติบโตคือ?

ประเภทแรกคือ อุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัว หรือ ถดถอยมีการควบรวบกิจการ การล้มละลายของกิจการ และการเลอกกิจการของธุรกิจภายในอุตสาหกรรมเกิดขึ้นบ่อยๆ คือ มีความเคลื่อนไหวที่น่าหวั่นใจอยู่เสมอในอุตสาหกรรม การลดลงของจำนวนกิจการอุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัวหรือระยะถดถอยเรียกว่า “Shake Out” ซึ่งอัตราส่วนการลดลงของกิจการในอุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัว หรือระยะถดถอยมีมากถึง 52%

ประเภทที่สอง คือ เมื่อเปรียบเทียบขั้นตอนการการผลิตสินค้าตาม ทิศทางการไหลของแม่น้ำ ต้นน้ำ คือผู้ผลิตวัตถุดิบ และ ปลายน้ำคือผู้ใช้ (End User) จะมีอำนาจเหนือ กลางน้ำ คือผู้ผลิตสินค้าขั้นกลางและผู้จัดจำหน่าย ทำให้การบริหารธุรกิจกลางน้ำเป็นไปอย่างยากลำบาก ในขณะที่ผู้ผลิตวัตถุดิบดึงดันเพื่อขึ้นราคา แต่การที่ธุรกิจกลางน้ำจะขอขึ้นราคาจากผู้ใช้นั้นเป็นเรื่องยาก

ประเภทที่สาม คืออุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัวหรือระยะถดถอยเป็นอุตสาหกรรมที่มีการย้ายโรงงานผลิตไปเรื่อยไม่เพื่อหาแรงงานราคาถูก

ลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ 4 แบบ คือ

  1. อยู่ในอุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัว หรือระยะถดถอย
  2. เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
  3. รับช่วงงานมา
  4. เป็นธุรกิจท้องถิ่น

แท้จริงแล้วอุตสาหกรรมในระยะอิ่มตัว หรือระยะถดถอยมีเรื่อง น่าสนใจสนซ่อนอยู่มากมาย และมีความสามารถในการทำกำไรมากกว่าอุตสาหกรรมในระยะเติบโตด้วยซ้ำ โมเดล วงจรการพัฒนาของอุตสาหกรรมล

บทที่ 2 ทำไมการเปิดเผยโนว์ฮาวถึงทำให้ผลประกอบการดีขึ้น

13

เพราะการเปิดเผยโนว์ฮาว เป็นเหมือนการให้สัญญากับลูกค้า ว่าเทคนิคการผลิตเหมือนกับที่บอกลูกค้าไป ทำให้ลูกค้ามั่นใจ และหากมีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับลูกค้ามากขึ้น จนทำให้ลูกค้ากลายเป็น แฟนคลับ (ผู้สนับสนุน) ของคุณได้ ถึงร้านอื่นจะมีสินค้าที่ราคาถูกกว่า ลูกค้าก็จะไม่เปลี่ยนใจไปซื้อสินค้านั้นจากผู้ขายอื่นแน่นอน

เมื่อเปิดเผยโนว์ฮาว ลูกค้าจะมองคุณเป็นผู้นำในวงการ และเป็นผู้ริเริ่ม สิ่งสำคัญคือ ไม่ใช่แค่การมีความรู้ แต่คือการถ่ายทอดความรู้และภูมิปัญญานั้นแก่ลูกค้า เพื่อประโยชน์ของลูกค้า

เมื่อเปิดเผยโนว์ฮาวแล้ว ยอดขายโตเป็น 2 เท่า เงินสดเพิ่มเป็น 10 เท่า

  • ถึงไม่ออกหาลูกค้า ลูกค้าก็มาเข้าคิวขอซื้อ
  • ลูกค้าจะกลายเป็นแฟนคลับของคุณ
  • คุณจะกลายเป็นผู้นำของวงการ และเป็นผู้ริเริ่ม
  • จะได้ออกสื่อและนิตยสารเฉพาะอุตสาหกรรม
  • จะพบคนที่เห็นด้วยกับความคิดและความเชื่อของเรา
  • การเปิดเผยโนว์ฮาวเป็นการสัญญากับลูกค้า
  • หากใช้วิธีเปิดเผยโนว์ฮาว ไม่จำเป็นต้องสร้างสินค้า ชนิดใหม่หรือระบบใหม่ขึ้นมาก็ได้

บทที่ 3 วิธีการเพิ่มผลประกอบการให้เติบโตเป็น 2 เท่า

12

และเพิ่มเงินสดเป็น 10 เท่าด้วยโนว์ฮาวของกิจการ ไม่ว่าใครต่างก็มีโนว์ฮาวที่ยอดเยี่ยม เพียงแค่รู้ “วิธีการ” ก็สามารถเพิ่มผลประกอบการให้โตเป็น 2 เท่า และเพิ่มเงินสดเป็น 10 เท่าได้

หาโนว์ฮาวของตัวเองให้เจอด้วย “คำถาม 3 ข้อ”

  1. จัดอันดับ การเครม(ร้องเรียน) 3 อันดับสูงสุด จากลูกค้าคืออะไร
  2. บริษัทของคุณมี คู่มือที่อ่านรู้เรื่องใน 3 วินาทีหรือไม่
    1. คู่มือ 3 วินาที
    2. ต้องเข้าใจได้ใน 3 วินาที
    3. มีตัวหนังสือน้อย มีรูปเยอะ
    4. ทำด้วย PowerPoint หรือ Visio
  3. งานที่ต้องใช้ มือคน ในการทำ และขั้นตอนสร้างคุณค่าคืออะไร
    • เนื้อหาของโนว์ฮาวที่สื่อสารออกไปต่อครั้งไม่ควรมีตัวหนังสือเกินครึ่งกระดาษ A4 หรือไม่เกิน 5 สไลด์ของ PowerPoint
    • สื่อสารโนว์ฮาวเดือนละ 1 ครั้ง กรณีที่เป้าหมายเป็นลูกค้าบริษัท
    • เมื่อสื่อสารโนว์ฮาวออกไปแล้ว ให้รวบรวมข้อมูลจากคนที่รับโนว์ฮาวนั้น แทนที่จะกลุ้มใจว่าจะไม่มีโนว์ฮาวเหลือ สู้ถ่ายทอดออกไปทีละนิดดีกว่า

บทที่ 4 วิธีสร้างคอมมิวนิตี้ที่ทำให้ผลประกอบการโตขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์

เป็นเพียงบริษัทท้องถิ่นขนาดนาดเล็กแต่กลับมีคำสั่งซื้อเข้ามาไม่ขาดสาย จนทำให้ลูกค้ายอมมาเข้าคิวซื้อ เคล็ดลับนั้นคือการสร้าง คอมมิวนิตี้ และถ่ายทอดโนว์ฮาวให้แก่ผู้เข้าร่วมคอมมิวนิตี้นั้น

ถ่ายทอดโนว์ฮาวให้แก่คนที่เข้าร่วมคอมมิวนิตี้เท่านั้น เพื่อจำกัดเพียงกลุ่มคนที่พร้อมจะเป็นเพื่อนและสนับสนุนความคิดของคุณเท่านั้น

การเปิดเผยโนว์ฮาวเป็นการทำให้เทคโนโลยีที่มีสามารถเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายขึ้น จริงๆ แล้วการสร้าง ความเชื่อถือและไว้ใจ ที่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญ กว่าสิ่งอื่นใดในยุคนี้

ส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ สำหรับคอมมิวนิตี้

  1. พันธกิจ
  2. เป้าหมาย
  3. ขอบเขตการการดำเนินงาน
  4. ข้อดีของการเข้าร่วมคอมมิวนิตี้
  5. ความแตกต่างจากคอมมิวนิตี้อื่น
  6. เงื่อนไขการเป็นสมาชิก
  7. วิธีการเข้าเป็นสมาชิก
  8. แนะนำบริษัท

สรุปบทที่ 4

  • ถ่ายทอดโนว์ฮาวให้แก่ผู้เข้าร่วมคอมมิวนิตี้
  • เคล็ดลับการสร้างคอมมิวนิตี้ที่ไม่ว่าใครก็ทำได้คือ “การไม่หาสมาชิก” และ การไม่จัดประชุม หรือนัดสังสรรค์
  • ตั้งชื่อให้มองทีเดียวแล้วรู้เลยว่าเป็น คอมมิวนิตี้ที่ทำอะไร
  • สิ่งที่ขาดไม่ได้ในคอมนิวนิตี้ พันธกิจ เป้าหมาย ขอบเขตการดำเนินงาน ข้อดีของการเข้าร่วม ความแตกต่างจากคอมมิวนิตี้อื่น เงื่อนไขการเป็นสมาชิก วิธีการเข้าเป็นสมาชิก แนะนำบริษัท
  • ขยายคอมมิวนิตี้ด้วยนิตยสารเฉพาะอุตสาหกรรมและ SNS ไม่มีโนว์ฮาวเหลือ สู้ถ่ายทอดออกไปทีละนิดดีกว่า
  • ความสัมพันธ์แบบหลวมๆ มีความสำคัญในการรักษาคอมมิวนิตี้ให้ยืนยาว
  • ให้ลูกค้าของคุณเข้ามามีส่วนร่วมในคอมมิวนิตี้

บทที่ 5 สงครามราคาจะหายไปได้ด้วยแบรนด์

สร้างแบรนด์ด้วยการใช้เสน่ห์จากทั้ง 3 องค์ประกอบ

  1. เรียกความสนใจด้วย ข้อมูล
  2. ดึงดูดด้วย สินค้า
  3. ทำให้หลงใหลด้วย สื่อ

3 วิธีแรก คือ

  1. เข้าหาลูกค้าอย่างเหมาะสม ด้วยการไปเยี่ยมเยียน
  2. สร้างประสบการณ์ร่วมกับลูกค้า
  3. การส่งต่อข้อมูลที่มีประโยชน์

3 ขั้นตอนให้ได้ลงสื่อ

  1. จัดทำเอกสารเผยแพร่
  2. เลือกสื่อที่อยากลง
  3. ติดต่อบริษัทสื่อด้วยอีเมล์หรือแฟกซ์

คีย์เวิร์ด 3 คำที่ทำให้ได้ความสนใจจากสื่อ
ความแปลกใหม่ ความเหนือคาด ประโยชน์ต่อสังคม

เคล็ดลับในการพัฒนาสินค้า

  1. เข้าร่วมการสร้างแบรนด์
  2. เชื่อมโยงจุดแข็งรอบตัว
  3. แก้ไขเรื่องที่เป็นปัญหา

คีย์เวิร์ด 3 ข้อ ในการลงสื่อ

  1. ความแปลกใหม่
  2. ความเหนือคาด
  3. ประโยชน์ต่อสังคม

 

รีวิวหนังสือ โดย คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2NHCB9s

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต