#รีวิวหนังสือ KM : KNOWLEDGE MANAGEMENT

สิ่งที่จะได้รับใน รีวิวหนังสือ KM : KNOWLEDGE MANAGEMENT หนังสือเล่มนี้ Knowledge Management การจัดการความรู้ช่วยให้คุณ “เข้าใจ” กระบวนการการทำงานและ “จัดการ” อย่างเป็นระบบสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งยังต่อยอดเป็นนวัตกรรม และถ่ายทอดความรู้ได้โดยใช้เวลาน้อยลง

รีวิวหนังสือ KM

25

24

เขียน : ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ (เซนเซเล็ก) พญ.ญาณี โชคสมงาม
หน้า : 242
ราคา : 289 บาท


บทที่ 1 Do or Die จะรับมือกับความท้าทายใหม่ได้อย่างไร?

23

เราจะลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้ หรือ เราจะรอต่อไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือที่ยืน FORD และ TOYOTA เลือกที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เรียกได้ว่า เป็น Once in a Century หรือ การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบ 100 ปี

FORD ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ และใช้ Big Data ในการเพิ่มผลิต (Improve Productivity) ส่งผลให้ประหยัดเงินได้มากถึง 1 ล้านยูโร

TOYOTA มีแนวคิดว่า กระแสโลกรุนแรงจมไม่สามารถต้านทานการเปลี่ยนแปลงได้ จึงออกแคมเปญ “Toyota’s game-changing solid-state battery” ผลิตรถยนต์ที่ได้

Solid-state Battery ทำให้รถวิ่งได้ไกลขึ้นโดยใช้เวลาชาร์จน้อยลง มีความปลอดภัยและนำมารีไซเคิลได้

ทั้ง 2 บริษัทมีแนวทางต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ ทำเพื่อความอยู่รอด พื้นฐานสำคัญที่ทำให้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ คือ ต้องมีคล้งความรู้ที่สั่งสมมามากพบ ซึ่งการรวบรวมองค์ความรู้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของ Knowledge Management KM

ชิเกกิ เทราชิ (Shigeki Terashi) Vice President ของ Toyota ได้กล่าวไว้ว่า“ความพยายามอย่าง อาจไม่เพียงพอ คุณต้องสร้างออกมาขายให้ได้จริงๆ ต่างหาก

Big Data ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนารถยนต์ได้อย่างไร

ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง เช่น ปัญหาและข้อเรียกร้องเรียนจากลูกค้า รวมถึงข้อมูลการเปรียบเทียบกับคูแข่งขัน (Benchmarking) ได้นำมาใช้ในกระบวนการวิเคราะห์ที่รวดเร็วและแม่นยำ

ถึงแม้ Big Data จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนารถยนต์แต่ปัจจัยความสำเร็จที่แท้จริงคือ ข้อมูลที่ได้รับจากลูกค้า การศึกษาคู่แข่งขัน ที่สำคัญคือ ความเข้าใจ

จาก 2 กรณี ศึกษาดังกล่าวจะเห็นว่า การจัดการความรู้โดยผสมผสานระหว่างองค์ความรู้เดิมกับความเข้าใจในกระบวนการทำงาน และเติมเต็มด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ


2.Last Man Standing VS Trendsetter จะยืนหยัดเป็นคนสุดท้าย หรือกลายเป็นผู้นำเทรนด์

22

Disruption กระบวนการที่บริษัทเล็กๆซึ่งมีทรัพยากรน้อยกว่า สามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ จนแข่งขันกับบริษัทยักษ์ใหญ่เดิมได้สำเร็จ

  • ตลาด/ห้าง ถูก Disrupt โดย lazada/Shopee
  • ร้านอาหาร ถูก Disrupt โดย GrabFood/Foodpanda
  • ธนาคาร ถูก Disrupt โดย Mobile Banking

3 ปัจจัยหลักที่ทำให้ธุรกิจไปไม่รอดในยุค Disruption

  1. ไม่รู้ว่ากำลังถูกเปลี่ยนแปลง (Lack of Awareness of Change)
  2. ไม่รู้ว่าจำเป็นต้องรีบเปลี่ยนแปลงเร็วไหน (Lack of Sense of Urgency)
  3. ไม่รู้วิธีการจัดการความรู้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง (Lack of Knowledge Management)

ตัวอย่าง Last Man Standing

  • Food Passion จากบาร์บีคิวพลาซ่าพัฒนาเป็น Food Passion
  • Universal Studios USJ The Ride-Backdrop ทำไมรถไฟเหาะต้องวิ่งถอยหลัง

ความรู้เดิมที่สั่งสมมา + คุณค่าใหม่ = สินค้า/บริการใหม่ใน อุตสาหกรรมเดิม

ตัวอย่าง Trendsetter

  • IBM เมื่อยักษ์สีฟ้าพัฒนาอาณาจักรใหม่
  • iPhone กำเนิด iPhone ยุคโทรศัพท์มือถือไร้ปุ่มครั้งแรก

ความรู้เดิมที่สั่งสมมา + เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆ = สินค้า/บริการใหม่ใน อุตสาหกรรมใหม่

องค์ประกอบของความรู้ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี

  1. บุคลากร คือ ผู้สร้าง ผู้ใช้ เจ้าขององค์ความรู้
  2. กระบวนการ คือ ตัวขับเคลื่อนที่สร้างขึ้น เก็บและขยายผลขององค์ความรู้
  3. เทคโนโลยี คือ เครื่องมือที่ส่งเสริมให้การใช้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ

สรุปรูปแบบการเรียนรู้

  1. รูปแบบการทำธุรกิจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้ทันตามโลกภายนอก เราไม่สามารถอาศัยเพียงแค่ศัลยภาพภายในเพื่อตอบโต้โจทย์ธุรกิจ (Inside Out) ได้ แต่เราต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า เพื่อสร้างสินค้าและบริการที่เหมาะสม (Outside In)
  2. องค์ประกอบของความรู้มีอยู่ 3 ส่วน คือ บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี
  3. ยุค Knowledge Economy จะอาศัยองค์ความรู้ขับเคลื่อนการปรับปรุงแบบ 360 องศา

โดยสนใจลูกค้าเป็นองค์ประกอบแรกๆ ของการออกแบบองค์ ความรู้ที่เหมาะสม


3.KM ช่วยจัดการปัญหาในองค์กรได้อย่างไร?

21

ตัวอย่างการทำ KM บริษัท ทรูวิชั่นส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

  • true เป็นผู้นำ ในการให้บริการด้านการสื่อสารครบวงจร ปัจจัยความสำเร็จ ความพึงพอใจของลูกค้าง

KM : Customer Management

  • พนักงานเข้าถึงแหล่งความรู้ของบริษัท
  • พนังงานแลกเปลี่ยนความรู้กัน
  • พนักงาน มีความสามารถเพิ่มขึ้นส่งผลให้ ลูกค้าพึงพอใจกับการบริการมากขึ้น

KM : มีประโยชน์ดังนี้

  • เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มผลิตภาพในการทำงาน เพิ่มประสิทธิภาพของคนทำงาน

4.ทำความรู้จัก Knowledge Management (KM) ตัวช่วยสำคัญพาองค์กรไปสู่จุดหมาย

20

KM : คืออะไร

  • KM : Knowledge Management หรือ “การจัดการความรู้” เป็นการบริหารจัดการเพื่อให้ คน เข้าถึง ความรู้ ในเวลาที่ต้องการใช้

การจัดการความรู้

  • รวบรวมองค์ความรู้ : ความรู้ทั่วไป ความรู้ในคน
  • พัฒนาให้เป็นระบบ : เพื่อให้ คน เข้าถึง ความรู้ ใน เวลา ที่ต้องการใช้

เพื่อเป้าหมาย พัฒนาคน พัฒนางาน พัฒนาองค์กร

  • ภูมิปัญญา การประยุทต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ปีหรือพัฒนาการทำงาน
  • ความรู้ สารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิด เปรียบเทียบเชื่อมโยงความรู้อื่น
  • สารสนเทศ ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว
  • ข้อมูล ข้อเท็จจริง

ทฤษฎีพีระมิดแห่งความรู้ของยามาซากิ

C4 Technique

  • C1 หา Critical Customer ให้พบ
  • C2 วิเคราะห์ Critical Process
  • C3 Collection & Correction
  • C4 Communicate Effectively

หากองค์กรกรของคุณ ไม่สามารถดึงความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมาเป็นคู่มือ C1&C2 จะช่วยแก้ปัญหานี้ หากองค์กรของคุณ มีความรู้ มีคู่มือแล้ว แต่อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจยาก และไม่สามารถนำไปใช้ได้ C3&C4 จะช่วยแก้ปัญหานี

สรุปประโยชน์ทางธุรกิจจากการทำ Knowledge Management

  • ลดความผิดพลาดของการตัดสินใจ
  • ตอบสนองได้รวดเร็ว ภายใต้สถานการณ์วิกฤติ
  • เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน
  • ปรับปรุงกลยุทธ์
  • สร้างองค์กรที่มีความกระชับและมีประสิทธิภาพ

 

เรียบเรียงโดย : คุณปิยาพัชร ปกครอง (ปาร์มี่)

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3myUuGt

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต