รายได้แค่ไหน? ถึงจะพอใช้ในยุคนี้

สิ่งที่น่ากลัวพอๆกับโควิดก็คือค่าครองชีพที่สูงสวนทางกับรายได้ที่เท่าเดิม หลายคนตั้งคำถามจะเป็นโควิดก่อนหรือจะอดตายก่อน ยิ่งยุคนี้เงินทองก็หายาก จึงมีคนตั้งคำถามว่า รายได้แค่ไหน ถึงจะพอใช้ในยุคนี้ ซึ่ง www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าเป็นเรื่องที่พูดยากเพราะมาตรฐานความเป็นอยู่และความคาดหวังของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน

ยกตัวอย่างถ้ามีเงิน 1 ล้านบาทสำหรับบางคนอาจเป็นก้อนใหญ่มากแต่สำหรับบางคนอาจเห็นเป็นเงินก้อนเล็กนิดเดียว ใช้ได้ไม่นานก็หมด ดังนั้นหากจะสนทนากันในหัวข้อนี้ก็ขอใช้ภาพรวมในเกณฑ์เฉลี่ยมาเป็นบรรทัดฐานเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดมากขึ้น

เงินเดือนเฉลี่ยคนทำงานส่วนใหญ่ พอใช้ในยุคนี้หรือไม่?

รายได้แค่ไหน

เราขออ้างอิงจากข้อมูลของบรรดามนุษย์เงินเดือนเป็นหลัก ซึ่งระบุว่าเงินเดือนเฉลี่ยของคนไทยอยู่ประมาณ 19,430 บาท (ขอย้ำว่าเป็นเงินเดือนเฉลี่ย ซึ่งบางคนอาจมากกว่านี้หรือน้อยกว่านี้ก็ได้) แต่ค่าครองชีพโดยเฉพาะการอยู่ในกรุงเทพฯเฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 27,485 บาท

จะเห็นว่าตัวเลขค่าครองชีพนี้สูงกว่าเงินเดือน ซึ่งเป็นค่าครองชีพที่คิดรวมจากค่าน้ำมันรถ , ค่าเดินทาง , ค่าเช่า(กรณีที่ยังไม่ได้ซื้อบ้าน) หรือบางคนมีค่างวดในการผ่อนชำระทั้งรถยนต์ , บ้าน รวมถึงบัตรเครดิตต่างๆ หากตัดค่าครองชีพใหญ่ๆ ออกไปก็ยังเหลือค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ค่าประกันชีวิต ต่างๆ รวมๆแล้วต่อคนก็ยังมีรายจ่ายเฉลี่ยต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท

ยิ่งตอนนี้ต้นทุนวัตถุดิบหลายอย่างปรับราคาเพิ่มขึ้นค่าครองชีพก็ยิ่งสูงมากขึ้นด้วย คำถามว่าเงินเดือนจากค่าเฉลี่ยนี้พอใช้หรือไม่ คำตอบคือส่วนใหญ่ไม่พอใช้ บางคนเดือนชนเดือน ที่จะเหลือกินเหลือเก็บนั้นเป็นเรื่องยาก สำหรับบางคนอาจมีรายได้เสริมจากช่องทางอื่นก็ทำให้แต่ละเดือนอาจมีเงินหมุนเวียนใช้จ่ายที่คล่องตัวมากขึ้นได้

แล้วต้องมีเงินแค่ไหน ถึงจะพอกับค่าใช้จ่ายในยุคนี้?

รายได้แค่ไหน

เคยมีการคำนวณตัวเลขของเงินสำหรับคนวัยเกษียณ (คิดจากอายุ 60) ใช้เวลาในการเก็บออมตั้งแต่เริ่มทำงาน (คิดจากอายุ 30) ระบุว่าคนวัยเกษียณควรจะมีเงินอย่างน้อย 6 ล้านบาทสำหรับช่วงบั้นปลายชีวิต แต่คำถามคือแล้วถ้าเป็นตอนนี้ ตอนที่ยังไม่เกษียณจะต้องมีเงินแค่ไหนจึงจะเรียกว่าพอใช้ไม่ขัดสน เรื่องนี้มีสูตรคำนวณได้แก่ สูตรเงินออม = 2 x (อายุปัจจุบัน – อายุเริ่มงาน) x (เงินเดือนปัจจุบัน + เงินเดือนเริ่มงาน)

ตัวอย่างเช่นเริ่มทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 เงินเดือน 15,000 ตอนนี้อายุ 32 เงินเดือน 30,000 เงินเก็บที่ควรมีในตอนนี้ได้แก่ 2 x (32 – 22) x (30,000 + 15,000) = 900,000 บาท ซึ่งตัวเลขสุดท้ายนี้จะเป็นเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับอายุในการทำงาน ฐานเงินเดือนของแต่ละคนเป็นหลัก แต่ไม่จำเป็นว่าตัวเลขสุดท้ายที่คำนวณได้จะต้องอยู่ในแบบของเงินสดเสมอไปอาจหมายถึงสินทรัพย์อื่นๆ ที่เป็นของเราได้ด้วย เช่น สลากออมสิน , กองทุนรวม , บ้านและที่ดิน เป็นต้น

ซึ่งการคำนวณดังกล่าวนี้ทำให้เราพอมองเห็นตัวเลขคร่าวๆ ให้เรารู้ว่าตอนนี้ที่เราทำงานอยู่ กับเงินเก็บที่เรามี หรือเราควรมี ควรจะเป็นเท่าไหร่ แต่เชื่อว่าหลายคนพอได้คำนวณออกมาตัวเลขที่เห็นกับเงินเก็บที่แท้จริงอาจสวนทางกันอย่างสิ้นเชิง เพราะในความจริงปัจจัยรายจ่ายของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ทั้งนี้ก็มีอีกสูตรในการเก็บเงินที่น่าสนใจด้วย

40-30-10-10-5-5 สูตรนี้สำหรับการเก็บเงิน

รายได้แค่ไหน

คือการจัดสรรค่าใช้จ่ายออกเป็น 5 กลุ่มและกำหนดจำนวนเงินที่จะใช้ในแต่ละกลุ่ม เช่น ค่าอาหาร และค่าเสื้อผ้า 30% , ค่าใช้จ่ายเพื่อการอยู่อาศัย 40% , ค่าใช้จ่ายเพื่อความบันเทิง 5% , ค่าใช้จ่ายเพื่อสุขภาพ 5% , ค่าเดินทาง 10% , เก็บออม 10%

ถ้าคิดจากสูตรนี้คนที่มีเงินเดือน 15,000 จะใช้จ่ายค่าเสื้อผ้าได้ไม่เกินเดือนละ 4,500 บาท , จ่ายค่าน้ำค่าไฟค่าโทรศัพท์และของใช้ต่างๆ ไม่เกินเดือนละ 6,000 บาท ,จ่ายค่ารถค่าเดินทางได้เดือนละไม่เกิน 1,500 บาท เป็นต้น และแน่นอนว่าหลายคนต้องแย้งว่าเรื่องนี้ทำไม่ได้เพราะค่าใช้จ่ายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ปัจจัยในการดำรงชีวิตของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ดังนั้นสูตรนี้จึงเป็นแค่แนวทางให้ได้ลองนำไปใช้ หรือลองนำไปปฏิบัติดูเท่านั้น

รายได้แค่ไหน

สิ่งสำคัญสำหรับการมีเงินพอใช้ในยุคนี้อยู่ที่การบริหารจัดการของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ บางคนมีเงินเดือน 15,000 แต่มีรายได้เพิ่มจากทางอื่นรวมรายได้ต่อเดือนอาจถึง 20,000 -30,000 บาท หรือบางคนแต่งงานมีรายได้รวมกัน ตัวเลขเหล่านี้ก็ควรนำมาปรับใช้ในแต่ละครัวเรือน ที่สำคัญควรมีการแบ่งส่วนหนึ่งไว้เป็นเงินเก็บ เงินออมเผื่อใช้ในกรณีฉุกเฉินที่จำเป็นด้วย

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qiDXrF , https://bit.ly/3HYcJMY , https://bit.ly/3fwrxGJ , https://bit.ly/31Q71gN , https://bit.ly/3r8X86G , https://bit.ly/33bsKAy

อ้างอิงจาก https://bit.ly/39xucjn

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด