รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน? คนไทยยุค COVID 19

ตั้งแต่มีการแพร่ระบาด COVID 19 ไปทั่วโลกก็ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างได้เปลี่ยนแปลงไป ก่อนหน้าที่จะมี COVID เราคาดการณ์เรื่องการเติบโตทางเศรษฐกิจ มองอนาคตของสังคมยุคใหม่ว่าต่อจากนี้ไปเป็นอย่างไร แต่เมื่อมี COVID โผล่ขึ้นมาทุกอย่างหยุดชะงักจากที่จะเดินหน้าก็กลายเป็นถอยหลัง

www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่าผลกระทบที่หนักที่สุดคือ “รายได้ลดลง”สวนทางกับ “ภาระหนี้สิน” ที่มากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่และถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นด้วย

ประชากรทั่วโลกกว่า 1,600 ล้านคนมีรายได้ลดลง

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

ไปดูตัวเลขในภาพใหญ่ซึ่งเป็นโพลสำรวจประชาชน 300,000 คนใน 117 ประเทศทั่วโลก เกี่ยวกับผลกระทบต่อรายได้จากการระบาดของ COVID 19 พบว่าเฉลี่ยแล้ว ประชาชนกว่า 50% ประสบกับปัญหารายได้ลดลงโดยเฉพาะประเทศที่มีรายได้ต่ำ ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการถูกเลิกจ้างงาน รวมทั้งต้องถูกลดชั่วโมงการทำงาน จากการระบาดของเชื้อ COVID 19 โดยคะเนว่ามีประชากรโลกในวัยผู้ใหญ่ถึง 1,600 ล้านคน มีรายได้ลดลง ในส่วนของประเทศไทยก็มีตัวเลขรายได้ที่ลดลงสูงถึง 76%

สาเหตุสำคัญของรายได้ที่ลดลงในช่วง COVID 19

1.การถูกเลิกจ้าง

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

โดยตัวเลขของผู้ถูกเลิกจ้างอันเนื่องมาจากการปิดตัวของธุรกิจต่างๆ มีจำนวนมาก ในปีที่ผ่านมาสำนักงานประกันสังคมเผยตัวเลขคนถูกเลิกจ้างกว่า 1.21 ล้านคน ซึ่งยังไม่รวมกับตัวเลขในปีนี้ที่คาดว่าจะสูงไม่ต่างกัน เมื่อถูกเลิกจ้างนั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ เช่นคนที่เคยมีเงินเดือนขั้นพื้นฐาน 15,000 บาท ก็จะไม่ได้ส่วนนี้แม้จะได้เงินชดเชยจากประกันสังคมในช่วงแรกแต่ก็ถือว่าเป็นรายได้ที่ลดลงอย่างมาก

2.การทำงานแบบ Work From Home

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

การทำงานแบบ Work From Home คือมาตรการหนึ่งในการป้องกันการแพร่ระบาด COVID 19 แต่ผลที่ตามมาคือการปรับลดเงินเดือนของลูกจ้าง เช่นมีการจ่ายเงินเดือน 70-80% จากปกติ เท่ากับว่ารายได้ของพนักงานลดลงอย่างมากเช่นคนที่เงินเดือน 15,000 บาท จะได้รับเงินต่อเดือนเพียง 10,500 – 12,000 บาทเท่านั้น

3.การปิดกิจการชั่วคราว

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

ผู้ที่ได้รับผลกระทบในส่วนนี้คือบรรดาร้านอาหารเป็นหลัก สังเกตว่าการแพร่ระบาดทุกรอบจะมีคำสั่งควบคุมการนั่งทานในร้านอาหาร การห้ามทานในร้าน ทำให้ร้านอาหารหลายแห่งต้องปิดกิจการชั่วคราว นั่นหมายความว่าลูกจ้างก็อาจจะไม่ได้รับเงินเดือนในช่วงนี้ด้วยเช่นกัน

4.กำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

เมื่อประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ลดลงทำให้กำลังซื้อก็ลดลงด้วยเช่นกัน ผลกระทบจึงตกอยู่ที่บรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่ขายของได้ยากขึ้น รวมถึงความวิตกกังวลเรื่องการแพร่ระบาด COVID 19 ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ระมัดระวังเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้นทำให้มูลค่าการซื้อขายสินค้าลดลงนั่นหมายถึงรายได้ของพ่อค้าแม่ค้าที่ลดลงด้วยและปัญหาที่ตามมาหลังจาก “รายได้ลดลง” ก็คือ “หนี้สินที่เพิ่มขึ้น” เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ไม่มีรายได้ แต่รายจ่ายไม่ได้ลดลง ก็ทำให้ต้องหาเงินมาใช้หมุนเวียน จึงเกิดเป็นภาระหนี้ที่สูงขึ้น

ตัวเลขการเป็น “หนี้” ที่คนไทยมีมากที่สุด

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

ตัวเลขชัดเจนว่าครัวเรือนไทยมีหนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 500,000 ล้านบาท จาก 13,489,333 ล้านบาทในปี 2562 กลายเป็น 14,020,730 ล้านบาท ในปี 2563 มาถึงเดือนกรกฏาคมปี 2564 ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนไทย ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 14.13 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 90.5 ต่อจีดีพี สูงสุดในรอบ 18 ปี เหตุผลสำคัญคือประชาชนจำนวนมากประสบกับภาวะ Income Shock หรือรายได้ลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลงและมีหนี้สูงขึ้น โดยหนี้สินส่วนใหญ่หรือ 12.17 ล้านล้านบาท เป็นหนี้สินที่ครัวเรือนกู้ยืมจากสถาบันการเงินเพื่อนำมาใช้ในเรื่องต่างๆ เช่น

  1. หนี้บ้าน ซึ่งยอดคงค้างหนี้บ้านเพิ่มขึ้น 5.53 หมื่นล้านบาท
  2. หนี้เพื่อประกอบอาชีพ ยอดคงค้างหนี้ประกอบอาชีพเพิ่ม 4.01 หมื่นล้านบาท เหตุเป็นเพราะผู้กู้หรือครัวเรือนจำเป็นต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อหนุนสภาพคล่อง และใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินชีวิตหรือกิจการ
  3. หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคทั่วไป มียอดคงค้างหนี้อุปโภคบริโภคทั่วไปเพิ่มขึ้น 3.35 หมื่นล้านบาทจากไตรมาสก่อน

อันเนื่องจากกลุ่มครัวเรือนที่มีปัญหารายได้ฝืดเคือง รายได้ไม่สมดุลกับภาระค่าใช้จ่าย ทำให้ต้องกู้หนี้ยืมสินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวันมากขึ้น

นอกจากนี้ผลกระทบการแพร่ระบาดของ COVID 19 ยังลุกลามไปถึงวงการศึกษาอันเป็นผลมาจากความจำเป็นที่ต้องปิดสถานศึกษาทำให้เด็กส่วนใหญ่ต้องหันมาเรียนออนไลน์ ในขณะที่ผู้ปกครองหลายคนไม่มีความพร้อม ตัวเลขระบุชัดเจนว่า

รายได้เท่าไหร่? หนี้เพิ่มแค่ไหน?

ภาพจาก www.freepik.com

ปีการศึกษา 2564 มีเด็กหลุดจากระบบการศึกษาแล้ว 6,568 คน และคาดว่าสิ้นปีการศึกษา 2564 จะมีเด็กหลุดจากระบบการศึกษากว่า 65,000 คน ในด้านสุขภาพจิตก็รุนแรงไม่แพ้กันข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แสดงให้เห็นว่าปี 2563 อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยเพิ่มขึ้น จาก 6.64 คน ต่อประชากร 1 แสนคน ในปี 2562 เป็น 7.37 คน ต่อประชากร 1 แสนคน และสูงกว่าค่าเฉลี่ยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

และตั้งแต่คนทั่วโลกได้รู้จักกับ COVID 19 ก็ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมหาศาล โดยเฉพาะในประเทศไทยคำนวณว่ามีคนจนเพิ่มขึ้นกว่า 1 ล้านคน ตอกย้ำกับปัญหาเดิมๆ คือความเหลื่อมล้ำในด้านนรายได้ที่เมื่อก่อนเราได้ยินว่ารวยกระจุก จนกระจาย ตอนนี้ความจนยิ่งกระจายมากขึ้น

COVID 19 เปลี่ยนชีวิตใครหลายคนจากเจ้าของธุรกิจให้กลายเป็นคนธรรมดา เปลี่ยนชีวิตคนธรรมดามากมายให้กลายเป็นคนจน เปลี่ยนชีวิตคนจนให้กลายเป็นจนยิ่งกว่าเดิม ก็ได้แต่หวังว่าการแก้ปัญหา COVID 19 ของภาครัฐจะดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ใช่แค่การทำงานเพื่อความอยู่รอดของตัวเองไปวันๆเท่านั้น

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CzUfAe

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด