ระวัง! แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ระเบิดเวลาที่นักลงทุนไทยต้องรู้

แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ถ้าเปรียบเทียบ “ตึกเต้าหู้” ที่ชาวจีนใช้เรียกอาคารที่สร้างขึ้นโดยใช้งบลงทุนต่ำ ทำให้มีอายุการใช้งานสั้น เสี่ยงต่อการพังถล่ม ไม่มีความแข็งแรง แตกง่ายเหมือนเต้าหู้ กับ แฟรนไชส์จีน ที่ใช้เงินลงทุนเปิดร้านไม่สูงเมื่อเทียบกับแฟรนไชส์ประเทศอื่นๆ บวกกับขายสินค้าราคาถูก ก็มีโอกาสที่จะอยู่รอดยากในระยะยาว มีโอกาสพัง อาจเป็นระเบิดเวลาที่นักลงทุนต้องจับตามอง

ถ้าถามว่า โอกาสที่แฟรนไชส์จากจีน เงินลงทุนต่ำๆ จะอยู่รอด หรืออยู่ไม่รอด มีมากน้อยแค่ไหน ในตลาดประเทศไทย มาดูกัน

ปัจจัยเสี่ยงของแฟรนไชส์จีนในไทย

1. พฤติกรรมผู้บริโภคชาวไทย

แฟรนไชส์จีนเต้าหู้

ยกตัวอย่างแฟรนไชส์อาหารจากจีน คนจีนชอบรสชาติออกไปทางเผ็ด กลิ่นแรง อย่างหมาล่า ผงสมุนไพรต่างๆ สวนทางกับบริโภคชาวไทยที่ส่วนใหญ่ชอบอาหารรสชาติกลมกล่อม เผ็ดแต่ไม่ชา ถ้ากลิ่นแรงมากเกินไปก็จะไม่ชอบ

พฤติกรรมการซื้อซ้ำ คนจีนให้ความสำคัญกับความแปลกใหม่และรูปลักษณ์ ส่วนผู้บริโภคชาวไทยจะซื้อซ้ำเฉพาะของหรืออาหารที่อร่อยจริง มีความคุ้มค่า

ส่วนเรื่อง Loyalty ลูกค้าชาวจีนพร้อมทดลองของใหม่บ่อยๆ แตกต่างจากคนไทยที่เปลี่ยนใจง่าย ชอบสินค้ากระแส ถ้าร้านไม่ดีจริง อาหารไม่อร่อย บริการไม่ดี จะไม่กลับมาอีกเลย

ถ้าแบรนด์แฟรนไชส์อาหารจากจีน ยังยึดติดกับรสชาติหรือสไตล์อาหารจีนแท้ๆ และไม่มีการปรับสูตร ไม่มีการปรับปรุงรสชาติให้เข้ากับผู้บริโภคชาวไทย มีโอกาสเจ๊งไวมาก

2. โครงสร้างแฟรนไชส์จีน

แฟรนไชส์จีนเต้าหู้

แฟรนไชส์จากจีน ส่วนใหญ่เน้นขายแฟรนไชส์ก่อนสร้างแบรนด์ เน้นขายสิทธิ์เพื่อหารายได้จากค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ก่อนที่จะสร้างฐานลูกค้าจริง อย่าลืมว่าคนไทยมักเกาะกระแส เบื่อง่าย เห็นคนอื่นกินก็อยากกินตาม ทั้งที่ไม่ได้ชอบสินค้านั้นด้วย

แฟรนไชส์จากจีน ยังไม่มีระบบซัพพลายเชนที่เสถียรในไทยมากนัก ขายแฟรนไชส์ในำทยแล้วยังต้องนำเข้าวัตถุดิบและอุปกรณ์จากจีน บางครั้งทำให้ล่าช้า เสียภาษีเพิ่ม

แฟรนไชส์จากจีนไม่มีทีมสนับสนุนในไทยที่แข็งแกร่ง มีความเสี่ยงเรื่องของการสื่อสาร บางครั้งคนซื้อแฟรนไชส์ในไทยต้องจัดการเอง โดยเฉพาะการฝึกอบรมพนักงาน ถ้าฝึกอบรมไม่ดี อาจทำให้พนักงานบริการลูกค้าไม่ดีตามด้วย

แฟรนไชส์จากจีน อาจเขียนสัญญาไม่โปร่งใส อาจเป็นการเอาเปรียบผู้ซื้อแฟรนไชส์ชาวไทย หรือเขียนสัญญาคลุมเครือ อาจทำให้มีปัญหากันในภายหลังได้

3. ตลาดแข่งขันสูง กระแสมาไว ไปไว

แฟรนไชส์จีนเต้าหู้

ผู้บริโภคชาวไทย พร้อมลองของใหม่ตลอดเวลา แต่ส่วนใหญ่จะไม่ซื้อซ้ำถ้าไม่อร่อย หรือไม่คุ้มค่า ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า แบรนด์แฟรนไชส์จากจีนเข้ามาหลายเจ้าในเวลาใกล้ๆ กัน ทำให้เกิดการตีกันหรือแข่งขันกันเองของแฟรนไชส์จีนในไทย ไม่ว่าจะเป็นแฟรนไชส์ไก่ทอด ไอศกรีม ชานม เป็นต้น เรียกได้ว่าจะแซงหน้าแบรนด์อเมริกาในไทยไปแล้ว

สำหรับความเสี่ยงของผู้ซื้อ แฟรนไชส์จีนเต้าหู้ ในประเทศไทย ก็คือ แฟรนไชส์จีนไม่มีจุดเด่นชัดเจน มีกจะจมหายไปในตลาดที่มีการแข่งขันกันดุเดือดอย่างในไทย

แฟรนไชส์จีนเต้าหู้

ปัจจัยทำให้แฟรนไชส์จากจีน “รอด” ในไทย

  • ปรับเมนูและรสชาติให้ถูกปากคนไทย
  • มีระบบแฟรนไชส์ หน้าบ้าน-หลังบ้าน ที่แข็งแกร่ง
  • ไม่เน้นขายแฟรนไชส์อย่างเดียว ควรสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งก่อน
  • ควบคุมคุณภาพมาตรฐานสาขาแฟรนไชส์ได้อย่างทั่วถึง
  • มีจุดขายชัดเจน ไม่ใช่แค่สินค้าหรือของใหม่ที่ขายดีในจีน

สุดท้าย ถ้านักลงทุนชาวไทยสนใจหรือกำลังมองหาแฟรนไชส์จีนสักเจ้าอยู่ ควรศึกหาความรู้เพื่อให้มีความเข้าในเรื่องระบบแฟรนไชส์อย่างแท้จริง ศึกษาข้อมูลธุรกิจแฟรนไชส์จากจีนอย่างละเอียด ดูแบรนด์และระบบแฟรนไชส์ที่แข็งแกร่ง ที่สำคัญสินค้าและบริการของแฟรนไชส์นั้นๆ ต้องตอบโจทย์ผู้บริโภคชาวไทยอย่างยั่งยืน ไม่เป็นแฟรนไชส์กระแส

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช