รวยด้วยมอเตอร์ไซค์! ลงทุนกับ ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ รายได้สุดเจ๋ง!

ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์ เดือนมกราคม – พฤศจิกายน 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,092,051 คัน เพิ่มขึ้น 15.01% สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงความต้องการสินค้าที่เพิ่มมากขึ้น และในปี 2565 คาดว่า “มอเตอร์ไซค์” จะเป็นยานพาหนะที่คนส่วนใหญ่ยังต้องการอีกมาก

หลายคนนำไปใช้ประกอบอาชีพเช่น ไรเดอร์ , มอเตอร์ไซค์รับจ้าง รวมถึงคนทั่วไปที่เลือกใช้มอเตอร์ไซค์เป็นยานพาหนะหลักสำหรับการเดินทางในเมือง เนื่องจากคล่องตัวกว่าและประหยัดน้ำมันได้มากกว่าการใช้รถยนต์

รวยด้วยมอเตอร์ไซค์

ด้วยเหตุนี้ www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่มองเห็นความต้องการนี้และอยากมีร้าน “ขายมอเตอร์ไซค์” แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มแบบไหน จะทำอย่างไร ซึ่งวันนี้ ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ เป็นอีกทางเลือกให้เราสามารถเปิดร้านขายมอเตอร์ไซค์ได้ง่าย แถมยังสร้างรายได้สุดเจ๋งอีกด้วย

ทำความรู้จัก ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์

14

ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ ดำเนินงานโดย บริษัทยู คอร์ปอเรชั่น จำกัด เป็นศูนย์จำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ฮอนด้า ยามาฮ่า เวสป้าและฮอนด้าบิ๊กไบค์ โดยทีมผู้ก่อตั้งมีประสบการณ์ในธุรกิจตัวแทนจำหน่านรถมอเตอร์ไซค์และสินเชื่อรมอเตอร์ไซค์ มานานมากกว่า 30 ปี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการนำเทคโลโลยีสมัยใหม่ มาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ ที่สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน

13

เริ่มก่อตั้งเป็นศูนย์จำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์รูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ และได้พัฒนาช่องทางการขายรถผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ 100% รายแรกของประเทศไทย และเพิ่มช่องทางการขายใหม่ๆ โดยใช้เทคโนโลยีทีเกี่ยวข้อง ร่วมมือกับพันธิมิตรทางธุรกิจ หลากหลายองค์กรชั้นนำ เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ไรเดอร์ เดลิเวอรี่ค่ายต่างๆ เป็นต้น

และยังมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อรถมอเตอร์ไซค์ รูปแบบใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อตอบสนองถึงความต้องการของลูกค้าสมัยใหม่ ที่พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการทำงานรูปแบบใหม่ๆ ช่วยลดต้นทุนต่างๆที่ไม่จำเป็นต่อการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิผลด้านรายได้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในอุตสาหกรรม และเพื่อความยั่งยืนสืบต่อไป

จุดเด่นและความน่าสนใจ ลงทุนกับ ยูฮับ ทำไมถึงรวยไว กำไรเร็ว

12

คนที่อยากมีร้านมอเตอร์ไซค์แต่ส่วนใหญ่บอกว่าไม่มีเงินลงทุน ไม่มีทำเลเปิดร้าน ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร ด้วยเหตุนี้ทาง ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ จัดให้ทุกอย่าง ขอเพียงให้เรามีตั้งใจจริงที่อยากจะทำธุรกิจนี้ โดยจุดเด่นและความน่าสนใจของของการทุนคือ

1.ไม่ต้องสต็อครถจำนวนมาก พร้อมรูปแบบการขายแบบ Dropship

เป็นรูปแบบการลงทุนที่เหมาะกับยุคออนไลน์อย่างมาก ตัดปัญหาเรื่องการลงทุนสต็อคสินค้าจำนวนมาก หรือสำหรับบางคนที่อาจมีหน้าร้านขายอะไหล่รถหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องอาจเพิ่มการลงทุนกับ ยูฮับ ที่จะทำให้มีสินค้าขายได้มากขึ้น ข้อดีของระบบนี้คือเราไม่ต้องสต็อครถในจำนวนมาก สามารถทำการขายได้ทุกรุ่น ทุกแบบ ทุกสี ตามที่ลูกค้าต้องการได้เลย

2.ขายง่ายได้ทุกรุ่น ทุกสี ขายได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

11

ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ มีรถให้เลือกหลายรุ่น หลายยี่ห้อ หลากสี ทั้ง ฮอนด้า, ยามาฮ่า, เวสป้า, และฮอนด้าบิ๊กไบค์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้า สามารถขายได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และสามารถจัดส่งรถให้ลูกค้าได้ทุกพื้นที่ครอบคลุมทั่วประเทศ

3.บริการสินเชื่อครอบคลุมทั่วประเทศ

10

ผู้ลงทุนมีโอกาสขายได้ง่ายขึ้นเพราะทางยูฮับร่วมกับพันธมิตรมากมาย ลูกค้าผู้เช่าซื้อรถมอเตอร์ไซค์สามารถขอสินเชื่อได้ดอกเบี้ยถูกกว่าปกติ โดยการจัดไฟแนนท์ยอดเต็ม ภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกว่า และมีหลากหลายแคมเปญสินเชื่อสำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม พร้อมระบบส่งงานขออนุมัติสินเชื่อถึงหน้าบ้านลูกค้า ทั่วประเทศ ภายใน 30 นาทีเท่านั้น

4.เชื่อมต่อแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยให้ขายง่ายขึ้น

9

ผู้ลงทุนจะได้รับแพลตฟอร์มขายของตนเองภายใต้ชื่อ ยูฮับ คลับของคนขี่มอไซค์ ที่เชื่อมต่อหลายแพลตฟอร์มขาย หลากหลายช่องทาง สำหรับกลุ่มลูกค้าทุกพื้นที่ มีลูกค้าพร้อมซื้อได้ทันทีในแต่ละพื้นที่ เช่นเชื่อมต่อแอปพลิเคชั่น ธนาคารไทยพาณิชย์และสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ , เชื่อมต่อเว็บไซต์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ,เชื่อมต่อแอปพลิเคชั่นไรเดอร์ เป็นต้น

5.วางระบบพร้อมขาย ให้คำปรึกษาโดยทีมงานมืออาชีพ

การขายมอเตอร์ไซค์ไม่ใช่เรื่องยากโดยยูฮับพร้อมสอนทุกเทคนิคการขาย และให้สิทธิในการใช้งานระบบการขายแบบครบวงจรที่สุด สำหรับตัวแทนจำหน่ายรถมอเตอร์ไซค์ ตั้งแต่ระบบสต็อคสินค้า ระบบขายสำหรับพนักงานขาย ระบบรายงานแบบเรียลไทม์ แจ้งเตือนทุกการเคลื่อนไหว ระบบการส่งงานขายได้ทั่วประเทศ ระบบขนส่งรถจักยานยนต์ คุณภาพราคาถูก และยังมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษาและดูแลผู้ลงทุนทุกคนเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน

ค่าแฟรนไชส์ในการลงทุนเพียง 100,000 บาท คุ้มค่าการลงทุน

uhub-1

การลงทุนกับ ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ มีค่าแฟรนไชส์ 100,000 บาท และมีงบในการลงทุนรวมประมาณ 1.6 ล้านบาท โดยยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ มีทีมงานในการวางระบบ , สอนเทคนิคการขาย พร้อมการให้คำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนอย่างมืออาชีพ

กำไรจากการขายเฉลี่ย/ปี มากกว่า 1 ล้านบาท

uhub-2

เพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจน เราคำนวณกำไรโดยเฉลี่ย คิดจาก เงินลงทุน 1.6 ล้านบาท ซึ่งหากคิดการขายอยู่ที่ประมาณ 20 คัน/เดือน เท่ากับ 1 ปี มียอดขายมอเตอร์ไซค์อยู่ประมาณ 240 คัน ในสัดส่วนตรงนี้จะมีกำไรจากการขาย 11.4% สามารถคืนทุนได้ทันทีภายในปีเดียว แต่อย่างไรก็ดีตัวเลขนี้เป็นค่าประมาณการเพราะในการทำธุรกิจที่แท้จริงมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมากมายทั้งการบริหารจัดการ สภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านต้นทุนต่างๆ รวมถึงกลยุทธ์การตลาดก็เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลชี้วัดถึงเรื่องยอดขาย

uhub-3

ภาพจาก แฟรนไชส์ยูฮับ คลับของคนขี่มอไซค์

ทั้งนี้ ยูฮับ คลับของคนขี่มอเตอร์ไซค์ มีความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์ในธุรกิจมานาน และมีวิสัยทัศน์ในการทำตลาดที่มองไปถึงอนาคต ซึ่งการได้ลงทุนถือว่าช่วยให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น รวมถึงมีโอกาสต่อยอดเป็นธุรกิจที่ดีในอนาคตได้ด้วย

สนใจลงทุน แฟรนไชส์ยูฮับ คลับของคนขี่มอไซค์

4

โทร : 094-652-6555
E-mail : uhub@ucorporation.co.th
Website : https://www.uhub.co.th/
Line@uhub : https://page.line.me/uhub
Instagram : https://www.instagram.com/uhubclub/
                                    Facebook : https://www.facebook.com/uhubclub
                                    Youtube : https://bit.ly/3Izq2U2

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qs4yCv

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด