รวมเทคนิคขายของปี 2566! ขายยังไงให้รวย!

ปัจจุบันค่าครองชีพและต้นทุนทุกอย่างเพิ่มสูงมาก การค้าขายใดๆ จะใช้วิธีการเดิมๆเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ คนที่อยากทำธุรกิจอยากเป็นพ่อค้าแม่ค้า ต้องมีไอเดียในการขายใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าได้มาก ทั้งนี้การหาองค์ความรู้เพิ่มถือว่าสำคัญมาก www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมเทคนิคขายของ ขายยังไงให้รวย ที่น่าสนใจที่เราเชื่อว่าวิธีการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มยอดขายให้คนทำธุรกิจได้มากขึ้น

1.ไม่ต้องมีตัวเลือกเยอะ กำไรดีกว่า

ขายยังไงให้รวย

การขายแบบเดิมคนส่วนใหญ่ต้องการมีสินค้าที่หลากหลายเพื่อให้ลูกค้ามีตัวเลือกเยอะมากขึ้น แต่ในยุคนี้ต้องทำตรงข้าม การมีตัวเลือกเยอะเกินไป ในทางจิตวิทยาที่เรียกว่า The Paradox of Choice หรือรักพี่เสียดายน้องสังเกตว่าร้านอาหาร ร้านค้า หลายแห่งไม่เน้นสินค้าเยอะ ๆ แต่ยังพยายามลดตัวเลือกให้น้อย

โดยใช้วิธีจัดสินค้าเป็นกลุ่ม ถ้ายังไม่เห็นภาพลองดู KFC ที่ส่วนใหญ่จัดเซตเมนูให้ลูกค้าเลือกได้แบบง่ายๆ หรือถ้ายังไม่ชัดเจนดูสินค้าอย่าง เฮลซ์บลูบอย ที่มีสินค้าระดับตัวท็อปเพียงแค่น้ำหวาน แต่ในปี 2020 ยังมีกำไรถึง 1,060 ล้านบาท

2.สร้างกำไรจากสินค้าเสริม

ขายยังไงให้รวย

Razor and Blades คือรูปแบบธุรกิจที่แยกสินค้าเป็น “ชิ้นส่วนหลัก” และ “ชิ้นส่วนเสริม” โดยต้องใช้คู่กัน เพื่อให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยชิ้นส่วนหลักอาจมีราคาไม่สูงเพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย ในขณะที่ชิ้นส่วนเสริมมักมีอายุการใช้งานที่สั้นและต้องใช้ประจำเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างของโมเดลธุรกิจลักษณะนี้เช่น

  • Netflix ที่มีกลยุทธ์ให้ลูกค้าเลือกดูและเมื่อสนใจหรือติดใจรายการใดและต้องการรับชมต่อต้องสมัครแพคเกจในการชม
  • ที่โกนหนวดบางยี่ห้อเช่น Gillette ที่ต้องใช้ใบมีดเฉพาะเท่านั้น
  • เครื่องพิมพ์อิงค์เจตต่างๆ ที่ต้องมีหมึกพิมพ์เฉพาะรุ่น เฉพาะยี่ห้อของตัวเอง

การทำตลาดแบบ Razor and Blades ไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ลูกค้าพึงพอใจและมีความภักดีต่อแบรนด์อยากใช้สินค้าต่อเนื่อง ซึ่งรวมไปถึงงานบริการที่ดีร่วมด้วย

3.การตลาดแบบ “ติดตลก” เพิ่มยอดขาย

ขายยังไงให้รวย

ในสังคมที่มีความเครียดสูงการตลาดก็ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกผ่อนคลายและเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การขายที่สำคัญและควรนำมาใช้ ผลสำรวจระบะว่า คนส่วนใหญ่กว่า ร้อยละ 90 ต้องการให้แบรนด์นำเสนอสื่อด้วยความสนุกสนาน (Humor Marketing) และคนกว่า 90% สามารถจดจำสื่อที่ดูตลก ได้มากกว่าสื่อของแบรนด์คู่แข่งที่ไม่ตลก มีหลายแบรนด์ที่ใช้การตลาด “แบบติดตลก” ในการเพิ่มยอดขาย

เช่น McDonald’s, Burger King, KFC หรือแบรนด์รองเท้าอย่างนันยาง เป็นต้น แต่ก็มีข้อควรระวังที่บางครั้งเรื่องที่แบรนด์คิดว่า “ตลก” ก็อาจไม่ “ตลก” ในสายตาผู้บริโภค ดังนั้นการคิดโฆษณาจึงต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นสำคัญ

4.เพิ่มยอดขายด้วยการ “รีวิว”

ขายยังไงให้รวย

การขายสินค้าในยุคออนไลน์ต้องเน้นให้ลูกค้ามองเห็นภาพและเข้าใจสินค้าได้ชัดเจน วิธีที่คุ้นเคยคือใช้ Influencer Marketing หรือการรีวิวจากกลุ่มคนมีชื่อเสียง แต่ก็ต้องแลกด้วยต้นทุนที่มาก ยุคนี้มีทางเลือกที่ง่ายกว่ากับวิธีที่เรียกว่า

KOC (Key Opinion Consumer) ซึ่ง KOC คือ กลุ่มคนที่ใช้โซเชียลมีเดียทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นคนที่มีชื่อเสียงในโลกอินเทอร์เน็ตแต่มีลักษณะพิเศษคือ เป็นคนที่ใช้สินค้าจริงๆ และนำมารีวิว จนมีฐานผู้ติดตามจำนวนหนึ่ง หากเป็นแบรนด์ที่เพิ่งเริ่มต้นและยังมีงบไม่เยอะ อาจจะเลือกใช้ KOC ในการทำการตลาดเนื่องจากมีผู้ติดตามจำนวนไม่มาก ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่า

5.การขายแบบ “แจกฟรี” ลงทุนน้อย ได้ผลมาก

เทคนิคขายของ

ในยุคที่คู่แข่งมีเยอะเหลือเกินทำยังไงให้แบรนด์เราฮิตติดตลาดเป็นเรื่องที่ต้องวางกลยุทธ์ให้ดี หนึ่งในวิธีที่เหมาะสมกับการขายยุคนี้คือ Bowling Pin Strategy หรือ กลยุทธ์โบว์ลิง เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มสร้างธุรกิจ และไม่ต้องการทุ่มงบมหาศาล

ยกตัวอย่าง Facebook กว่าจะเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ยอดฮิตของโลกเริ่มต้นจากการเป็นเว็บไซต์ ที่สร้างเครือข่ายทางสังคม ที่เจาะกลุ่มแค่ในหมู่นักศึกษามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เท่านั้น หรือธุรกิจของไทยอย่างยาสีฟันดอกบัวคู่ ที่เริ่มโปรโมตสินค้าด้วยการแจกฟรีสินค้าไปตามร้านต่างๆ ให้ทดลองใช้ ก่อนที่จะมีคนสนใจและบอกต่อๆ กันไป หัวใจสำคัญของวิธีนี้ คือต้องเริ่มต้นจากสินค้าหรือบริการที่ดี ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของตลาดจริง ๆ เมื่อคนสนใจ คนรู้จัก ก็ทำให้เพิ่มยอดขายในอนาคตได้มากขึ้น

ทั้งนี้เทคนิคการขายในยุคออนไลน์ ผู้ประกอบการต้องรู้จักหากลยุทธ์การตลาดใหม่ ๆ วิธีขายที่ติดไอเดียมากขึ้น เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้หลากหลาย และไม่ควรลืมเรื่องการวางแผนบริหารจัดการที่ซึ่งถือว่าสำคัญมาก การลงทุนธุรกิจใดๆ ในยุคนี้มีตัวแปรหลายอย่าง นอกจากการตลาดดี วางแผนบริหารดี ควรต้องมีแผนสำรองในกรณีฉุกเฉินด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3pkvmni , https://bit.ly/3VQ9Ohp , https://bit.ly/3Cl9MoG , https://bit.ly/3JUIyZs

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3wU6y9c


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด