รวมเช็คลิสต์ ปัญหาของคนซื้อแฟรนไชส์
แม้ว่าการซื้อแฟรนไชส์จะมีโอกาสประสบความสำเร็จและมีความเสี่ยงน้อยกว่าการสร้างธุรกิจเอง แต่รู้หรือไม่ว่าหลายๆ คนที่ซื้อแฟรนไชส์ไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ บางรายต้องสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ถ้าถามว่าอะไรที่เป็น ปัญหาของคนซื้อแฟรนไชส์เหล่านี้ไม่ประสบความสำเร็จในธุรกิจ วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
1.ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง
ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ คนถูกหลอกให้ลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ จนสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก เพราะไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่จริง เหมือนกรณีร้านบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่น “ดารุมะ ซูชิ” ที่ผู้เสียหายอยากมีรายได้ อยากรวยง่ายๆ แบบไม่ต้องทำอะไร ตามคำเชิญชวนเจ้าของแบรนด์ ลงทุนเงินอย่างเดียวแล้วรอรับเงินปันผลสิ้นเดือน ซึ่งระบบแฟรนไชส์จริงๆ ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องบริหารจัดการร้านเอง และจ่ายเงินค่าสิทธิ หรือค่าตอบแทนเป็นรายเดือนหรือรายปีให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์
2.อยากมีรายได้โดยไม่ต้องลงมือทำ
ถือเป็นปัญหาที่คนซื้อแฟรนไชส์เจอและเกิดขึ้นบ่อยที่สุด เมื่อมีเจ้าของแบรนด์แอบอ้างให้ร่วมลงทุนแล้วรอรับเงินปันผลในสิ้นเดือน ผู้ลงทุนไม่ต้องบริหารจัดการหรือทำอะไร ไม่ต้องมีหน้าร้าน ไม่ต้องมีทีมงาน สุดท้ายเจ้าของแบรนด์ดังกล่าวปิดร้านหนี สร้างความเสียให้คนลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งจริงๆ การลงทุนลักษณะนี้เป็นแชร์ลูกโซ่ ไม่ใช่ระบบแฟรนไชส์
3.ไม่ศึกษาบริษัทและเจ้าของแฟรนไชส์
ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ เลือกลงทุนแฟรนไชส์ในแบรนด์ดังๆ หรือเจ้าของเป็นคนดัง คนรู้จักทั่วประเทศ แต่พอลงทุนไปแล้วไม่ประสบความสำเร็จ แถมโดนหลอกให้ลงทุนเสียเงินไปฟรีๆ เพราะไม่ศึกษาบริษัทแฟรนไชส์ให้ละเอียด ไม่ตรวจสอบว่าระบบการเงินของบริษัทขาดทุนหรือมีกำไร เจ้าของแบรนด์มีประวัติโกง หรือค้างชำระเงินแก่ซัพพลายเออร์ต่างๆ หรือไม่
4.อ่านสัญญาแฟรนไชส์ไม่ละเอียด
ผู้ซื้อแฟรนไชส์หลายรายถูกเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์เอาเปรียบ เพราะไม่อ่านรายละเอียดเงื่อนไขข้อกำหนดต่างๆ ในสัญญาแฟรนไชส์ให้ละเอียด บางรายถึงกับโดนเจ้าของแฟรนไชส์ฟ้องร้อง หรือถูกยกเลิกสัญญา เพราะนำสินค้ายี่ห้ออื่นเข้ามาขายในร้าน หรือสั่งซื้อวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ซึ่งในสัญญาแฟรนไชส์จะระบุข้อปฏิบัติของผู้ซื้อแฟรนไชส์และเจ้าของแบรนด์อย่างละเอียด ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาสามารถถูกฟ้องร้องได้
5.ไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์
ผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ หรือทำยอดขายได้ไม่มากเหมือนกับสาขาอื่นๆ อาจมาจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นทำเลที่ตั้ง ความหนาแน่นของประชากร แต่อีกองค์ประกอบอาจมาจากไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าของแบรนด์ และไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์ ไม่ว่าจะเป็นการบริการลูกค้า การเปิด-ปิดร้าน การสั่งของ การจัดวางสินค้า ฯลฯ
6.เน้นลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ
เหมือนกรณีผู้เสียหายจากการซื้อแฟรนไชส์ร้านบุฟเฟ่ต์ “ดารุมะ ซูชิ” เน้นลงทุนด้วยเงินอย่างเดียว โดยไม่ได้บริหารจัดการร้านเอง หรือลงมือทำเอง พอสิ้นเดือนรอรับเงินปันผลอย่างเดียว ซึ่งรูปแบบนี้ไม่ใช่หลักการของระบบแฟรนไชส์ ที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์หรือแฟรนไชส์ซีจะต้องบริหารจัดการร้านเอง เปรียบเสมือนเป็นเจ้าของกิจการที่ตัวเองสร้างขึ้นมาด้วยตัวเอง
7.ซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ต้องประสบความสำเร็จ
ปัญหาสุดท้ายที่มักเกิดขึ้นกับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ก็คือ คิดว่าซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ไม่ต้องบริหารจัดการ หรือลงมือทำเอง ก็ประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่คิดแบบนี้ส่วนใหญ่จะไปไม่รอด บางรายถูกยกเลิกสัญญาแฟรนไชส์ก่อนเวลา โดยหลักการของแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง ผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องลงมือบริหารจัดการและควบคุมดูแลธุรกิจเองทุกอย่าง ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจอย่างเต็มที่ จึงจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ไม่ใช่อยากทำก็ทำ ไม่อยากทำก็ไม่ทำ หรือเปิดร้านบ้างไม่เปิดร้านบ้าง ต้องมีจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการแม้จะเป็นการซื้อแฟรนไชส์ก็ตาม
นั่นคือ รวมเช็คลิสต์ปัญหา ของคนซื้อแฟรนไชส์ ที่ทำให้ผุ้ซื้อแฟรนไชส์หลายๆ รายไม่ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ บางรายต้องสูญเสียเงินจำนวนมหาศาล เพราะถูกหลอกให้ลงทุนกับธุรกิจแฟรนไชส์เก๊ รวมถึงผู้ซื้อแฟรนไชส์ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ ที่จะต้องบริหารจัดการร้านด้วยตัวเอง และจ่ายค่าตอบแทนให้กับเจ้าของแบรนด์แฟรนไชส์
Franchise Tips
- ไม่เข้าใจระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง
- อยากมีรายได้โดยไม่ต้องลงมือทำ
- ไม่ศึกษาบริษัทและเจ้าของแฟรนไชส์
- อ่านสัญญาแฟรนไชส์ไม่ละเอียด
- ไม่ปฏิบัติตามคู่มือแฟรนไชส์
- เน้นลงทุนอย่างเดียว แต่ไม่ลงมือทำ
- ซื้อแฟรนไชส์มาแล้ว ต้องประสบความสำเร็จ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n9ZNvj
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)