รวมเช็คลิสต์ ปัญหาของคนเปิดร้านกาแฟ!
ร้านกาแฟ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่หลายๆ คนสนใจอยากเปิดมากที่สุด เพราะทำง่าย ขายง่าย กำไรดี เพียงแค่หาทำเลดีๆ หน่อยก็มีโอกาสอยู่รอดและประสบความสำเร็จสูงมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าคนที่ทำธุรกิจร้านกาแฟอยู่ในขณะนี้เจอปัญหาอะไรมาบ้าง ทั้งช่วงก่อนเปิดร้านและหลังเปิดร้าน วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com จะนำเสนอให้ทราบ
1.การตั้งชื่อร้าน
ปัญหาแรกของคนเปิดร้านกาแฟ อยู่ที่การออกแบบโลโก้ และตั้งชื่อร้านให้ดึงดูดความสนใจของลูกค้า ผู้ประกอบการร้านกาแฟหลายๆ คนไม่รู้ว่าจะตั้งชื่อร้านกาแฟของตัวเองอย่างไร ให้ดูดี สะดุดตา จดจำง่าย แปลก แตกต่าง หลายๆ คนตั้งชื่อร้านออกมาแล้วดันไปเหมือนหรือใกล้เคียงกับคนอื่น ทำให้สร้างความสับสนให้กับลูกค้าได้
2.ทำเลที่ตั้งร้าน
การหาทำเลเปิดร้านกาแฟเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนเจอมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของค่าเช่าพื้นที่ ความหนาแน่นของประชากรหรือลูกค้า สิ่งอำนวยความสะดวก กฎระเบียบต่างๆ ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งหลายๆ คนได้ทำเลดีแต่ค่าเช่าแพงก็ไปไม่รอดก็มี หลายคนขายดีแต่กฎระเบียบของสถานที่เยอะก็ไปไม่รอด
3.การสร้างแบรนด์
ร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าต้องเป็นแบรนด์ที่คนรู้จักในวงกว้าง อย่างกรณีของสตาร์บัคส์ หรือคาเฟ่ อเมซอน เชื่อว่าคนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี และลูกค้าส่วนใหญ่นิยมใช้บริการสองแบรนด์นี้ เพราะแบรนด์ดังมีชื่อเสียง ถือแก้วแล้วดูดีมีระดับ ดังนั้น เรื่องของการสร้างแบรนด์เป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องปวดหัว
4.วัตถุดิบขาดแคลน
เป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟ ยิ่งในสถานการณ์ค่าครองชีพแพง น้ำมันแพง วัตถุดิบแพง อาจทำให้วัตถุดิบขาดแคลนได้ ทำให้ผู้ประกอบการร้านกาแฟจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาขาย เพราะแบกรับต้นทุนไม่ไหว แต่อีกมุมหนึ่งถ้าปรับขึ้นราคาก็กลัวว่าลูกค้าจะหายไป ทำให้ยอดขายตก จึงเป็นเรื่องลำบากใจของผู้ประกอบการร้านกาแฟ
5.คู่แข่งขันทางธุรกิจ
ปัจจุบันธุรกิจที่มีคู่แข่งมากที่สุดรองจากอาหาร ก็คือ ร้านกาแฟ ไม่ว่าจะเป็นร้านในรูปแบบรถเข็น เคาน์เตอร์ คาเฟ่ และอื่นๆ ซึ่งถือเป็นปัญหาของคนที่อยากเปิดร้านกาแฟ เพราะไม่รู้ว่าเปิดร้านแล้วจะอยู่รอด หรือแข่งขันกับแบรนด์อื่นได้หรือไม่ ผู้ประกอบการร้านกาแฟหลายรายที่ไปไม่รอด ส่วนหนึ่งก็มาจากคู่แข่งของร้านกาแฟที่มีเยอะเกินไป
6.ค่าใช้จ่ายเปิดร้าน
ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการเปิดร้านกาแฟหนึ่งแห่งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว หากเปิดร้านกาแฟในรูปแบบของคาเฟ่น่าจะมีค่าใช้จ่ายตั้งแต่หลักล้านขึ้นไป ซึ่งไม่รวมการตกแต่งและอุปกรณ์ หากเปิดแบบรถเข็นก็น่าจะหลักหมื่น หลักแสน ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ถือเป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องคิดหนักและต้องคำนวณให้ดีก่อนตัดสินใจทำธุรกิจร้านกาแฟ
7.ภาชนะบรรจุภัณฑ์
ไม่ว่าจะเป็นถ้วยกาแฟ แก้วกาแฟ หลอด ช้อน และอื่นๆ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดึงดูดความสนใจของลูกค้า หากแก้วกาแฟสวย แปลก แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ จะดึงดูดลูกค้าเข้ามาใช้บริการในร้านได้ดี ลูกค้าบางคนซื้อกาแฟเพราะชอบถ่ายรูป แชร์ในโซเชียล คนที่จะเปิดร้านกาแฟควรให้ความสำคัญกับภาชนะบรรจุภัณฑ์ด้วยเช่นเดียวกัน
8.การบริหารสต็อก
การบริหารสต็อกสินค้าและวัตถุดิบเป็นอีกปัญหาที่ผู้ประกอบการร้านกาแฟต้องปวดหัว ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อวัตถุดิบที่มากเกินไป หรือสั่งซื้อน้อยเกินไป เมื่อสั่งซื้อน้อยหากขายดีก็เจอปัญหาไม่มีสินค้าขายให้ลูกค้า หรือถ้าสั่งวัตถุดิบมามากๆ หากร้านขายไม่ดี หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น โควิด-19 ระบาดอีกรอบ ทำให้ต้องปิดร้าน ทำให้วัตถุดิบเสียหายได้
9.การบริหารจัดการร้าน
ผู้ประกอบการร้านกาแฟส่วนใหญ่จะประสบปัญหาในเรื่องการบริการจัดการภายในร้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องพนักงาน เมนู ยอดขาย ช่องทางจำหน่าย ราคา การส่งเสริมเสริมการ การฝึกอบรมพนักงาน การกำหนดลูกค้าเป้าหมาย การเปิด-ปิดร้าน บรรยากาศภายในร้าน ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้หากบริการจัดการไม่ดี อาจเป็นปัญหาสำหรับผู้ประกอบการร้านกาแฟได้
10.การบริการลูกค้า
องค์ประกอบสำคัญของร้านกาแฟที่จะดึงดูดลูกค้าให้เข้าใช้บริการในร้าน นอกจากบรรยากาศ และรสชาติกาแฟอร่อยแล้ว ยังมีเรื่องของการบริการลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้าน ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับ การพูดจาก การรับเมนู การชงกาแฟ การเสิร์ฟ การแต่งกายพนักงาน การรักษาความสะอาด หากร้านกาแฟแบรนด์ไหนละเลยในเรื่องเหล่านี้มีโอกาสไปไม่รอดสูง
11.การทำการตลาด
อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้เจ้าของร้านกาแฟต้องคิดหนัก นั่นคือ การทำการตลาดให้ร้านกาแฟของตัวเองเป็นที่รู้จักของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเปิดร้านในทำเลที่คนไม่ค่อยสัญจรผ่าน หากไม่ทำการตลาด ไม่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย ไม่ทำโฆษณาประชาสัมพันธ์ใดๆ อาจทำให้ลูกค้าไม่รู้จักแบรนด์ ไม่รู้จักร้านกาแฟของคุณว่าเปิดอยู่พิกัดไหน
12.การขยายสาขา
ผู้ประกอบการร้านกาแฟหลายรายมักเจอปัญหาร้านของตัวเองขายดี ได้รับความนิยมจากลูกค้า จึงมีการขยายสาขาเพิ่ม พอขยายสาขา 2-3 แห่ง เกิดปัญหาการควบคุมมาตรฐานตามมา รสชาติกาแฟแต่ละสาขาไม่เหมือนกัน หรือการบริการลูกค้าของพนักงานไม่เหมือนกัน ทำให้ยอดขายลดลง ลูกค้าเริ่มทยอยหายไปเรื่อยๆ จนต้องปิดกิจการไปหลายราย
นั่นคือ ปัญหาของผู้ประกอบการร้านกาแฟที่หลายๆ คนเคยเจอมา ใครที่คิดอยากจะเปิดร้านกาแฟ สามารถนำเอาปัญหาจากข้างต้น เป็นแนวทางในการทำธุรกิจร้านกาแฟให้ประสบความสำเร็จ และเกิดปัญหาน้อยที่สุดได้ครับ
Franchise Tips
- การตั้งชื่อร้าน
- ทำเลที่ตั้งร้าน
- การสร้างแบรนด์
- วัตถุดิบขาดแคลน
- คู่แข่งขันทางธุรกิจ
- ค่าใช้จ่ายเปิดร้าน
- ภาชนะบรรจุภัณฑ์
- การบริหารสต็อก
- การบริหารจัดการร้าน
- การบริการลูกค้า
- การทำการตลาด
- การขยายสาขา
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3N0iGLq
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)