รวมสูตรคิดเปอร์เซ็นต์ยอดขาย-กำไร-ขาดทุน! เปิดร้านค้าขายต้องรู้
เรื่องการคิดเปอร์เซ็นต์เป็นสิ่งที่คู่กับการทำธุรกิจ ตั้งแต่ลดกี่เปอร์เซ็นต์ , คิดเป็นกี่บาท , ได้กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ , ขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์ เหล่านี้เป็นต้น คงจะเป็นเรื่องที่ปวดหัวมากถ้าเราไม่มีสูตรสำหรับคิด หรือบางคนบอกเดี๋ยวนี้ก็มีเครื่องคิดเลขไว้อำนวยความสะดวก แต่ถ้าเราไม่รู้หลักการคิดก็คงจะหาคำตอบไม่ได้แน่ ลองไปดูกันว่ามีสูตรคิดที่น่าสนใจอะไรบ้าง
1.สินค้านี้ลดแล้วเหลือเท่าไหร่?
ทุกคนเคยเจอกับป้ายลดราคากี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่ากันไป แต่บางคนก็นึกไม่ออกว่าเปอร์เซ็นต์ที่ลดนี้เราต้องจ่ายจริงเท่าไหร่
- สูตร ราคาเต็ม x (100 – จำนวนที่ลด) ÷ 100) = ราคาที่ลดแล้ว
- เช่น แพคเกจลงทุนชานมไข่มุกปกติ 30,000 บาท จัดโปรโมชันลดราคา 5%
- 30,000 x (100 – 5) ÷ 100 = 28,500 บาท
แสดงว่าสามารถลงทุนได้จากโปรโมชันนี้ในราคา 28,500 บาท
แต่ถ้าใช้เครื่องคิดเลขก็จะทุ่นแรงในการคิด โดยกด ราคาเต็ม – ตัวเลขเปอร์เซ็นต์และกดปุ่ม % = ราคาหลังลด
2.สินค้าลดไปกี่เปอร์เซ็นต์
อันนี้จะเป็นการคิดย้อนกลับจากวิธีแรกที่อยากรู้ว่าลดราคาเท่านี้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์
- สูตร (ราคาส่วนลด ÷ ราคาเต็ม) x 100
- เช่น ชานมไข่มุกแก้วละ 40 บาท ลดราคาเหลือ 35 บาท
- (5 ÷ 40) x 100 = 12.5%
แสดงว่าชานมไข่มุกแก้วนี้ลดราคาไป 12.5% จากราคาปกติ
3.หาตัวเลขเปอร์เซ็นต์ของกำไร
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าก็คงอยากรู้ว่าสินค้าที่เราขายออกไปในแต่ละวันหรือของแต่ละชิ้นที่เราขายไปจะได้กำไรกี่เปอร์เซ็นต์
- สูตร กำไร ÷ ต้นทุน x 100
- เช่น เสื้อตัวละ 200 บาท ขายราคา 350 บาท ได้กำไรตัวละ 150 บาท
- ได้กำไร 150 ÷ 200 x 100 = 75%
4.ขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์
เมื่อมีสูตรคิดว่าได้กำไรกี่เปอร์เซ็นต์ ก็ต้องมีสูตรที่คิดว่าขาดทุนกี่เปอร์เซ็นต์ได้เช่นกัน
- สูตร ส่วนต่างที่หายไป ÷ ต้นทุน x 100 = %
- เช่น เสื้อตัวละ 200 บาท ขายราคา 150 บาท ขาดทุนไป 50 บาท
- เท่ากับว่าขาดทุน 50 ÷ 200 x100 = 20%
5.คิดเปอร์เซ็นต์ยอดขายตามเป้า
ในแต่ละวันพ่อค้าแม่ค้าก็ต้องตั้งเป้าว่าอยากได้ยอดขายเท่าไหร่ และหลายคนก็ไม่รู้ว่ายอดขายที่ได้คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมาย
- สูตร (ยอดขายที่ทำได้จริง ÷ เป้ายอดขาย) x 100
- เช่น ยอดขายร้านชานมไข่มุกที่ทำได้จริงคือ 100,000 บาท เป้าหมายจริงคือ 70,000 บาท
- (100,000 ÷ 70,000) x 100 = 142 %
แสดงว่าร้านชานมไข่มุกแห่งนี้ทำยอดขายได้เกินเป้าหมายที่ 142%
6.เงินเดือนขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์
เมื่อร้านค้ามีพนักงานก็ต้องมีการพูดถึงการปรับเงินเดือน หลายคนคงอยากรู้ว่าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ได้อย่างไร
- สูตร (เงินเดือนใหม่ – เงินเดือนเก่า) x 100 ÷ เงินเดือนเก่า = %
- เช่น เงินเดือนเก่า 15,000 ปรับขึ้นเป็น 17,000 บาท
- (17,000 – 15,000) x 100 ÷ 15,000 = 13%
แสดงว่าเงินเดือนที่ปรับใหม่ขึ้นมาอีก 13% จากเงินเดือนเก่า
7.เงินเดือนขึ้นกี่บาทเมื่อเทียบเปอร์เซ็นต์
บางทีนายจ้างไม่ได้บอกเราว่าจะขึ้นเงินเดือนกี่บาท แต่บอกแค่ว่าจะขึ้นเท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เท่านี้เปอร์เซ็นต์ มีวิธีคิดได้อย่างไร
- สูตร (เงินเดือนเก่า x ตัวเลข %) ÷ 100
- เช่น เงินเดือนเก่า 30,000 บาท ได้ปรับขึ้น 10%
- เท่ากับว่า (30,000 x 10) ÷ 100 = 3,000 บาท
แสดงว่าเงินเดือนจะขึ้น 3,000 บาท เงินเดือนใหม่ที่จะได้รับคือ 30,000 + 3,000 = 33,000 บาท
สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสูตรพื้นฐานที่หลายคนมีความรู้อยู่แล้ว แต่ก็ควรฝึกฝนให้ชำนาญจะได้คิดได้อย่างคล่องแคล่ว หรือเวลาไปพูดคุยกับลูกค้าจะได้ตอบคำถามได้ทันทีว่าเป็นราคาเท่าไหร่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่าไหร่ ยิ่งเรามีความรู้การพูดคุยกับลูกค้าก็จะดูน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)