รวมวิธีมีเงินใช้ด้วย “รถตู้ 1 คัน”
ในบรรดายานพาหนะทั้งหลาย รถตู้ถือว่าเป็นรถในฝันของใครหลายคน จุดเด่นของรถตู้คือสะดวกสบาย เหมาะกับใช้เดินทางไกล แต่ความสะดวกสบายนี้ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่ค่อนข้างสูง และที่เห็นคนออกรถตู้ส่วนใหญ่มักมีแผนที่จะนำมาสร้างรายได้ในแบบต่างๆ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าใครที่มีรถตู้ของตัวเอง หรือกำลังคิดจะซื้อ รถตู้ 1 คัน ไว้หารายได้ ควรรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรถตู้ก่อนว่าเป็นอย่างไร และจะมีวิธีหาเงินแบบไหนได้บ้าง
ค่าใช้จ่ายที่มาพร้อม “รถตู้”
ภาพจาก https://bit.ly/35F6394
ถ้าเริ่มต้นลงทุนจากรถตู้ป้ายแดงมือหนึ่ง ราคารถประมาณ อยู่ที่ 1,200,000 บาท ขึ้นอยู่กับรุ่น และยี่ห้อ อัตราในการผ่อนชำระต่อเดือนก็ขึ้นอยู่กับการวางเงินดาวน์ โดยเฉลี่ยราคาผ่อนต่อเดือนประมาณ 9,000 – 10,000 บาท หรือถ้าจะเลือกเป็นรถตู้มือสอง ราคาก็ขึ้นอยู่กับรุ่น ยี่ห้อและปีที่ผลิต รวมถึงอายุการใช้งาน เบ็ดเสร็จเฉพาะตัวรถตู้อย่างเดียวไม่ว่าจะเริ่มต้นจากมือหนึ่งหรือมือสองก็ต้องมีเงินสดสำหรับเงินดาวน์ไม่ต่ำกว่า 50,000 -300,000 บาท (ขึ้นอยู่กับการเลือกยี่ห้อ รุ่น รถ อายุการใช้งาน)
นอกจากนี้ต้องคิดเรื่องของภาษีซึ่งรถตู้มีอัตราการจ่ายภาษีที่สูงกว่ารถยนต์ทั่วไปและสูงกว่ารถกระบะ เพราะเป็นการคำนวณแบบรถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง ยังไม่นับรวมเรื่องป้ายทะเบียนหากต้องการนำไปวิ่งรับจ้างต้องเปลี่ยนจากป้ายขาวเป็นป้ายเหลือง
ซึ่งก็จะมีเรตอัตราการเสียภาษีที่แตกต่างกันออกไป รวมไปถึงค่าประกัน พรบ. และค่าใช้จ่ายสำหรับการเข้าร่วมงานรถตู้ในรูปแบบต่างๆ เท่ากับว่าหากคิดจะวิ่งงานรถตู้ ก็ต้องมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเกินกว่า 15,000 – 20,000 บาทขึ้นไปถึงจะพอถัวเฉลี่ยเป็นค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าบำรุงรักษา แต่ถ้าหากลงทุนด้วยการซื้อเงินสด ก็จะทำให้เราเบาค่าใช้จ่ายในส่วนนี้และสามารถนำรถตู้มาใช้หารายได้เสริมที่อิสระมากยิ่งขึ้นด้วย
วิธีสร้างรายได้จาก “รถตู้”
1.รับส่งพนักงาน
ภาพจาก https://bit.ly/3x6xPqw
คล้ายกับการรับส่งนักเรียนแต่เปลี่ยนเป็นพนักงานโดยเฉพาะพนักงานบริษัทต่างๆ หรือจะเข้าร่วมกับรถตู้ในท่าอากาศยานสำหรับรับผู้โดยสารต่างชาติ ก็เป็นอีกทางเลือกน่าสนใจแต่ใช่ว่าใครจะเข้าไปเลยก็ได้จำเป็นต้องหาช่องทางในการเข้าถึง ซึ่งก็อาจมีข้อกำหนดที่ต้องให้เราปฏิบัติตามแต่หากเข้าร่วมได้ก็จะมีรายได้ดีทีเดียว
2.รถตู้นำเที่ยว
ภาพจาก https://bit.ly/3j6NQnW
เป็นการใช้รถตู้พาคนที่สนใจไปเที่ยวตามที่ต่างๆ ตามแต่จะเหมา ส่วนใหญ่คิดค่าเช่าเป็นรายวันราคาตั้งแต่ 1,500 -2,000 ต่อวัน ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน โดยราคานี้ไม่รวมค่าน้ำมันในการเดินทาง โดยส่วนใหญ่รถตู้นำเที่ยวลูกค้าจะเลือกรถตู้ที่ไว้ใจได้มีประวัติการขับรถดี และบริการลูกค้าดี ซึ่งเราสามารถฝากแปะโพสต์ในอินเทอร์เนต หรือเข้าร่วมกับก๊วนรถตู้ที่เรารู้จักที่ส่วนใหญ่จะมีการช่วยเหลือในลักษณะน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า มีการโยนงานให้กันในกรณีที่รับงานไม่ทันก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการสร้างรายได้ที่ดี
3.วินรถตู้
ภาพจาก https://bit.ly/3uUBfKf
เป็นรถตู้ที่เราเห็นตามหน้าห้างสรรพสินค้าที่จะมีวินรถตู้วิ่งไปตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและวิ่งออกต่างจังหวัด การเข้าร่วมกับวินรถตู้เหล่านี้เราก็ต้องติดต่อเจ้าของวินซึ่งอาจมีข้อกำหนด มีค่าใช้จ่าย และมีกฏระเบียบในการปฏิบัติต่างๆ ข้อดีของการเข้าร่วมวินรถตู้คือทำให้เรามีเพื่อนในแวดวงรถตู้มากขึ้น และได้รู้จักผู้โดยสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเราบริการดี ขับรถดีก็อาจมีคนประทับใจและเรียกใช้บริการงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่การวิ่งวินรถตู้ในอนาคตได้
4.รถตู้รับส่งนักเรียน
ภาพจาก https://bit.ly/36R5x8K
รถรับส่งนักเรียนมีกฎระเบียบที่ไม่ใช่ใครจะเข้าร่วมได้ทุกคน โดยรถตู้ทุกคันต้องผ่านการรับรองจากโรงเรียนหรือสถานศึกษาด้วย โดยต้องนำรถเข้าตรวจสภาพ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดที่โรงเรียนหรือสถานศึกษาตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ โดยจะได้รับอนุญาตครั้งละ 1 ภาคการศึกษาเท่านั้น
นอกจากนี้ ผู้ขับรถรับส่งนักเรียนต้องได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ หรือเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ซึ่งต้องไม่เคยมีประวัติเสียหายอันเกิดจากการขับรถมาก่อน รวมถึงต้องมีผู้ควบคุมดูแลนักเรียนประจำรถ ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ประจำอยู่ในรถตลอดเวลาที่ใช้รับส่งนักเรียนด้วย
5.รถตู้ให้เช่า
ภาพจาก https://bit.ly/3NLlDBl
การลงทุนทำธุรกิจให้เช่ารถตู้ต้องใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูง เนื่องจากรถตู้รุ่นใหม่จะมีราคาแพงเช่น รถตู้ Toyota Hiace Commuter หลังคาสูงหากซื้อเงินสดราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท ซึ่งอย่างน้อยต้องใช้ 2 คัน เป็นเงินลงทุนประมาณ 3,000,000 บาท แต่ถ้าซื้อเงินผ่อนต้องวางเงินดาวน์ประมาณ 10 – 20% หรือประมาณ 150,000 – 300,000 บาท/คัน
ซึ่งลักษณะการให้บริการให้เช่ารถตู้ส่วนใหญ่จะเป็นแบบชั่วคราวระยะสั้นๆ เป็นการให้เช่าที่ให้สิทธิลูกค้าเลือกที่จะใช้บริการเป็นรายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน รถตู้ที่ให้เช่าอาจมีหลายรุ่น หลายขนาดตามความต้องการของลูกค้า
พร้อมทั้งให้บริการคนขับหรือลูกค้าเลือกขับเองก็ได้ ทั้งนี้ผู้ให้บริการจะเติมน้ำมันรถให้เต็มถังตอนส่งรถไปให้ลูกค้า และเมื่อลูกค้านำรถกลับมาคืนก็ต้องเติมน้ำมันเต็มถังเช่นกัน
การสร้างรายได้จากรถตู้อีก 1 วิธีคือการเปลี่ยนรถตู้เป็นFoodTruck ส่วนใหญ่จะให้รถตู้มือสองมาดัดแปลงสำหรับการเปิดร้านขายเครื่องดื่ม อาหาร โดยมีช่างผู้ชำนาญงานที่รับจ้างดัดแปลงรถตู้ให้เป็น FoodTruck ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งก็ต้องใช้เงินทุนในเบื้องต้นพอสมควร ขึ้นอยู่กับรูปแบบในการดัดแปลงเป็นสำคัญด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3K56CYN
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)