รวมรายจ่ายที่คนไทย “ควรระวัง” ช่วงปลายปี
การแพร่ระบาดของโควิด 19 กว่า 2 ปีที่ผ่านมาทำให้เกิดผลกระทบในเรื่องรายได้ของคนไทยทั้งประเทศ สารพัดเทคนิคในการรัดเข็มขัดให้กับตัวเองถูกนำมาใช้ แน่นอนว่าเมื่อสถานการณ์คลี่คลายตอนนี้เศรษฐกิจก็เริ่มมีสัญญาณฟื้นตัว แต่รายได้ของคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่สูงขึ้น
www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าช่วงนี้ทุกคนน่าจะประคองตัวเองเพื่อรอดูความชัดเจนในเรื่องต่างๆ แต่ก็ประจวบเหมาะกับตอนนี้ที่กำลังเข้าสู่ปลายปี เป็นเวลาใกล้เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ที่แม้บางทีไม่อยากจ่ายแต่ด้วยอารมณ์พาไปบางที
ก็ทำให้เราจับจ่ายใช้สอยอย่างไม่รู้ตัวโดยเฉพาะช่วงนี้สินค้าต่างๆ มีการจัดโปรโมชั่นและมีกลยุทธ์การตลาดที่น่าสนใจมาก ถ้าไม่ระวังการใช้จ่ายในช่วงนี้ให้ดี ความพยายามในการเก็บเงินมาตลอดทั้งปีอาจจะสูญเปล่าก็เป็นได้
คนไทยใช้จ่ายต่อเดือนมากแค่ไหน อะไรที่เราใช้จ่ายมากที่สุด??
ภาพจาก freepik.com
จากข้อมูลของการใช้จ่ายต้นปี 2564 พบว่าค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั่วประเทศจะเฉลี่ยเดือนละ 21,329 บาท โดยผู้คนมักเสียค่าใช้จ่ายไปกับค่าอาหาร เครื่องดื่ม หรือยาสูบ มากที่สุด คิดเป็น 35.6% รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเรื่องอื่นแตกต่างกันไป ตามสัดส่วนเช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องแต่งบ้าน และเครื่องใช้ต่างๆ 20.6% ,ค่าเดินทางและยานพาหนะ 17.2% ,เครื่องนุ่งห่ม รองเท้า และของใช้ส่วนบุคคล 4.7% ,การสื่อสาร 4.0% ,การศึกษา 1.5% เป็นต้น
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค คิดเป็น 13.0% ซึ่งครอบคลุมรายจ่ายประเภทภาษี เบี้ยประกันภัย ดอกเบี้ย ซื้อสลากกินแบ่ง/หวย และอื่นๆ ซึ่งในความเป็นจริงตัวเลขที่ประเมินนี้อาจไม่ใช่ตัวเลขที่ใกล้เคียงกับบางครอบครัว บางคนอาจมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่านี้ ก็ขึ้นอยู่กับรายได้ของแต่ละครัวเรือนและการบริหารจัดการด้านการเงินที่แตกต่าง
รวมค่าใช้จ่ายที่คนไทย “ควรระวัง” ช่วงปลายปี
และเพื่อให้คนที่วางแผนการเงินมาตลอดทั้งปีไม่ต้องมาพังเพราะค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี ลองไปดูว่า ช่วงส่งท้ายปลายปีแบบนี้มีค่าใช้จ่ายอะไรที่ต้องระวังบ้าง
1.ค่าใช้จ่ายจากบัตรเครดิต
ภาพจาก freepik.com
บัตรเครดิตก็เป็นธุรกิจประเภทหนึ่งและรู้ความต้องการของคนไทยในช่วงเทศกาลแบบนี้ดี ว่าต้องการเงินสด ต้องการใช้จ่าย ดังนั้นเราจึงเห็นว่าแต่ละค่ายบัตรมีแคมเปญที่น่าสนใจผุดขึ้นมาในช่วงเวลาแบบนี้เยอะมาก ไม่ว่าจะแคมเปญ 0% , ซื้อก่อนผ่อนทีหลัง , ยิ่งซื้อยิ่งได้
ไม่รวมถึงการได้แต้มโบนัสเพื่อนำไปแลกของรางวัลต่างๆ ถือเป็นสุดยอดกลยุทธ์ที่อาจทำให้เราเผลอใจเลือกใช้บัตรเครดิตกันมากขึ้น และแน่นอนว่าจะกลายเป็นค่าใช้จ่ายตามมาในภายหลัง ซึ่งถ้าไม่วางแผนการใช้จ่ายดี ๆ หลังผ่านเทศกาลแห่งความสุขนี้ไปเราอาจได้เริ่มต้นปี ด้วยการเป็นหนี้ก้อนโตก็ได้
2.ค่าใช้จ่ายที่ต้องการนำไป “ลดภาษี”
ภาพจาก freepik.com
สำหรับบางคนที่มีภาระในการต้องจ่ายภาษีประจำปีอาจมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อจ่ายภาษีต้นปีหน้าให้น้อยที่สุด วิธีที่เห็นชัดเจนคือการมองหาการลงทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกองทุน หรือการจ่ายซื้อสินค้าบริการทางการเงินที่สามารถมาลดหย่อนภาษีได้
ตัวอย่างที่น่าสนใจ คือ การซื้อประกันชีวิตไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือจะซื้อให้พ่อแม่ก็ล้วนนำมาลดภาษีได้สำหรับคนที่กำลังมองหาแบบประกันเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ ตัวเลขผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงและตัวเลขที่ทำให้ลดหย่อนภาษีได้ก็อาจจะทำให้เผลอตกปากรับคำไปก่อนจะศึกษาข้อมูลและกลายเป็นว่าแทนที่จะได้เก็บเงินในช่วงนี้ต้องมาจ่ายไปกับสินค้าและบริการเหล่านี้เพียงเพื่อต้องการนำไปลดหย่อนภาษีเท่านั้น
3.ค่าใช้จ่ายจากการท่องเที่ยว/สังสรรค์
ภาพจาก freepik.com
เป็นเรื่องธรรมดาที่ปลายปีหลายคนจัดทริปท่องเที่ยวให้กับตัวเองและครอบครัว ยิ่งตอนนี้มีการคลายล็อคน์ และยังสนับสนุนให้คนไทยได้ออกมาเที่ยวมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากโครงการของภาครัฐที่มีอย่างต่อเนื่อง มองในแง่ดีมันคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ
แต่ถ้าไม่ระวังให้ดีรายจ่ายที่เกิดจากการท่องเที่ยวนี้อาจทำให้เรามีปัญหาเรื่องการเงินได้เลยทีเดียว ดังนั้นถ้าอยากจะเที่ยวต้องมีการวางแผนการใช้จ่ายให้มีคุณภาพ มีการจัดงบประมาณที่เหมาะสม กำหนดค่าใช้จ่ายที่ชัดเจนในแต่ละทริป และควรวางแผนให้ตัวเองมีเงินสำรองไว้ใช้ในยามฉุกเฉินด้วย
4.ค่าใช่จ่ายจากการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น
ภาพจาก freepik.com
หลายคนที่นึกถึงเทศกาลปีใหม่ ก็นึกอยากแต่งบ้านให้สวยงาม นำไปสู่การซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้าน โดยเฉพาะตอนนี้การช็อปปิ้งออนไลน์ทำได้ง่ายแค่ปลายนิ้วคลิ๊ก อยากซื้ออะไรอยากได้อะไรแค่ใช้มือถือเครื่องเดียวจัดส่งให้ได้ถึงหน้าบ้าน เมื่อยิ่งซื้อได้ง่าย เราก็ยิ่งจ่ายง่าย แถมการตลาดออนไลน์ช่วงนี้มีการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม
ทำให้บางคนรอช่วงเวลาแบบนี้ในการซื้อ ซื้อ และซื้อ สินค้าบางอย่างที่ซื้อมาบางทีไม่จำเป็น แต่ก็ยังซื้อมาเพียงเพราะว่ามันลดราคาหรือรู้สึกว่าถ้าไม่ซื้อตอนนี้อาจได้สินค้าราคาแพงในภายหลัง ทางที่ดีควร ตั้งกฎให้แน่วแน่ว่าจะจ่ายให้กับการซื้อสินค้าเป็นจำนวนเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาด้านการเงินในภายหลังได้
5.ค่าใช้จ่ายจากการเป็น “เหยี่อการตลาด”
ภาพจาก freepik.com
นอกจากกลยุทธ์สำหรับสินค้าขนาดใหญ่แล้ว ในกลุ่มสินค้าขนาดเล็กกลยุทธ์การตลาดสุดท้ายนี้มักพบเห็นกันทั่วไปด้วยพัฒนาการของระบบการตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงทุกคนผ่าน application บนโทรศัพท์มือถือ บริษัทอาจจัดส่ง e-coupon ทางโทรศัพท์
หรือบางแห่งอาจเตรียมคูปองบนแผ่นพับใบปลิวในห้างสรรพสินค้า เพื่อโน้มน้าวให้ลูกค้าเข้าไปใช้บริการและเลือกซื้อสินค้า ซึ่งคนส่วนใหญ่เห็นกลยุทธ์เหล่านี้แล้วสุดท้ายก็กลายเป็นเหยื่อ ที่ยอมเดินเข้าไปซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ก็เป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องระวังเช่นกัน
นอกจากค่าใช้จ่ายที่เราได้กล่าวมาเชื่อว่าปลายปีแบบนี้ยังมีอีก “หลายค่า” ที่จะตามมาและบางทีจำเป็นต้องจ่าย เช่น ภาษีรถยนต์ , ประกันรถยนต์ , ประกันสุขภาพ ทางที่ดีถ้าเรารู้ว่าปลายปีแบบนี้ค่าใช้จ่ายเราสูงก็ควรวางแผนการเงินมาตั้งแต่ต้นปีเพื่อให้เรามีเงินใช้จ่ายมากพอกับทุกรายจ่ายที่ต้องเผชิญ และควรวางแผนให้เรามีเงินเหลือเก็บเอาไว้ส่วนหนึ่งด้วยเพื่อที่จะได้เริ่มต้นปีใหม่อย่างอุ่นใจว่าอย่างน้อยเราก็มีเงินติดบัญชีไว้มากพอเผื่อยามฉุกเฉิน
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3DyRG1I , https://bit.ly/3kPOHL6 , https://bit.ly/3oLfLMA
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3FIjUrI
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)