รวมภัยธรรมชาติสุดโหด ที่โลกไม่เคยเจอ! ปี 2020

ปี 2020 ก้าวเข้าสู่ช่วง 3 เดือนสุดท้าย หลายคนบอกว่าปีนี้มีแต่เรื่องแรงๆ เกิดขึ้นตลอดทั้งปี ทั้งข่าวอาชญากรรมและมหันตภัยจากธรรมชาติ ซึ่งนักวิชาการประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศในแต่ละปีอยู่ที่ 5.2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

หรือประมาณ 15 ล้านล้านบาท และยังกล่าวอีกว่าภายในปี ค.ศ. 2030 ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะเพิ่มเป็น 6 ล้านราย

ขณะที่ต้นทุนความเสียหายทั้งหมดจะพุ่งแตะ 4.35 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเพื่อให้มองเห็นภาพชัดเจนว่าปีนี้มีมหันตภัยจากธรรมชาติอะไรที่เกิดขึ้นบ้าง

www.ThaiSMEsCenter.com ได้รวบรวมสุดยอดภัยธรรมชาติที่บางอย่างอาจไม่ใช่การเกิดครั้งแรก ไม่ใช่เรื่องรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์แต่ก็ถือว่าเป็นเรื่องสุดโหดที่เกิดขึ้นในปีนี้และเชื่อว่าไม่มีใครอยากเจอแบบนี้แน่นอน

1.ไฟป่าออสเตรเลีย

รวมภัยธรรมชาติสุดโหด

ภาพจาก bit.ly/3cHh74w

เริ่มต้นกันที่ไฟป่าออสเตรเลียซึ่งได้ปะทุมาตั้งแต่ปลายปี 2019 ลุกลามยาวนานมาจนถึงช่วงมกราคมปี 2020 ครอบคลุมพื้นที่ 60,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณสองเท่าของประเทศเบลเยียม ไฟป่าครั้งนี้คร่าชีวิตคนไปถึง 23 คน และสัตว์ป่าตายไปมากกว่า 480 ล้านตัว บ้านเรือนเสียหายไปมากกว่า 1,500 หลัง

และสถานการณ์ก็ได้ค่อยๆ คลี่คลายไปเมื่อมีฝนตกหนักในหลายรัฐ ไฟป่าออสเตรเลียถูกจัดอันดับว่ารุนแรงมากที่สุดสุดครั้งหนึ่งของโลก โดยถูกยกว่าสถานการณ์เลวร้ายกว่า ไฟป่าอินโดนีเซีย และ ไฟป่าอเมซอน ในบราซิล หลายเท่าตัว ซึ่งส่วนหนึ่งก็เป็นผลกระทบมาจากภาวะโลกร้อนที่หลายประเทศไม่ได้สนใจที่จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหามากนัก

2.น้ำท่วมหนักในออสเตรเลีย หนักสุดในรอบ 100 ปี

43

ภาพจาก bit.ly/3jhvsaw

อยู่ที่ออสเตรเลียเหมือนเดิม ปัญหาไฟป่ายังไม่คลี่คลาย ซ้ำมาเกิดวิกฤติน้ำท่วม ในเมืองทาวน์สวิลล์ รัฐควีนส์แลนด์ของออสเตรเลีย ประชาชนกว่า 20,000 ครอบครัวต้องอพยพหนีกระแสน้ำ

โดยระดับน้ำท่วมขังยังคงสูงกว่า 1 เมตรนับเป็นเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี มีจระเข้ สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์มีพิษออกมาเป็นจำนวนมาก จนถึงขั้นที่ทางการประกาศเตือนประชาชนให้ระมัดระวังในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

3.ปัญหาฝุ่น PM 2.5

42

ภาพจาก bit.ly/2GmHvEZ

ช่วงต้นเดือนมกราคม ปัญหามลภาวะทางอากาศ PM 2.5 เป็นปัญหาต่อคนกรุงเทพและปริมณฑลอย่างหนัก แม้ว่าต้นเหตุของปัญหาจะเกิดน้ำฝีมือของมนุษย์ แต่ปัญหานี้ก็เป็นผลกระทบในวงกว้างเนื่องจากฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้สามารถผ่านเข้าสู่ระบบหายใจและทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาได้ โดยช่วงวันที่ 7 มกราคม 2563

เว็บไซต์รายงานค่าฝุ่นจิ๋วรายชั่วโมงโดยกรมควบคุมมลพิษเผยข้อมูลค่าฝุ่นในหลายพื้นที่มีค่าสูงเกินมาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงซึ่งประเทศไทยตั้งไว้ที่ 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หนักสุดพุ่งแตะ 121 มคก./ลบ.ม. จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดภาวะกักตุนหน้ากากอนามัยสำหรับป้องกัน PM 2.5 และใช้เวลาอยู่นานกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายได้

4.การแพร่ระบาดของ COVID-19

41

ภาพจาก bit.ly/2S8w0nf

การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID 19 ยังไม่ทราบปัญต้นตอที่ชัดเจนว่าเกิดจากสาเหตุใด เรารู้และรับทราบข่าวนี้เมื่อช่วงต้นปี 2563 ซึ่งอันที่จริงข่าวนี้เริ่มต้นครั้งแรกคือช่วงปลายปี 2562 แต่ตอนนั้นทั่วโลกไม่ได้มองว่าเป็นปัญหาคิดว่าสถานการณ์จะสามารถคลี่คลายไปได้เอง จนกระทั่งวันที่ 12 มกราคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขของไทยประกาศว่าพบผู้ป่วยหญิงจากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยคนแรก

และจากนั้นมาสถานการณ์ก็ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นลำดับ ไม่ใช่แค่ในประเทศแต่เป็นปัญหาที่กระทบไปทั่วโลก ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและอีกมากมายตามมาจนถึงทุกวันนี้ โดยตัวเลขของผู้ติดเชื้อ COVID 19 ทั่วโลกนับถึงตอนนี้มากกว่า 33,546,651 คน รักษาหายแล้ว 24,876,169 และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมที่ 1,006,337 ราย (ข้อมูลนับถึงวันที่ 29 กันยายน 2563)

5.น้ำท่วมครั้งใหญ่ในอินโดนีเซียเสียชีวิตกว่า 60 คน

40

ภาพจาก bit.ly/2GbvP8d

เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในกรุงจาการ์ตาเมืองหลวงของอินโดนีเซีย เมื่อช่วงต้นปี 2563 สาเหตุเริ่มมาจากฝนที่ตกอย่างหนักก่อนช่วงปีใหม่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มในกรุงจาการ์ตาและเมืองเลบัค ทางใต้สุดของเกาะชวา

โดยโฆษกสำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งชาติของอินโดนีเซียเปิดเผยว่า จำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการเพิ่มขึ้นมากกว่า60 รายและยังมีผู้สูญหายอีกจำนวนมากด้วย

6.แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในตุรกี

39

ภาพจาก bit.ly/3ijEbHM

ช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 มีรายงานเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 6.8 แม็กนิจูด ในเมืองซีฟริซ (Sivrice) จังหวัดเอลาซือ (Elazig) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศตุรกีเป็นเหตุให้อาคารบ้านเรือนพังทลายเสียหายจำนวนมาก ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย และได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน

โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างแรงสั่นสะเทือนไปไกลถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างซีเรีย เลบานอน และอิหร่าน สำนักงานด้านการจัดการเหตุด่วนและภัยพิบัติของตุรกี (AFAC) เปิดเผยว่า ภายหลังเกิดแผ่นดินไหวมีอาฟเตอร์ช็อกตามมามากถึง 60 ครั้ง

7.ฝูงตั๊กแตนนับล้านบุกแอฟริกาตะวันออก

38

ภาพจาก bit.ly/349NvZY

ช่วงปลายเดือนมกราคม 2563 เกิดเหตุการณ์ฝูงตั๊กแตนนับล้านบินผ่านแอฟริกาตะวันออก โดยตั๊กแตนเหล่านี้หิวกระหายอย่างหนักองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ประมาณการว่า ตั๊กแตนหนึ่งฝูงในเคนยา กินพื้นที่ประมาณ 2,400 ตารางกิโลเมตร หรือพื้นที่เกือบขนาดของกรุงมอสโก

ซึ่งหมายความว่าในพื้นที่นี้สามารถมีตั๊กแตนได้ถึง 200,000 ล้านตัว ทุกวันๆ วันแต่ละตัวกินอาหารเท่ากับน้ำหนักของตัวเองการโจมตีของตั๊กแตนในเอธิโอเปียและโซมาเลียครั้งนี้ รุนแรงที่สุดในรอบ 25 ปี และเลวร้ายที่สุดในเคนยาในรอบ 70 ปีตามรายงานของ FAO

8.พายุฝนหนักสุดในรอบ 100 ปีถล่มบราซิล

37

ภาพจาก bit.ly/3cGNyAj

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่าเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2020 เกิดพายุฝนตกหนักในทางใต้ของบราซิลที่ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและดินถล่มตามมาที่รัฐมีนัสเชไรส์โดยประชาชนร่วม 3,500 คนถูกสั่งอพยพและมีผู้เสียชีวิตแล้วไม่ต่ำกว่า 30 ราย

ถือเป็นพายุฝนที่เกิดขึ้นตกหนักมากที่สุดเท่าที่เคยถูกวัดมาในรอบ 110 ปี สถาบันอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติบราซิลชี้ แค่ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้นภายในเบโลโอรีซอนตี เมืองเอกประจำรัฐมีนัสเชไรส์ถูกวัดได้ 172 มิลลิเมตร หรือเกือบ 7 นิ้ว

9.ไข้ลาสซาระบาดที่ไนจีเรีย

36

ภาพจาก bit.ly/34cbdEF

สำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ว่าศูนย์ควบคุมโรคแห่งชาติไนจีเรีย (NCDC) เปิดเผยว่ามีผู้เสียชีวิตจากการระบาดของไวรัสลาสซา กว่า 70 ราย จากจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันกว่า 472 ราย และพบการระบาดใน 23 รัฐจากทั้งหมด 36 รัฐของประเทศ

อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 14.8 โดยไวรัสลาสซาเป็นการแพร่กระจายผ่านการสัมผัสน้ำบาย ปัสสาวะ และอุจจาระของหนู ผู้ป่วยมีอาการคล้ายโรคไข้มาลาเรีย ข้อมูลทางระบาดวิทยาระบุว่าโรคไข้ลาสซามักระบาดที่ไนจีเรียช่วงฤดูแล้วเดือนมกราคม-เมษายน

10.ซูเปอร์ไต้ฝุ่นถล่มญี่ปุ่น

35

ภาพจาก bit.ly/36mGsj8

เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2563 มีรายงานพายุไต้ฝุ่นไห่เสินเข้าใกล้เกาะโอกินาวาและเกาะอามามิ-โอชิมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ มีการสั่งอพยพประชาชนกว่า 200,000 คนจากประมาณ 104,000 ครัวเรือนในโอกินาวา ,คาโงชิมะ ,คุมาโมโตะและนางาซากิ โดยซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนี้มีความแรง 182.5 กิโลเมตร/ชั่วโมง ทำให้เกิดปริมาณน้ำฝนในเกาะคิวชูสูงถึง 600 มิลลิเมตรภายในเวลา 24 ชม.

11.ไต้ฝุ่น “ไมสัก” ถล่มเกาหลีใต้

34

ภาพจาก bit.ly/34aXePt

วันที่ 4 กันยายน 2563 พายุไต้ฝุ่น “ไมสัก” พัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งของเกาหลีใต้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 2 คน กระทบ 2.7 แสนหลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้ และต้องยกเลิก 950 เที่ยวบิน

ผลของพายุลูกนี้ทำให้เกิดฝนตกหนักและกระแสลมแรง จนต้นไม้ ป้ายโฆษณาและเสาไฟฟ้าหักโค่น ส่งผลให้กระแสไฟฟ้าดับทั้งในเมืองปูซานและบนเกาะเชจู กระทบบ้านเรือน 270,000 หลัง

12.น้ำท่วมอย่างหนักใน 3 ประเทศแถบเอเชียใต้

33

ภาพจาก bit.ly/3cTYU44

รายงานจากสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2020 ว่าเกิดน้ำท่วมดินถล่มใน 3 ชาติเอเชียใต้ เสียชีวิตกว่า 220 คน บาดเจ็บเกือบ 130 คน และสูญหายเกือบ 50 คน ซึ่งจากฝนที่ตกหนักทำให้ตึกถล่ม 3 หลัง ในมุมไบ

มีประชาชนตกค้างในพื้นที่น้ำท่วมมากกว่า 1 ล้านคน โดยเนปาลมีผู้เสียชีวิตมากที่สุดโดยยอดอย่างเป็นทางการของผู้เสียชีวิตในเนปาล 117 คน เป็นผลจากฝนที่ตกหนักในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมาทำให้น้ำในแม่น้ำที่ไหลผ่านเข้าท่วมพื้นที่ ประชาชนไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 3,600,000 คน

13.น้ำท่วมในมณฑลเสฉวน หนักสุดในรอบ 70 ปี

32

ภาพจาก bit.ly/3igRdWv

ช่วงเดือนสิงหาคม 2020 สำนักข่าว CGTN ของจีนรายงานว่า ทางการท้องถิ่นมณฑลเสฉวน ทางตะวันตกเฉียงใต้ ของประเทศจีน ประกาศยกระดับเตือนภัยน้ำท่วมเป็นระดับสูงสุดหลังจากระดับน้ำในเเม่น้ำหลายสายหนุนสูง

ไหลล้นทะลักท่วมพื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมณฑลเสฉวน ที่ประกาศเตือนภัยน้ำท่วมในระดับสูงสุด นับว่ารุนแรงมากที่สุดในรอบ 70 ปี

14.น้ำท่วม จ.น่าน หนักสุดในรอบ 14 ปี

31

ภาพจาก bit.ly/2S8GhQa

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมน่านหนักสุดในรอบ 14 ปี น้ำท่วมสูงกว่า 2 เมตร ประชาชนเดือดร้อนกว่า 3,000 ราย อันเป็นผลมาจากฝนที่ตกหนักและทำให้น้ำในแม่น้ำน่านไหลเข้าท่วมพื้นที่ชาวบ้าน มีผู้ได้รับผลกระทบใน 4 ตำบล 13 หมู่บ้าน ของอำเภอเวียงสา

โดยเฉพาะบ้านดอนแท่นหมู่ 2 และหมู่ 14 บ้านหนอง หมู่ 9 บ้านต้นหนุน หมู่ 5 บ้านปงสนุก หมู่ 1 และบ้านไหล่น่าน หมู่ 1 ซึ่งบางจุดท่วมสูงถึง 2 เมตร และมิดหลังคาบ้านชั้นเดียว โดยมีประชาชนเดือดร้อนมากกว่า 3,000 รายและมีผู้เสียชีวิต 1 รายด้วย

15.พายุฝนถล่มปากีสถานหนักสุดในรอบ 36 ปี

30

ภาพจาก bit.ly/34hOhnQ

ช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาปากีสถานรายงานว่าฝนมรสุมที่ซัดกระหน่ำนครการาจี เมืองเอกแคว้นสินธ์ทางตอนใต้ของประเทศได้ทำลายสถิติปริมาณน้ำฝนเดือนสิงหาคมในรอบ 36 ปี และจากภาวะฝนถล่มหนักสุดครั้งนี้ทำให้เกิดน้ำท่วมถนน และพื้นที่ลุ่มต่ำต่างๆ และยังก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากฝน เช่นไฟดูด ฟ้าผ่า และหลังคาถล่ม มีผู้เสียชีวิต 4 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่งด้วย

และนอกจากเหตุการณ์เหล่านี้ก็ยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่เป็นมหันตภัยจากธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นพายุที่ถล่มสหรัฐอเมริกา หรือเหตุการณ์น้ำท่วมในยุโรป และคาดว่ากว่าจะถึงช่วงสิ้นปีก็คงจะมีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอีกไม่มากก็น้อย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการเอาคืนของธรรมชาติอันเป็นผลกระทบจากน้ำมือของมนุษย์ที่ไม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และนับวันมหันตภัยธรรมชาติเหล่านี้จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นด้วย


ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

0

ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจ ติดตามได้ที่ https://bit.ly/3corFV2
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter

ขอบคุณข้อมูล

https://bit.ly/3j8EAhu , https://bit.ly/30vqsrB , https://bit.ly/336jlrc , https://bit.ly/3mX9uf0 , https://bit.ly/3cCbEfg , https://bit.ly/30cRjbJ , https://bit.ly/3cDi7Xr , https://bit.ly/349vFpI , https://bit.ly/2HD9oct , https://bit.ly/30fmQJZ , https://bit.ly/30et2C0 , https://bit.ly/3jc2XuD , https://bit.ly/3i48aDy , https://bit.ly/36eKha4

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3n6FFZw

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด