รวมธุรกิจรายได้หมื่นล้านแต่กำไร “บางเฉียบ”

ทำธุรกิจเราต้องมีกำไรกี่% ถึงจะเรียกว่าสมน้ำสมเนื้อให้ธุรกิจเราอยู่รอดไปได้แต่ละธุรกิจก็มีต้นทุนที่แตกต่างดังนั้นการเทียบเคียงว่าควรมีกำไรเท่าไหร่ ต้องไปดูปัจจัยโดยรวมด้านต้นทุนต่างๆ หากบริหารจัดการได้ดีมีโอกาสที่ธุรกิจจะได้กำไรเพิ่ม เช่น

  • ต้นทุนการผลิต
  • ต้นทุนด้านแรงงาน
  • ต้นทุนด้านวัตถุดิบ
  • ต้นทุนด้านการตลาด

ซึ่งถ้ามองในมุมของคนที่อยากทำธุรกิจให้เป็นแฟรนไชส์ก็มีตัวเลขเบื้องต้นว่าควรมีกำไรจากธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 25% ถึงจะคิดต่อยอดไปทำแฟรนไชส์ได้

รวมธุรกิจรายได้หมื่นล้านแต่กำไร “บางเฉียบ”
ภาพจาก https://corporate.walmart.com

อย่างไรก็ดีถ้าไม่ใช่ในรูปแบบแฟรนไชส์เรากลับพบว่าบางธุรกิจไม่ได้มีอัตรากำไรที่สูงเกินกว่า 10% ด้วยซ้ำแต่ธุรกิจเหล่านี้กลับยิ่งใหญ่และอยู่รอดได้ แถมหลายแบรนด์ก็มีชื่อเสียงระดับโลกเป็นที่รุ้จักอย่างดี เคล็ดลับสำคัญของแบรนด์เหล่านี้คือการสร้างยอดขายให้ได้เยอะๆ เพื่อมาเพิ่มกำไรที่แม้จะดูเหมือน “บางเฉียบ” หากแต่ถ้ามีตัวคูณที่เป็นยอดขายระดับหมื่นล้านพันล้าน กำไรที่ได้ก็มากตามไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น

  • Walmart Inc. ธุรกิจร้านค้าปลีกที่เน้นการขายสินค้าราคาถูก มีรายได้ 22,100,000 ล้านบาท อัตรากำไร 2.3% กำไร 517,000 ล้านบาท
  • JD.COM แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช รายได้ 5,180,000 ล้านบาท อัตรากำไร 2.8 % กำไร 146,000 ล้านบาท
  • Heineken ธุรกิจผลิตและจำหน่ายเบียร์ รายได้ 1,130,000 ล้านบาท อัตรากำไร 3.5% กำไร 39,000 ล้านบาท
รวมธุรกิจรายได้หมื่นล้านแต่กำไร “บางเฉียบ”
ภาพจาก www.heineken.com

สังเกตได้ว่าธุรกิจยักษ์ใหญ่เหล่านี้อัตราส่วนกำไรไม่ถึง 5 % นั่นหมายถึงขายของไป 100 บาท ได้กำไรกลับมาไม่ถึง 5 บาท แต่ยอดขายที่แท้จริงของแบรนด์เหล่านี้แตะระดับร้อยล้านพันล้าน นั่นคือตัวแปรที่ทำให้อัตราส่วนกำไรกลายเป็นตัวเลขที่เยอะมาก

กลยุทธ์ “ขายให้มาก แต่เน้นกำไรน้อย” เด่นชัดที่สุดในกลุ่มธุรกิจจากจีนซึ่งที่ผ่านมาเป็นจุดเด่นในการไล่ขยี้คู่แข่งในตลาด มีตั้งแต่เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ ไปจนถึงเสื้อผ้าทำให้จากแบรนด์โนเนม ที่ใคร ๆ ก็ปฏิเสธในตอนแรก

ก้าวขึ้นมาเป็นแบรนด์แนวหน้าได้ในที่สุดลองดูว่ามีอะไรบ้าง

  • Hisense Home Appliances Group รายได้ 373,628 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 1.9% กำไร 7,229 ล้านบาท
  • Xiaomi Corporation รายได้ 1,411,757 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 0.9% กำไร 12,471 ล้านบาท
  • SHEIN รายได้ 852,000 ล้านบาท อัตรากำไรสุทธิ 3.5% กำไร 29,820 ล้านบาท
รวมธุรกิจรายได้หมื่นล้านแต่กำไร “บางเฉียบ”
ภาพจาก https://bit.ly/3ZMIcfA

สิ่งที่ต้องระวังให้ดีของการใช้วิธีเน้นขายมาก เพื่อเอากำไรน้อย อาจเสี่ยงต่อการขาดทุนถ้าบริหารจัดการไม่ดีพอ เหมือนอย่างที่แพลตฟอร์มอย่าง Temu ลดความเสี่ยง ด้วยกลยุทธ์ Group Buying ให้ลูกค้ามาสั่งสินค้ารวมกันเยอะ ๆ ก่อน จากนั้นโรงงานค่อยผลิตสินค้าออกมา ทำให้ไม่ต้องใช้ทุนตัวเอง เพื่อสต๊อกสินค้า

หรืออย่าง Mixue ที่ขยายสาขาได้เยอะมาก ก็ใช้รูปแบบน่าสนใจคือไม่คิดส่วนแบ่งรายได้จากคนที่ซื้อแฟรนไชส์แต่เลือกเน้นทำเงินจากการขายวัตถุดิบและแพ็กเกจจิง ให้คนซื้อแฟรนไชส์ ซึ่งรายได้ส่วนนี้ คิดเป็น 88% ของรายได้ทั้งหมดที่ Mixue ทำได้

แต่ก็ดูเหมือนว่ากลยุทธ์แบบนี้จะไม่ค่อยเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็ก สายป่านยังไม่ยาว ยิ่งเงินทุนไม่หนาขอแนะนำว่าอย่าใช้วิธีนี้ สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มธุรกิจใหม่ๆ ถ้าหวังสร้างยอดขาย ต้องการสร้างแบรนด์ให้ติดตลาด ควรเน้นที่คุณภาพสินค้าและบริการ หรือการใช้ตลาดออนไลน์ในการเข้าถึงลูกค้า เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายให้ได้มากที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด