รวมด้านมืดธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ปี 2567
บทสรุป รวมด้านมืดธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ตลอดปี 2567 ถือเป็นปีที่เราได้เห็นแฟรนไชส์แบรนด์ดังของไทยและต่างชาติ ปิดกิจการ โบกมือลาตลาดในไทย รวมถึงเกิดประเด็นดราม่าจากลูกค้า และแฟรนไชส์ซีร้องเรียนแฟรนไชส์ซอร์
ปี 2568 นับว่าเป็นโจทย์ท้าทายของธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย ด้วยปัจจัยเสี่ยงหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาวะเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนพุ่ง กำลังซื้อชะลอตัว ค่าแรงเพิ่ม อาจทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ต้องปรับตัวเพื่ออยู่รอด ก่อนอื่นมาดูกันมาว่า ตลอดปี 2567 มีประเด็นอะไรบ้างที่เกิดขึ้นกับธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย
1. Tim Ho Wan
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/01/333666711_3502942563260601_8860323809545547489_n.jpg)
แฟรนไชส์ร้านติ่มซำ มิชลิน สตาร์ “Tim Ho Wan” หรือ ทิม โฮ วาน จากฮ่องกง ปัจจุบันอยู่ในเครือเดียวกับแฟรนไชส์ไก่ทอดชื่อดัง Jollibee ของฟิลิปปินส์ เปิดตลาดในไทยปี 2558 นำเข้าโดยบริษัท ติ่มซำ วันเดอร์แลนด์ จำกัด ในเครือฟู้ดแลนด์ ขยายสาขากว่า 5 สาขา ปิดกิจการเมื่อ 10 ม.ค. 2567 จากขาดทุนและหมดสัญญาแฟรนไชส์ ในปี 2565 มีรายได้ 80 ล้านบาท ขาดทุน 43 ล้านบาท
2. GRAM Pancake และ PABLO Cheese tart
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/01/326885096_854212025696032_7018332096321709825_n.jpg)
“แกรม แพนเค้ก” และ “พาโบล ชีสทาร์ต” แฟรนไชส์ร้านขนมหวานสัญชาติญี่ปุ่น เปิดกิจการในไทยปี 2559-2561 ภายใต้บริษัท พีดีเอส โฮลดิ้ง ต่อมาขายกิจการให้กลุ่มวีรันดา รีสอร์ท ประกาศปิดกิจการในไทยเมื่อต้นปี 2567 หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 ผลประกอบการขาดทุนสะสมอยู่ที่ 24 ล้านบาท ประกอบกับเงินเฟ้อ ต้นทุนวัตถุดิบสูง บริษัทฯ จึงต้องปิดกิจการ
3. อร่อยดี
“อร่อยดี” แฟรนไชส์ร้านอาหารจานด่วนในเครือ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2562 วางคอนเซ็ปต์ส่งมอบอาหารไทย “รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ” คัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ เปิดร้านในพื้นที่ใกล้ผู้บริโภค มีเมนูที่คนไทยคุ้นเคย ทำง่าย หลากหลาย ราคาเข้าถึงได้ อาทิ ข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่าใส่ไข่ เป็นต้น
ช่วงแรกๆ แฟรนไชส์อร่อยดีมีสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 20 สาขา ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 1.3 ล้านบาท ค่าแฟรนไชส์ 400,000 บาท พอมาช่วงหลังๆ เหลือเพียงแค่ 11 สาขา สุดท้ายประกาศปิดกิจการทุกสาขาวันที่ 30 เม.ย. 2567
4. Texas Chicken
อีกหนึ่งแฟรนไชส์เป็นที่น่าเสียดายสำหรับแฟนไก่ทอดในไทย สำหรับ Texas Chicken ปิดตัวถาวรในไทยตั้งแต่ 30 กันยายน 2567 Texas Chicken เป็นแฟรนไชส์ไก่ทอดสัญชาติอเมริกัน เปิดกิจการมานานกว่า 72 ปี เดิมชื่อ Church’s Chicken เป็นชื่อผู้ก่อตั้งอย่าง George W. Church Sr. ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2495 เมืองซานอันโตนิโอ รัฐเท็กซัส ปัจจุบันมีสาขาประมาณ 1,500 แห่งทั่วโลก
ในไทย Texas Chicken นำเข้าและบริหารโดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)’ หรือ OR เปิดรสาขาแรกเมื่อปี 2558 ที่เซ็นทรัลเวสต์เกต
สิ้นไตรมาส 2/2567Texas Chicken ในไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 97 สาขา ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2566 ที่มีอยู่ 107 สาขา นั่นแสดงให้เห็นว่า Texas Chicken ทยอยปิดสาขาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการปิดตำนาน 9 ปีในตลาดไก่ทอดเมืองไทย
5. Subway
แม้แฟรนไชส์จากอเมริกา Subway ไม่ได้ปิดกิจการในไทย แต่เกิดประเด็นดราม่า จากลูกค้าโพสต์ข้อความร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร วัตถุดิบขาด กระดาษห่อไม่มีพิมพ์ลาย Subway กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ขนมปังไม่ใช่ของ Subway และอื่นๆ มากมาย
จากนั้นทาง Subway Thailand โพสต์ชี้แจงหลังพบว่า ลูกค้าได้ไปซื้ออาหารจากร้าน Subway ที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปตั้งแต่วันที่ 26 ก.ค. 2567 เช่น Food generation สาขา CP ทาวเวอร์ สีลม, ปตท. บางแสน, ปตท. สุขสวัสดิ์, เชลล์ ลาดพร้าว, ทองหล่อ, เชลล์ ท่าพระ, คาลเท็กซ์ ประชานุกูล, ดิ อัพ พระราม 3, บางจาก ราชพฤกษ์ และอื่นๆ แจ้งลูกค้าให้สังเกตหน้าร้าน ต้องมีเลขที่ร้านและเครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise ถึงจะเป็นสาขาแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิถูกต้อง พร้อมบริการตามปกติ มีอาหารและวัตถุดิบครบทุกเมนู
จริงๆ แล้วอาจจะไม่เกิดประเด็นดราม่าขึ้น หากไม่มีการขายหรือซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ Subway อีกครั้ง โดยบริษัท โกลัค จำกัด ในเครือ PTG ซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ Subway จากบริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ที่ได้รับสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์เดิมในไทย ตรงนี้อาจทำให้สาขาแฟรนไชส์บางส่วนที่ยังไม่ครบสัญญาเปิดขายต่อไป เพราะธุรกิจตัวเองอาจยังไม่ได้ทุนคืน ที่สำคัญคือ แฟรนไชส์ซอร์รายเก่าและรายใหม่ อาจไม่มีการสื่อสารที่ชัดเจนไปยังแฟรนไชส์ซีเกี่ยวกับรายละเอียดสัญญาแฟรนไชส์
6. ถูกดี มีมาตรฐาน
![](https://www.thaismescenter.com/wp-content/uploads/2025/01/70-03.a7cfff3-1400x788-1.png)
แฟรนไชส์สุดท้ายที่เกิดดราม่าส่งท้ายปี (28 พ.ย. 2567) ผู้เสียหาย (แฟรนไชส์ซี) กว่า 100 คน ร้องดีเอสไอ ถูกโชห่วยชื่อดังหลอกลงทุนจนหมดตัว มูลค่าเสียหายกว่า 2,000 ล้านบาท หลังจากลงทุนเปิดร้าน “ถูกดี มีมาตรฐาน” ปรากฏว่ามีปัญหา ของหาย ขายไม่ดี สินค้าไม่ตอบโจทย์คนในชุมชน เปิดสาขาใกล้กัน ทำให้ขายไม่ได้ สุดท้ายโดนยกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ สำหรับการลงทุนในแฟรนไชส์จะมีการวางเงินประกันสินค้า 2 แสนบาท ผู้ซื้อแฟรนไชส์จะทำหน้าที่ขายสินค้า เป็นตัวแทนให้บริษัท มีการนำเงินส่งให้กับบริษัททุกวันหลังจากขายสินค้าได้
ต่อมา 30 พ.ย. 2567 บริษัท ทีดี ตะวันแดง จำกัด เจ้าของแฟรนไชส์ “ถูกดี มีมาตรฐาน” ทำหนังสือชี้แจงตอบโต้ข้อร้องเรียนดังกล่าวว่า ปราศจากมูลความจริง บริษัทมีพยานหลักฐานที่ชัดเจน แถมยังระบุว่ากลุ่มผู้ร้องเรียนมีประวัติเบียดบังทรัพย์สินและเงินของบริษัท ค้างชำระหนี้สินกับบริษัท บางรายอยู่ระหว่างถูกดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์
พฤติกรรมรวมตัวร้องเรียนดังกล่าว แสดงถึงความพยายามเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ อ้างว่าถูกหลอกลวงลงทุน เพื่อสร้างกระแสข่าวให้เกิดความเข้าใจผิด หวังใช้เป็นเครื่องมือต่อรองในประเด็นหนี้สิน และคดีความของตนเอง
สุดท้าย ทั้งหมดเป็นเพียงเหตุการณ์บางส่วนที่เกิดขึ้นกับธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยตลอดปี 2567 ถือเป็นบทเรียนและกรณีศึกษาให้กับผู้ประกอบการแฟรนไชส์ไทยได้ไม่มากก็น้อย ส่วนปี 2568 จะมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นบ้าง ต้องตามกัน
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)