รวม 8 วิธีสร้างรายได้ของพ่อค้าแม่ค้าจากโครงการ “คนละครึ่ง”
สถานการณ์แพร่ระบาด COVID ตอนนี้แม้จะมีมาตรการคุมเข้ม แต่ดูเหมือนตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเยอะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ภาครัฐก็พยายามที่จะเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งก็ไม่แน่ชัดว่าเป็นทางออกที่ดีหรือทำให้แย่ยิ่งกว่าเดิม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนเป็นสำคัญ
แต่หนึ่งในมาตรการที่ www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าน่าจะใกล้ตัวเรามากที่สุดและมีประโยชน์กับเรามากที่สุดตอนนี้คือ “ คนละครึ่ง ” เฟส 3 แน่นอนว่านี้มุ่งหวังให้ประชาชนได้ออกมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าเพราะข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเศรษฐกิจไทยปี 64 จะขยายตัวเพียง 1.8% จากเดิมคาดไว้ที่2.6%
รูปแบบของ “คนละครึ่ง” เฟส 3 ปัจจุบัน?
ภาพจาก www.คนละครึ่ง.com
โครงการคนละครึ่งเฟส 3 เปิดให้ใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2564 โดยครั้งนี้มาพร้อมกับอีก 1 โครงการคือ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ที่ดูเหมือนว่าโครงการหลังจะไม่ได้รับความนิยมมากนัก แน่นอนว่าหลักเกณฑ์ของ “คนละครึ่ง” รอบนี้ก็ไม่ต่างจากครั้งที่ผ่านมา โดยให้สิทธิ์จำนวน 31 ล้านสิทธิ์แบ่งออกเป็น ผู้เคยได้รับสิทธิคนละครึ่งเฟส 1 และ 2 รวมกัน 15 ล้านราย บวกกับ ผู้ไม่เคยได้รับสิทธิคนละครึ่งมาก่อน 16 ล้านราย
ภาพจาก www.ยิ่งใช้ยิ่งได้.com
โดยเงินที่โอนเข้าให้ใช้จ่ายในรอบแรกวงเงิน 1,500 บาท จะสามารถใช้จ่ายเงินได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน คือ ก.ค.-ก.ย. 64 ส่วนวงเงินรอบที่สองอีก 1,500 บาท จะสามารถใช้จ่ายเงินได้ภายในระยะเวลา ต.ค.-ธ.ค. 64 ซึ่งเราสามารถสะสมไว้ใช้หลังการโอนเงินรอบที่ 2 (เดือน ต.ค.) ได้ และสามารถใช้เงินที่เหลือตลอดเวลาระยะเวลาของโครงการหรือภายในวันที่ ธ.ค. 64
ภาพจาก www.คนละครึ่ง.com
แต่หลังจากที่เปิดอย่างเป็นทางการก็ดูเหมือนว่าในหลายพื้นที่จะยังไม่คึกคักอาจจะเพราะสถานการณ์แพร่ระบาดที่ยังน่าเป็นห่วง ประชาชนเองก็ไม่อยากออกมาเดินตลาดมากนัก ถึงขนาดที่คาดการณ์ว่าอาจมีการเลื่อนโครงการคนละครึ่งออกไปเพราะสถานการณ์ไม่เป็นใจให้คนอยากออกมาใช้จ่าย แต่สุดท้ายโครงการนี้ก็เดินหน้าในที่สุด และแน่นอนเช่นกันว่ามาตรการนี้เคยประสบความสำเร็จในเฟส 1 และ เฟส 2 มียอดการใช้จ่ายมากขึ้น พร้อมกับการสร้างรายได้ที่มากขึ้นของพ่อค้าแม่ค้า ซึ่งในคนละครึ่งเฟส 3 ครั้งนี้ลองมาดูว่าพ่อค้าแม่ค้าจะมีวิธีใช้ประโยชน์จากโครงการรอบนี้อย่างไรบ้าง
รวม 8 วิธีสร้างรายได้ของพ่อค้าแม่ค้าจากโครงการ “คนละครึ่ง”
1.ติดป้ายให้ลูกค้ามองเห็นชัดเจน
ส่วนใหญ่ร้านที่เข้าร่วมคนละครึ่งจะได้รับสิทธิต่อเนื่องกับโครงการเราชนะ และเราเรากัน ซึ่งร้านค้าที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการจะได้รับป้ายสำหรับติดหน้าร้าน ซึ่ง “ควรติดในจุดที่ลูกค้ามองเห็นได้ชัด” จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น
2.ตั้งราคาสินค้าให้เหมาะสม
จากโครงการคนละครึ่งเฟสที่ 1 และ 2 มีเสียงสะท้อนจากลูกค้าว่าสินค้าทำไมมีราคาแพง ในแง่ของพ่อค้าแม่ค้าอาจจะมีเหตุผลสนับสนุนทั้งวัตถุดิบที่อาจจะแพงขึ้น แต่ในยุคนี้สิ่งสำคัญที่จะทำให้ขายดีคือสินค้าต้องราคาประหยัด ต่อให้มีโครงการคนละครึ่งราคาก็ต้องสมเหตุสมผล สินค้าใดๆก็ตามที่ราคาย่อมเยาว์มักได้รับความสนใจก่อนสินค้าราคาแพงเสมอ
3.คุยกับลูกค้าอย่างสุภาพ
ไม่ใช่ลูกค้าทุกคนที่จะใช้แอปเป๋าตังเป็น บางคนอาจเป็นคุณลุงคุณป้า ที่อายุมาก ๆมักจะไม่เข้าใจวิธีการใช้ หรือบางทีใช้ไม่เป็นกันเลยทีเดียว หน้าที่ของร้านค้าคือต้องให้บริการแก่ลูกค้ากลุ่มนี้ แม้ว่าจะยุ่งแค่ไหนก็ไม่ควรแสดงอารมณ์ไม่พอใจเมื่อลูกค้าถามว่า “เราต้องทำอย่างไร” ลูกค้าบางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าในแอปเป๋าตังค์ตัวเองมีวงเงินเหลือเท่าไหร่ ยอดการใช้ต่อวันเหลือเท่าไหร่ ตรงนี้พ่อค้าแม่ค้าต้องใจเย็นและอธิบายลูกค้าอย่างสุภาพ เมื่อโครงการนี้หมดระยะเวลาการใช้ ลูกค้าจะได้จดจำภาพลักษณ์ดีๆ ของร้านค้าเราไปด้วย
4.ปริมาณสินค้าต้องไม่น้อยลงกว่าเดิม
เสียงจากประชาชนบางส่วนที่มองว่าถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าแม่ค้าเมื่อมีโครงการคนละครึ่ง หรือเรารักกัน คือการลดปริมาณสินค้าให้น้อยลง ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค เพราะในความเป็นจริง พ่อค้าแม่ค้าไม่ได้มีต้นทุนเพิ่มขึ้นและยังได้รับค่าสินค้าเต็มจำนวน ดังนั้นจึงไม่ควรลดปริมาณสินค้าให้น้อยลง เพราะจะกลายเป็นภาพจำให้ลูกค้ารู้สึกว่าร้านค้านี้เอาเปรียบและไม่กลับมาใช้บริการอีกในอนาคต
5.พัฒนาสินค้าให้ดูน่าสนใจมากขึ้น
นอกจากการเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งวิธีที่จะดึงดูดใจลูกค้าอาจไม่ใช่แค่ตัวโครงการแต่ต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกสนใจสินค้า โดยควรมีไอเดียในการผลิตสินค้าใดๆ ก็ตามให้ดูน่าสนใจ อาจทำให้ดูสวยงามใส่แพคเกจที่สวยงาม แบบไม่ต้องเพิ่มต้นทุนตัวเอง หรือดีไซน์หน้าตาอาหาร เครื่องดื่มให้ดูน่าสนใจมากขึ้นจะช่วยเพิ่มยอดขายในช่วงนี้ได้มากขึ้นด้วย
6.ระบบอินเทอร์เนตต้องมีความเสถียร
ปัญหาเล็กๆที่เจอคือบางทีความไม่พร้อมของพ่อค้าแม่ค้าที่ใช้อินเทอร์เนตไม่เสถียร การโหลดแอพช้า ซึ่งบางทีก็ทำให้ลูกค้าต้องรอนาน หรือบางทีโทรศัพท์ที่ใช้ในการสแกนราคาสินค้าไม่ได้อยู่กับแม่ค้าก็ทำให้ลูกค้าต้องเสียเวลาในการรอคอยเพิ่มขึ้น บางทีถึงกับยกเลิกไม่ซื้อกันเลยก็มี ก็อาจจะกลายมาเป็นปัญหาระหว่างพ่อค้าแม่ค้าและลูกค้าได้ ดังนั้นเรื่องนี้ควรให้ความสำคัญด้วย
7.มีผู้ช่วยในการขาย
พ่อค้าแม่ค้าบางคนเปิดร้านขายของคนเดียว แต่บางทีการใช้สิทธิคนละครึ่ง หรือเราชนะ ไม่เหมือนการจ่ายเงินสดที่รับเงินมาแล้วก็จบ การใช้แอปเป๋าตังค์ บางครั้งเราต้องเสียเวลาในการสแกน ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเทอร์เนต บางคนสแกนไม่ผ่าน ต้องสแกนใหม่ อาจมีปัญหากับลูกค้าคนอื่นที่มารอคิวได้ จึงควรมีผู้ช่วยในการขาย เพื่อให้การขายรวดเร็วมากขึ้น
8.อย่าเสี่ยงใช้คนละครึ่งแบบผิดกฏหมาย
ภาพจาก bit.ly/3jPYr8l
พ่อค้าแม่ค้าบางคนใช้สารพัดวิธีเอาเงินจากโครงการคนละครึ่ง ถือว่าเป็นการกระทำที่ได้ไม่คุ้มเสีย เพราะหากถูกจับกุมโทษหนักจำคุก 7ปี หรือ ปรับไม่เกิน 140,000 บาท แถมจะกลายเป็นบุคคลที่มีประวัติเสีย และอาจถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมโครงการต่างของภาครัฐที่อาจมีขึ้นในครั้งต่อไป
ในสถานการณ์ที่การแพร่ระบาดของ COVID ยังไม่ชัดเจนว่าจะคลี่คลายได้เมื่อไหร่ การมีโครงการ คนละครึ่ง ก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่อาจทำให้คนอยากใช้จ่าย แต่ก็ถือว่าไม่เต็มประสิทธิภาพนัก แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีโครงการอะไรมากระตุ้นประชาชน สำคัญกว่าคือตอนนี้ควรทำอย่างไรให้สถานการณ์แพร่ระบาดเบาบางลงได้โดยเร็วเมื่อนั้นกำลังซื้อก็จะเพิ่มมากขึ้นได้แบบอัตโนมัติ
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3i7P41B
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)