รวม 7 วิธีใช้เงินคนละครึ่ง “800 บาท” ให้พอใน 2 เดือน

โครงการคนละครึ่ง เฟส 5 ให้วงเงินคนละ 800 บาท โครงการนี้ใช้วงเงินรวมกว่า 21,200 ล้านบาท ระยะเวลาใช้สิทธิตั้งแต่ 1 กันยายน – 31 ตุลาคม 2565 ประชาชนส่วนใหญ่มองว่าไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายเนื่องจากสินค้าราคาแพงขึ้นมาก ทำให้บรรยากาศไม่คึกคักเท่าที่ควร เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะเก็บเงินไว้ใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น

แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการได้สิทธิจากโครงการนี้ก็ยังเป็นเรื่องดีที่นำมาช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้มากขึ้น สิ่งที่ได้มาก็คงต้องมาบริหารจัดการกันให้ดีว่า “เงิน 800 บาท” จะใช้ยังไงให้พอกับการดำรงชีวิตในช่วง 2 เดือนที่สามารถใช้สิทธิในโครงการนี้ได้

1.นำมาเฉลี่ยใช้วันละ “26 บาท”

วิธีใช้เงินคนละครึ่ง

โครงการคนละครึ่งที่รัฐจ่ายให้ 800 บาท เราก็ต้องมีเงินอีก 800 บาท รวมเป็น 1,600 บาท หารตัวเลขนี้เฉลี่ยแล้วจะใช้ให้พอดีใน 2 เดือน ต้องใช้เฉลี่ยวันละ 26 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ถือว่าไม่เยอะ แต่ก็ยังพอเอามาซื้ออาหารง่ายๆได้เช่น ซื้อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้ 3 ซอง (ราคาซองละ 7 บาท รวมเป็น 21 บาท)

หรือซื้อข้าวสวยนึ่งพร้อมทาน 3 ถ้วย 10 บาท ไข่ต้ม 3 ฟอง 15 บาท รวมเป็น 25 บาท หรือง่ายกว่านั้นก็ซื้อข้าวเหนียวหมูปิ้งไม้ละ 5-7 บาทได้ประมาณ 2-3 ไม้ พร้อมข้าวเหนียว ราคารวมประมาณ 24 บาท เป็นต้น และด้วยอาหารง่ายๆ เหล่านี้ก็คงพอให้เราอิ่มท้องในแต่ละวันได้บ้าง แม้บางคนจะบอกว่าอาหารแค่นี้กินได้แค่มื้อเดียวยังไม่อิ่มก็ตาม

2.ใช้ “คนละครึ่ง” ซื้อวัตถุดิบเก็บไว้

25

ข้อดีของสิทธิคนละครึ่งคือทำให้เราจ่ายราคาสินค้าถูกลงครึ่งหนึ่ง แม้เราจะต้องใช้เงินตัวเองอีกครึ่งก็ตาม แต่อย่างน้อยก็มีโอกาสให้เราซื้อของได้มากขึ้น ถ้าใครมองว่าเงินแค่ 800 บาท (ของเราอีก 800 บาท) นั้นน้อย ก็ให้เปลี่ยนวิธีคิดไม่ต้องนำไปซื้ออะไรจุกจิก ให้เน้นซื้อวัตถุดิบหลักในการทำอาหารเช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป , ปลากระป๋อง , ไข่ , ขนมปัง หรือวัตถุดิบประกอบอาหารประเภทของแห้งที่สามารถเก็บได้นาน ด้วยเงินจำนวนนี้ทำให้เราได้สินค้ามากขึ้น และทยอยนำมาใช้ก็คงจะช่วยให้เราประหยัดเงินค่าอาหารได้มากขึ้นไปสักระยะหนึ่งด้วย

3.ใช้ไปเรื่อยๆ อย่าให้เกินวันละ 150

17

เงื่อนไขของโครงการคนละครึ่งกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินวันละ 150 บาท สมมุติว่าถ้าเราใช้วันละ 150 บาทเต็มจำนวนอย่างต่อเนื่อง เราจะใช้ได้แค่ประมาณ 6 วันเงินจากโครงการนี้ก็จะหมด วิธีใช้ให้ได้นานมากขึ้นคือต้องกำหนดวิธีการใช้ให้น้อยกว่าวันละ 150 เช่นถ้าเรากำหนดว่าแต่ละวันเราจะใช้ แค่ 100 บาท เราก็จะใช้ได้ประมาณ 8 วัน หรือถ้ากำหนดให้น้อยลงกว่านั้นอีกคือใช้วันละไม่เกิน 50 บาท เราก็จะใช้ได้ประมาณ 13 วัน ในแต่ละวันยิ่งเราใช้น้อยเท่าไหร่ยอดก็จะเหลือให้ใช้ในวันอื่นต่อได้ จะใช้ได้นานแค่ไหน จะถึง 2 เดือนหรือไม่ก็ต้องมาบริหารจัดการค่าใช้จ่ายของเราเองด้วย

4.ใช้บ้างไม่ใช้บ้าง ถ้าของราคาไม่แพงเกินไปก็อย่าเพิ่งใช้

16

สิทธิคนละครึ่งบางคนหมดเร็วมากก็เพราะใช้จ่ายทุกอย่างตามสิทธิที่ใช้ได้ ซึ่งก็เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่เราสามารถจะเลือกจ่ายอะไรก็ได้ตามที่ต้องการ แต่การจะใช้ให้นานขึ้น บางทีถ้าราคาสินค้าไม่แพงเกินไปก็อาจไม่ต้องใช้สิทธิคนละครึ่งในการจ่าย เช่นซื้อชานมไข่มุก 25 บาท จ่ายคนละครึ่งเหลือ 12.50 บาทแต่เงินในสิทธิคนละครึ่งเราก็จะหมดไปเช่นกัน ถ้าอยากเก็บไว้ใช้นานๆ บางทีก็อาจต้องยอมทำใจถ้าสินค้าราคาไม่แพงเกินไปเราอาจเลือกจ่ายเต็มจำนวนแทนได้

5.ใช้สิทธิคนละครึ่งสั่งอาหาร เครื่องดื่ม ผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่

19

โครงการคนละครึ่งเปิดสิทธิให้ใช้ผ่านแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ที่ลงทะเบียนร่วมรายการได้ สำหรับบางคนที่อยากใช้คนละครึ่งให้คุ้มค่าได้มากขึ้น อาจใช้ช่องทางนี้ในการสั่งอาหาร เครื่องดื่ม ที่นอกจากจะได้ราคาคนละครึ่งแล้ว บางทียังมีโค้ดส่วนลด หรือการจัดแคมเปญของแต่ละค่ายที่ให้เราเก็บสิทธิไว้ใช้ได้ในโอกาสต่อไป เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจในการใช้แต่การสั่งอาหารก็ควรจะเลือกเมนูที่ราคาไม่สูงเกินไปเพื่อจะได้ใช้ได้หลายครั้ง ได้นานมากที่สุด

6.นำไปซื้อวัตถุดิบนำมาแปรรูปเพื่อขาย

15

สิทธิคนละครึ่งในรอบนี้จำนวน 800 (เงินของเราอีก 800) ถือว่าไม่มาก ถ้าใช้ซื้อของทั่วไปแป๊บเดียวก็หมด ถ้าจะต่อยอดให้ได้ผลดีที่สุดอาจนำไปลงทุนกับวัตถุดิบแล้วนำมาขายต่อ เช่นซื้อเนื้อหมูกิโลกรัมละ 190 บาท ถ้าใช้สิทธิคนละครึ่งเราจะจ่ายเพียง 95 บาท และอาจนำเนื้อหมูนี้มาหมักเพื่อปิ้งขาย (ในกรณีที่มีอุปกรณ์การปิ้งอยู่แล้ว ไม่ต้องลงทุนเพิ่ม) เงินคนละครึ่งที่เหลือสิทธิก็นำไปซื้อวัตถุดิบอื่น ๆ ที่ต้องใช้ อย่างน้อยต้นทุนที่เราจ่ายก็จะลดลง และวัตถุดิบที่เราซื้อมาอาจแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ที่ให้กำไรกับเรามากขึ้น แม้จะไม่มากแต่ก็ถือว่าเป็นการต่อยอดที่น่าสนใจ สามารถนำไปปรับใช้ได้

7.ใช้คนละครึ่งเฉพาะ “เสาร์-อาทิตย์”

21

คนละครึ่งในเฟส 5 ได้วงเงิน 800 /คน ถ้าใช้ทุกวันต่อเนื่องก็ได้ไม่นานก็หมด ดังนั้นถ้าอยากใช้นาน ๆ ต้องเลือกใช้เฉพาะวันเช่นใช้เฉพาะ เสาร์-อาทิตย์ ตอนไปตลาดนัด และควรเลือกช็อปปิ้งสินค้าที่นำมาประกอบอาหารนำไปรับประทานได้ในวันธรรมดา และใน 1 ครอบครัวอาจใช้สิทธิ์ได้มากกว่า 1 คนเช่นคู่สามี-ภรรยา ใช้สิทธิ์ต่อวันคนละไม่เกิน 150 บาทสามารถซื้อสินค้าได้ไม่เกิน 300/คน ถ้ารวมกัน 2 คนก็มียอดใช้สิทธิได้ 600 บาท ถ้าเลือกจับจ่ายเอาวัตถุดิบมาทำกินเอง หรือทำและนำไปกินที่ทำงานในวันธรรมดาจะทำให้ลดรายจ่ายในวันธรรมดาลงได้ และวิธีนี้อาจทำให้ใช้สิทธิ์คนละครึ่งได้นานขึ้นแม้อาจไม่ถึง 2 เดือนแต่ก็ถือว่าใช้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

การใช้สิทธิคนละครึ่งมีสิ่งที่ต้องพึงระวังคือการสแกนจ่ายเงินผ่านโครงการ ต้องเป็นการสแกนที่มีการซื้อสินค้า/บริการจริงตรงตามมูลค่าที่มีการสแกนจ่าย และไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการทอนเงินสดหรือรับแลกสินค้า/บริการคืนเป็นเงินสดไม่ว่ากรณีใด ๆ ไม่เช่นนั้น ร้านค้าอาจถูกตัดสิทธิ และถูกเรียกเงินคืนเหมือนหลาย ๆ เคสที่ผ่านมา รวมถึงคนทั่วไปที่ลงทะเบียนใช้สิทธิต้องเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกไม่เกินวันที่ 14 กันยายน มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิเป็นโมฆะไม่สามารถใช้สิทธิในโครงการคนละครึ่งเฟสนี้ได้   ขอบคุณ

ข้อมูล https://bit.ly/3DkHm0j , https://bit.ly/3xpozx5 , https://bit.ly/3RFui9n , https://bit.ly/3qjDEMo , https://bit.ly/3D4aBnC

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3xeKQx9

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด