รวม 7 วิธีดึงลูกค้าให้กลับมาใช้จ่าย! เมื่อ COVID เริ่มคลี่คลาย

ตัวเลขของผู้ติดเชื้อ COVID 19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับสัญญาณเปิดประเทศของรัฐบาลที่คาดว่าจะเอาจริงในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน นับถึงตอนนี้เศรษฐกิจก็เริ่มมีการฟื้นตัวมากขึ้น ดูได้จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง

สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมในภาคอุตสาหกรรมที่น่าจะเริ่มขยับขยาย ไม่นับรวมบรรดากิจการร้านค้า ร้านอาหาร และธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มกลับมาเปิดกิจการได้อีกครั้ง

อย่างไรก็ดี www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการเริ่มฟื้นตัวหลังผ่านการแพร่ระบาด COVID 19 อาจเป็นเรื่องที่คนทำธุรกิจต้องคิดหากลยุทธ์การตลาดอย่างหนักเพราะจากช่วงการแพร่ระบาดที่ผ่านมาส่งผลต่อรายได้ของคนไทยอย่างมาก

ถึงขนาดที่มีการประเมินการขยายตัวของเศรษฐกิจสำหรับปีนี้จะลดลงเหลือ 0.8-1.6% เท่านั้น แน่นอนว่าสิ่งที่ภาคธุรกิจควรต้องรู้คือตอนนี้คนไทยมีกำลังซื้อมากแค่ไหนเพราะจากการแพร่ระบาด COVID ที่ผ่านมาผลการสำรวจระบุชัดเจนว่า คนไทยกว่า 76% มีรายได้ที่ลดลงอย่างมาก

ดังนั้นสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องรู้คือจะหาวิธีไหน หรือทำอย่างไร เพื่อดึงลูกค้าให้กลับมาใช้จ่ายได้มากที่สุด และต้องไม่ลืมว่าต่อจากนี้การทำธุรกิจต้องเป็นวิถีใหม่ๆ ที่การตลาดแบบเดิมๆ ไม่สามารถใช้ได้ผลอีกต่อไปเพราะในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของ COVID 19 ทำให้พฤติกรรมของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง

รวมวิธีดึงลูกค้าให้กลับมาใช้จ่ายหลัง COVID เริ่มคลี่คลาย

1.เน้นการใช้โฆษณาที่มีไอเดียสร้างสรรค์ ผ่อนคลายความรู้สึก

 วิธีดึงลูกค้าให้กลับมาใช้จ่าย!

ภาพจาก https://www.freepik.com

การแพร่ระบาด COVID ที่ผ่านมาทำให้คนไทยเครียดหนักมาก หากสถานการณ์เริ่มดีขึ้น กิจการที่กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง ควรหันมาใช้การโฆษณาเชิงสร้างสรรค์ที่ทำให้ลูกค้าเห็นแล้วรู้สึกผ่อนคลาย รู้สึกสบายใจ อาจจะเป็นการนำเสนอข้อดีของสินค้าที่เรามี ที่แสดงให้ลูกค้าเห็นว่าจะช่วยให้รู้สึกดีหรือประทับใจได้มากแค่ไหน

2.การตลาดออนไลน์ต้องมาอันดับหนึ่ง

6

ภาพจาก https://bit.ly/3CWgpwk

ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาการตลาดออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำธุรกิจและต่อจากนี้ก็เช่นกัน ธุรกิจไหนที่ไม่หันมาทำตลาดออนไลน์จะมีโอกาสเข้าถึงลูกค้าได้ยาก เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน และเชื่อได้ว่าการแข่งขันในตลาดออนไลน์ต่อจากนี้จะยิ่งสูง คนทำธุรกิจจึงควรหาวิธีการทำตลาดออนไลน์ที่แปลกใหม่เข้ามาร่วมด้วย เช่น IKEA เปิดแอปพลิเคชัน Virtual Escape Rooms และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ Snapchat มาเล่นเกมแปลงโฉมห้องใหม่ เป็นต้น

3.เน้นกลยุทธ์ Direct to Consumers (D2C) มากขึ้น

5

ภาพจาก https://www.freepik.com

นับจากนี้เราจะได้เห็นกลยุทธ์ Direct to Consumers (D2C) หรือ การขายสินค้าปลีกผ่านช่องทางเจ้าของแบรนด์โดยตรงมากขึ้น แทนที่จะใช้กลยุทธ์ Business to Business (B2B) หรือ การขายสินค้าโดยผ่านคนกลาง หรือผ่าน E-marketplace ต่างๆ เพื่อทำให้ทุกอย่างกระชับ และธุรกิจสามารถปิดการขายได้แบบ door-to-door เช่น การขายเนื้อสัตว์โดยตรงจากฟาร์มส่งถึงมือลูกค้า เป็นต้น

4.ใช้นวัตกรรมเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้า

4

ภาพจาก https://bit.ly/39RW8M0

การแพร่ระบาดของ COVID ทำให้คนส่วนใหญ่เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย เรื่องความสะอาด เรื่องสุขภาพมากขึ้น การทำธุรกิจแบบเดิมๆ ต้องเปลี่ยนโฉมใหม่ ควรหันมาใช้นวัตกรรมเพิ่มความมั่นใจให้ลูกค้าเพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้บริการได้มากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี Air Touch หรือเครื่องจ่ายเครื่องดื่มแบบไม่ต้องสัมผัส หรือการใช้เครื่องการจ่ายเงินแบบ QR CODE ให้ลูกค้าไม่ต้องใช้จ่ายด้วยเงินสดเป็นต้น

5.ใช้การตลาดแบบบอกต่อ (Referral Marketing)

3

ภาพจาก https://pixabay.com

ยุคนี้เป็นการตลาดออนไลน์เครื่องมือสำคัญที่ใช้ได้ดีเช่น การรีวิวสินค้าหรือบริการผ่านโพสต์ต่างๆของผู้บริโภคตัวจริง การพรีเซนต์สินค้าผ่าน Influencer หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆผ่าน ดาราหรือศิลปินที่ผู้บริโภคชื่นชอบผ่านช่องทางส่วนตัวเช่น ไอจีส่วนตัวหรือ tiktok เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการดึงดูดลูกค้าให้สนใจได้มาก ซึ่งแน่นอนว่าพลังของการตลาดแบบบอกต่อสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของร้านค้าได้มาก หากไม่ต้องลงทุนไปจ้างรีวิวหรือจ้างพรีเซนเตอร์

6.เน้นขยายฐานลูกค้าเก่ามากกว่าหาลูกค้าใหม่

2

ภาพจาก https://www.freepik.com

ปัจจุบันการหาลูกค้าใหม่ต้องอาศัยต้นทุนที่สูงมากกว่าเดิมเนื่องจากต้นทุนในการโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเช่น ต้นทุนในการโฆณาต่างในเพจ ในไอจีมีราคาเพื่อให้ลูกค้ามองเห็นเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการขยายฐานลูกค้าเก่าคือเราต้องนำเอาสินค้าใกล้เคียงกันมาขายหรือการติดตามลูกค้าเก่าเพื่ออัพเดตสินค้าหรือบริการที่เขาเคยซื้อเราและหากต้องการขยายลูกค้าใหม่ต้องเน้นเรื่องความคุ้มค่าให้มากขึ้น

7.ไม่ควรมั่นใจในการตลาดแบบ Brand loyalty

1

ภาพจาก https://www.freepik.com

สมัยก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของ COVID การใช้การตลาดแบบ Brand loyalty (ความภักดีต่อตราสินค้า) อาจใช้ได้ผล แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ลูกค้ากลุ่มนี้ก็หายไปด้วย เพราะก่อนมีการแพร่ระบาดผู้คนมักออกไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้าทั่วไป ข้อจำกัดในการเปรียบเทียบราคาจึงมีไม่มากเพราะไม่สามารถเลือกสินค้าแบบเดียวกันโดยเปรียบเทียบราคาจากหลายๆร้านค้าได้แต่พอทุกคนหันมาลองใช้ระบบออนไลน์เราสามารถหาราคาสินค้าชนิดเดียวกันในหลายๆแพลตฟอร์ม ทำให้เกิดการเปรียบเทียบราคาได้ง่าย ความเป็น Brand loyalty จึงหายไปด้วย

การกลับมาอีกครั้งของการทำธุรกิจต้องอยู่ในวิถีแบบ Newnormal ที่หลายอย่างเปลี่ยนแปลงสิ้นเชิง การตลาดแบบเก่าไม่สามารถนำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พฤติกรรมผู้บริโภคหลังจากนี้ก็เปลี่ยนแปลงอย่างมาก การตลาดยุคใหม่จึงเป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจต้องศึกษาและก้าวตามให้ทัน รวมถึงต้องมีการวางแผนรับมือสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3BkPMk4

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด