รวม 5 เรื่องที่ต้องทำ “ก่อนขายแฟรนไชส์” คุ้มครองสิทธิของแบรนด์

ปัจจุบันในประเทศไทยมีแฟรนไชส์กว่า 650 แบรนด์ และมีสาขาแฟรนไชส์รวมทุกแบรนด์กว่า 165,177 แห่ง ซึ่งแน่นอนว่าการลงทุนในระบบแฟรนไชส์มีให้เลือกครบทุกความต้องการทั้งอาหาร เครื่องดื่ม ธุรกิจบริการ การศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ดีสิ่งสำคัญของธุรกิจที่ต้องการขยายสาขาในระบบแฟรนไชส์มีหลายเรื่องที่ต้องทำโดยเฉพาะการ คุ้มครองสิทธิของแบรนด์ เป็นเรื่องสำคัญมาก เพื่อให้เราในฐานะเจ้าขอบแบรนด์ได้มีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย ไม่ให้ใครมาชุบมือเปิบเอาไปเป็นความคิดของตัวเองได้ จึงมี 5 เรื่องที่ควรทำได้แก่

1.จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการ

Timeline การ Set Up

เราต้องไม่ลืมว่าทันทีที่เราได้ทำสัญญาแฟรนไชส์กับผู้ซื้อแฟรนไชส์ จะทำให้เครื่องหมายการค้าและบริการนี้ถูกซื้อไปโดยผู้ซื้อแฟรนไชส์เช่นกัน หากไม่จดทะเบียนให้ถูกต้องอาจมีคนคิดไม่ซื่อและนำธุรกิจที่เราอุตส่าห์ปั้นมาไปจดทะเบียนเป็นของตัวเองซึ่งจะเป็นปัญหาในภายหลังได้ โดยการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการมีด้วยกัน 2 แบบคือ

  • เครื่องหมายการค้า คือสินค้าที่จับต้องได้ เป็นสิ่งของที่มีตัวตน
  • เครื่องหมายบริการ คือเครื่องหมายใช้กับธุรกิจบริการ เช่น สัญลักษณ์ของสายการบิน เป็นต้น

ขั้นตอนเบื้องต้นเริ่มจากใช้บริการตรวจค้นเครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการของเราก่อนว่าไปซ้ำซ้อนกับใครไหม สามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์

2.จดสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและบริการ

ซื้อแฟรนไชส์

เป็นสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์อนุญาตให้บุคคลอื่นใช้เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการ สำหรับสินค้าและบริการที่ได้จดทะเบียนไว้ทั้งหมดหรือบางอย่าง ควรมีรายละเอียดในสัญญาคือ

  • เงื่อนไขหรือข้อกำหนดระหว่างเจ้าของเครื่องหมายการค้าและบริการนั้นๆ
  • เงื่อนไขที่ตกลงชัดเจนว่าผู้ซื้อแฟรนไชส์ต้องใช้สินค้าหรือบริการอะไรจากเจ้าของแฟรนไชส์บ้าง
  • ผู้ขอจดทะเบียนเป็นผู้ได้รับอนุญาตมีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายการค้าและเครื่องหมายบริการนั้นแต่ผู้เดียว

3.จดทะเบียนแฟรนไชส์

ในปัจจุบันแม้ไม่ได้กำหนดว่าต้องจดทะเบียนแฟรนไชส์แต่ก็ควรต้องจดทะเบียนเพื่อให้มีสิทธิคุ้มครองอย่างถูกต้อง โดยผู้ที่ทำธุรกิจแฟรนไชส์ จะต้องขึ้นทะเบียนการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์ และให้ข้อมูลทำตามแบบฟอร์มที่กำหนดไว้ เช่น ชื่อ ประเภท ที่ตั้ง หลักฐานผลกำไรการประกอบการ สัญญาแฟรนไซส์ และเอกสารอื่นๆ ตามที่กำหนด เป็นต้น

4.จดทะเบียนพาณิชย์

ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ จะต้องอยู่ในลักษณะที่ทำหรือขายเป็นประจำ มีที่ตั้งร้านเป็นหลักแหล่งถาวร ซึ่งสามารถขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่

  • เขตกรุงเทพมหานคร ติดต่อที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง
  • ในส่วนภูมิภาค ติดต่อที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยา รับจดทะเบียนพาณิชย์ของผู้ประกอบธุรกิจที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในท้องที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล หรือเมืองพัทยาแล้วแต่กรณี

5.จดทะเบียนนิติบุคคล

เมื่อเริ่มทำธุรกิจย่อมต้องมีเรื่องของรายรับและรายจ่าย ยิ่งเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูง จำเป็นมากที่ต้องจดทะเบียนนิติบุคคล ประโยชน์ของการจดทะเบียนนิติบุคคลคือการเพิ่มความน่าเชื่อถือให้แบรนด์ดูมีศักยภาพมากขึ้น นอกจากนี้การจดทะเบียนนิติบุคคลยังเป็นการทำให้ระบบบัญชีสามารถดำเนินไปตามที่กฏหมายกำหนด ซึ่งมีผลดีในด้านภาษีด้วย

อย่างไรก็ดีทั้ง 5 เรื่องที่ควรทำเพื่อ คุ้มครองสิทธิของแบรนด์ ในผู้ประกอบการบางรายอาจไม่มีประสบการณ์และขาดความรู้ความเข้าใจที่ชัดเจน แนะนำว่าสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญที่ให้ความรู้ได้อย่างถูกต้องจะป้องกันความผิดพลาดในการทำธุรกิจได้ดี และทำให้ธุรกิจมีโอกาสเติบโตไปข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

พร้อมกันนี้ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์มีบริการสำหรับคนทำธุรกิจที่ต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือต้องการรับคำปรึกษาในการสร้างธุรกิจ คลิก https://bit.ly/4gzrW9i

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด