รวม 5 เทคนิคใช้ “Soft Power” เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ
ตอนนี้คนพูดถึงคำว่า “Soft Power” กันเยอะมากตั้งแต่ “มิลลิ” แร็ปเปอร์สาวชาวไทย ได้กินข้าวเหนียวมะม่วงโชว์บนเวที Coachella 2022 ดันยอดขายข้าวเหนียวมะม่วงเติบโตสุดขีดอย่าง LINE MAN บอกว่ามีออร์เดอร์สูงกว่า 3.5 เท่าภายใน 24 ชม.
เมื่อเทียบกับเวลาปกติ รวมถึงมีการพูดถึงเรื่องนี้กว่า 30,000 ข้อความ จาก 14,000 บัญชีแบ่งออกเป็นการสนทนาผ่านทาง Twitter 47.27%, ทาง Facebook 45.86% และช่องทางอื่นๆ 6.87%
ภาพจาก https://bit.ly/38UHExt
โดย www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนว่า “Soft Power” มีอิทธิพลต่อยอดขายอย่างมาก แม้ในภาพรวม Soft Power จะถูกมองเป็นเรื่องใหญ่ที่ใช้ในวงกว้าง แต่หากลองนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจที่เราทำอยู่เชื่อว่าน่าจะได้ผลดีอย่างมาก
รู้จักกับ “Soft Power” คืออะไร?
ภาพจาก https://bit.ly/3v5elB5
Soft Power เป็นคำที่ถูกใช้กันมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 หมายถึงอิทธิพลที่ไม่ได้มาจากการบังคับหรือใช้ความรุนแรง แต่โน้มน้าวผู้อื่นคล้อยตามด้วยเครื่องมือที่ไม่ใช่อาวุธ เช่น วัฒนธรรม กีฬา การศึกษา ธุรกิจ หรือ นโยบายต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งเป็นคำที่คิดโดย Joseph Nye ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์ดวาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา
และถ้าพูดถึง Soft Power ที่ชัดเจนเราต้องนึกถึงเกาหลีใต้โดยเฉพาะละครเกาหลี , นักร้องเกาหลี ที่ต่างสอดแทรกวัฒนธรรมตัวเองนำเสนอสู่สายตาคนทั่วโลกก่อให้เกิดกระแสความนิยมและดันยอดนักท่องเที่ยวให้อยากตามรอยของซีรีย์เกาหลีต่างๆ นำมาซึ่งการเพิ่มยอดขาย เพิ่มรายได้ให้กับประเทศและธุรกิจได้อย่างมาก หรือแม้แต่ในญี่ปุ่นก็มี Soft Power ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นมังงะ ,การ์ตูนอนิเมชั่น , วัฒนธรรมของกินของใช้ , วิถีชีวิต ทุกสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับญี่ปุ่นเป็นเครื่องหมายการตลาดที่ทำให้สินค้าขายง่ายขายดีและถือเป็น Soft Power ที่มีอิทธิพลมาก
ในประเทศไทยเองการจัดอันดับโดย Global Soft Power Index 2022 เราอยู่อันดับที่ 35 ซึ่งถ้าพูดถึงจุดเด่นของเราที่น่าสนใจก็คงหนีไม่พ้นอาหาร ท่องเที่ยว และการบริการ แต่ปัญหาของเราคือ Soft Power ของเราส่วนใหญ่จะไปไม่สุดทาง จะเป็นแค่กระแสชั่วระยะเวลาหนึ่ง พอผ่านไปสักระยะก็จะเริ่มไม่สนใจกับเรื่องนี้ ซึ่งถ้าเอามาต่อยอดจริงๆ จะเป็นผลดีต่อประเทศอย่างมาก
รวม 5 เทคนิคใช้ “Soft Power” เพิ่มยอดขายให้ธุรกิจ
ภาพจาก https://bit.ly/3rGpZAp
ในแง่ของการทำธุรกิจแน่นอนว่าย่อมมีกลยุทธ์การตลาดที่หลากหลาย แม้คำว่า Soft Power จะเป็นภาพรวมขนาดใหญ่แต่หากมาโฟกัสให้เห็นรายละเอียดจะพบว่า เคล็ดลับของ Soft Power คือการใช้จุดเด่นที่เรามี แทรกซึมไปในความคิด ความรู้สึกของผู้อื่น ดึงดูดให้คนสนใจและอยากติดตามมากขึ้น ลองไปดูว่ากลยุทธ์ Soft Power หากนำมาใช้กับธุรกิจจะมีวิธีไหน อย่างไรน่าสนใจบ้าง
วันนี้ประเทศไทยเองก็มีจุดเด่นเรื่อง ส่วนถ้าให้พูดเจาะจงว่ากระแส Soft Power ของข้าวเหนียวมะม่วงจะเกิดขึ้นหรือไม่ จะว่าไปก็มีอยู่แล้ว เพราะข้าวเหนียวมะม่วงถือเป็น 1 ใน 50 ขนมหวานที่ทั่วโลกชื่นชอบ โดยเฉพาะผู้คนในแถบเอเชียและยุโรปบางส่วน
ปรากฎการณ์นี้ยังทำให้ผู้คนเกิดอุปสงค์ในเมนูข้าวเหนียวมะม่วงมากขึ้นแบบฉับพลัน ส่งผลให้ร้านข้าวเหนียวมะม่วงหลายต่อหลายร้านสามารถทำยอดขายได้แบบถล่มทลายในช่วงหลังจากการแสดง เฉกเช่นเดียวกับกรณีลูกชิ้นยืนกินที่ถูกกล่าวถึงโดย LISA Blackpink และอาจรวมไปถึงกรณีของ แบมแบม ที่ช่วยโปรโมทให้กับนักกีฬาบาสเก็ตบอล NBA ได้เป็นตัวจริงใน All Star Game ก็ล้วนแล้วแต่เป็น Soft Power ของศิลปินชาวไทยทั้งสิ้น
1.โฟกัสกลุ่มลูกค้าและเลือกทำการตลาดอย่างถูกต้อง
ในความหมายของ Soft Power คือความต้องการอยากให้คนรู้สึกคล้อยตาม อยากมีส่วนร่วม แน่นอนว่าสินค้าของเราก็ใช้วิธีนี้ได้เพียงแต่เราต้องโฟกัสกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน เพื่อที่จะได้ทำการตลาดได้ถูกกลุ่มเป้าหมายอันเป็นการประหยัดงบในการโฆษณาและได้ประโยชน์อย่างสูงสุด เช่นกลุ่มสินค้าเด็กเราอาจโฟกัสกลุ่มแม่บ้าน แม่มือใหม่ ที่จะนำเสนอสินค้าให้ตรงจุดตรงใจว่าสินค้าเราดีอย่างไร น่าสนใจแค่ไหน เพื่อให้ลูกค้าอยากซื้อ อยากใช้สินค้าเรามากขึ้น
2.เลือกช่องทางในการทำตลาดให้ถูกต้อง
ภาพจาก https://pixabay.com/
เมื่อมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มีคอนเทนต์ที่จะดึงดูดลูกค้าได้ แต่อย่าลืมว่าทุกวันนี้ช่องทางการตลาดมีหลากหลายมาก ดังนั้นเราต้องเลือกให้ถูกว่าช่องทางไหนจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเราได้มากที่สุด เช่นสินค้าวัยรุ่นอาจต้องใช้ช่องทางเพจเฟสบุ๊ค ,Instagram , Youtube , Twitter เป็นหลัก แต่หากเป็นสินค้าที่เจาะกลุ่มสูงวัยอาจต้องใช้ช่องทางรายการโทรทัศน์ เข้าร่วมด้วย เป็นต้น
3.เพิ่ม content หลากหลายเพื่อขยายฐานลูกค้า
ภาพจาก https://bit.ly/3LevVYY
ถ้าเราลองแยกย่อย Soft Power ออกมาให้เห็นภาพจะพบว่า ตัวอย่างความสำเร็จของซีรีย์เกาหลีนั้นมีการพัฒนาคอนเทนต์ที่หลากหลาย เนื้อเรื่องของซีรีย์มีไม่ซ้ำทั้งโรแมนติก , แอ๊คชั่น , การเมือง , ดราม่า , ตลก เป็นต้น วิธีนี้นำมาประยุกต์ใช้กับสินค้าได้เช่นกัน โดยคอนเทนต์ในการนำเสนอต้องหลากหลายน่าสนใจ มีสีสันชวนให้คนดูติดตาม ก็จะเป็นการเพิ่มยอดขายให้สินค้าได้มากขึ้น
4.การทำ Loyalty Program
แนวคิดจาก Soft Power เพื่อให้ได้ผลในการขายสินค้าเรามากขึ้นจึงควรมี Loyalty Program หรือโปรแกรมสร้างความภักดี ที่ทุกร้านควรมีเพื่อเปลี่ยนลูกค้าหน้าใหม่ให้กลายเป็นขาประจำ โดยมีหลากหลายรูปแบบให้ธุรกิจเลือกใช้เช่น บัตรสะสมคะแนน , บัตรสะสมแสตมป์ , การแบ่งระดับสมาชิก ,โปรแกรมคืนเงิน (Cashback) เป็นต้น การที่ธุรกิจยิ่งมีฐานลูกค้าประจำมาก ก็เท่ากับว่าแนวคิดเรื่อง Soft Power ที่นำมาปรับใช้ถือว่าได้ผลในระดับหนึ่ง
5.ธุรกิจต้องเข้าร่วมงานอีเวนท์ในพื้นที่ต่างๆ
ถือว่าเป็นการสร้างความสัมพันธ์และทำให้สินค้าเป็นที่รู้จัก เข้าถึงชีวิตของคนในทุกพื้นที่ได้มากขึ้น ยิ่งสินค้าผ่านสายตา และแทรกซึมไปในความคิดของลูกค้าได้มากก็ยิ่งทำให้มีโอกาสเป็นภาพจำที่ก่อให้เกิดยอดขายได้มากขึ้นเช่นกัน การนำสินค้าเข้าร่วมงานอีเวนท์ต่างๆ จึงมีประโยชน์อย่างมากในระยะยาว
สิ่งเหล่านี้คือวิธีการทำตลาดที่ใช้แนวคิดมาจาก Soft Power โดยเน้นหลักสำคัญคือการเข้าถึงความรู้สึกลูกค้า แทรกซึมไปในความคิด ก่อให้เกิดภาพจำ และสร้างแบรนด์ที่คนสนใจ หมายถึงโอกาสในการเพิ่มยอดขายระยะยาว ซึ่งนอกจากวิธีการเหล่านี้ก็อาจมีอีกหลายวิธีที่เจ้าของธุรกิจจะนำมาประยุกต์ใช้ ขึ้นอยู่กับไอเดียและการบริหารจัดการเป็นสำคัญ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3xGT3LM , https://bit.ly/3Org9fa , https://bit.ly/3L1Koav , https://bit.ly/3xEDxzT , https://bit.ly/36svCKS , https://bit.ly/3xBJnSD
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3k5d9aF
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)