รวม 12 แฟรนไชส์โหนกระแส คนไทยไม่เคยลืม!

มาแล้ว! 12 แบรนด์แฟรนไชส์ในตำนานที่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังอดีต ดำเนินกิจการเคียงคู่กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงเวลาหนึ่ง แต่กาลเวลาผ่านไปทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้ต้องจากไป มีแฟรนไชส์อะไรบ้าง มาดูกัน

1. โรตีบอย

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก https://bit.ly/34xWi8S

คนไทยยังจำได้ดีกับกระแสต่อคิวซื้อขนมที่ยาวเหยียดนานหลายชั่วโมง “โรตีบอย” เป็นแฟรนไชส์กำเนิดครั้งแรกเมื่อปี 2541 ที่ปีนัง ประเทศมาเลเซีย ตอนนั้นใช้ชื่อว่า Bukit Mertajam ขายดิบขายดี จนเป็นที่รู้จักในเรื่องของรสชาติ จากนั้นปี 2545 เปลี่ยนชื่อมาเป็น Rotiboy เปิดสาขาแรกที่ Wisma Central, Jolan Ampang ตอนนั้นมีนักธุรกิจทั้งในประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย แห่ไปซื้อแฟรนไชส์มาเปิดอย่างคึกคัก

ช่วงปลายปี 2548-2549 “โรตีบอย” เริ่มเป็นกระแสดังในไทย ใครไปแถวสยามสแควร์ซอย 4 หรือสีลม จะได้กลิ่นหอมๆ ของขนมปังอบร้อนๆ พร้อมกับภาพลูกค้ายืนต่อคิวซื้อหลายชั่วโมง เกิดกระแสปากต่อปาก ต้องกินให้ได้สักครั้ง แต่ดังอยู่ได้ไม่นานต้องปิดตัวลงในปี 2550 ทั้ง 4 สาขา คือ สยามสแควร์ สีลม เซ็นทรัลลาดพร้าว และข้างบิ๊กซีรามคำแหง

2. เฟรชมาร์ท

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก https://freshmart.bangkoksync.com

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อในตำนานที่หลายคนเคยใช้บริการมาแล้ว FRESH MART ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2543 บริหารงานอย่างมืออาชีพโดยคนไทย ช่วงดำเนินกิจการอยู่นั้น FRESH MART เป็นที่นิยมทั่วภูมิภาคของประเทศไทย สามารถเติบโตขยายสาขาออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ธุรกิจค้าปลีกพัฒนาไปสู่ความทันสมัย จนกระทั่งปัจจุบัน FRESH MART มีสาขากระจายอยู่ทั่วประเทศ มากกว่า 600 สาขา งบลงทุนเปิดร้านอยู่ที่ 790,000 บาท

3. ซันสโตร์

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก https://www.sunstoreonline.com

แฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ Sun Store ก่อตั้งเมื่อปี 2545 เป็น Brand ร้านสะดวกซื้อมาตรฐาน กำหนดให้ผู้ประกอบการ ต้องใช้เครื่องหมายการค้า และวิธีการทำงานตามที่ Sun Store กำหนดเท่านั้น ที่มีอัตราการขยายตัวมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในตลาดธุรกิจค้าปลีก งบประมาณเปิดร้านแฟรนไชส์ซันสโตร์เริ่มต้น 650,000 บาท

4. 108Shop

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก https://citly.me/ETAtL

108 Shop อีกหนึ่งแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อที่กำลังหายไปจากเมืองไทย จะมีให้เห็นบ้างตามชุมชนต่างๆ ก่อตั้งในปี 2518 โดยหลายๆ สาขาที่เหลือ อยู่ระหว่างการเปลี่ยนโฉมเป็นร้านสะดวกซื้อ Lowson108 ร้าน 108 Shop ถือเป็นร้านขายปลีกระดับรากหญ้า ภายใต้โครงการ 108 Shop ช่วยจัดการธุรกิจในร้านสะดวกซื้อ/ขายปลีก เพื่อสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการโดยใช้เงินลงทุนที่น้อยที่สุดแต่ได้กำไรเร็วที่สุด งบลงทุน 520,000 – 720,000 บาท

5. แฟมิลี่มาร์ท

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก https://bit.ly/3X7hD50

แบรนด์แฟรนไชส์สัญชาติญี่ปุ่นเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี 2535 ก่อนขยายสาขาแฟรนไชส์ในปี 2538 ถือเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้ออันดับ 2 ในไทย คู่แข่งสำคัญของ 7-Eleven เคยมีสาขามากถึง 1,200 สาขา ปัจจุบันได้เปลี่ยนโฉมเป็นแฟรนไชส์ร้านสะดวกซื้อ Tops Daily ในเครือเซ็นทรัลเรียบร้อยแล้ว ใช้เงินลงทุนประมาณ 440,000 – 4,880,000 บาท

6. อร่อยดี

แฟรนไชส์โหนกระแส

“อร่อยดี” แฟรนไชส์ร้านอาหารจานด่วนในเครือ บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด ดำเนินธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2562 ด้วยความมุ่งมั่นส่งมอบอาหารไทย “รสชาติคุ้น อิ่มครบ จบทุกมื้อ” มีการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพ เปิดร้านในพื้นที่ใกล้ผู้บริโภค มีเมนูที่ผู้บริโภคคนไทยคุ้นเคย ทำง่ายๆ หลากหลาย ราคาเข้าถึงได้ อาทิ ข้าวผัดรถไฟ ข้าวผัดกะเพรา ผัดมาม่าใส่ไข่ เป็นต้น ช่วงแรกๆ อร่อยดีมีสาขาในกรุงเทพฯ และปริมณฑลกว่า 20 สาขา ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 1.3 ล้านบาท ค่าแฟรนไชส์ 400,000 บาท ก่อนปิดกิจการทุกสาขาวันที่ 30 เม.ย. 2567 เหลือสาขาเพียง 11 แห่งเท่านั้น

7. A&W Restaurants

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก facebook.com/awthai

A&W แฟรนไชส์จากสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นจากการจำหน่ายรูตเบียร์ ก่อนจะมีอาหารคาวหวาน เช่น เฟรนช์ฟรายส์ วาฟเฟิล เบอร์เกอร์ เปิดสาขาแรกในไทยที่เซ็นทรัลลาดพร้าวเมื่อปี 2526 กระทั่งบริษัท โกลบอล คอนซูเมอร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ประกาศปิด A&W ทุกสาขาในไทย โดยเปิดให้บริการถึงวันที่ 20 มีนาคม 2565 เป็นวันสุดท้าย สาเหตุที่ปิดตัวลงอาจมาจากการขาดทุนสะสมบวกกับวิกฤตโรคระบาด โดยปี 2564 ร้าน A&W ขาดทุนกว่า 70 ล้านบาท

8. Baskin Robbins

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก facebook.com/BaskinRobbinsThailand

แฟรนไชส์ไอศกรีมจากอเมริกา ดำเนินกิจการในไทยกว่า 28 ปี โบกมือลาเมืองไทยเดือน มี.ค. 2566 การสัญญาณโบกมือลาของ “บาสกิ้น ร็อบบิ้นส์” จากจำนวนสาขาลดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2563 จนกระทั่งปี 2565 เหลือเพียง 4 สาขา ได้แก่ สาขาโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์, สาขาเค วิลเลจ, สาขาสยามพารากอน และสาขาเดอะวอล์ค เกษตร-นวมินทร์ สุดท้ายไปไม่รอดประกาศปิดกิจการในไทยวันที่ 13 มี.ค. 2566 ในปี 2565 มีรายได้ 76 ล้านบาท ขาดทุน 2 ล้านบาท

9. Mr.Pizza

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก facebook.com/mrpizzathailand.mpt

ร้านพิซซ่า Mr.Pizza อยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท มิสเตอร์พิซซ่า (ไทยแลนด์) จำกัด ในเครือฟู้ดแลนด์ ดำเนินกิจการในประเทศไทยได้ประมาณ 7 ปี 5 เดือน มีสาขาทั้งหมด 4 สาขา ได้ประกาศปิดกิจการตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2566 จากปัญหาขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565 มีรายได้ 5.2 ล้านบาท ขาดทุน 5.8 ล้านบาท

10. Tim Ho Wan

แฟรนไชส์โหนกระแส

ภาพจาก facebook.com/TimHoWanTH

อีกหนึ่งแฟรนไชส์ร้านอาหารจีนชื่อดังจากฮ่องกง Tim Ho Wan ภายใต้การบริหารของบริษัท ติ่มซำ วันเดอร์แลนด์ จำกัด ในเครือฟู้ดแลนด์ ดำเนินกิจการในไทยมากว่า 8 ปี มีสาขากว่า 5 สาขา ประกาศปิดกิจการตั้งแต่สิ้นปี 2566 จากปัญหาขาดทุนและหมดสัญญาแฟรนไชส์พอดี โดยในปี 2565 มีรายได้ 80 ล้านบาท ขาดทุน 43 ล้านบาท

11. ข้าวมันไก่เจมส์

ภาพจาก https://citly.me/eOilu

ข้าวมันไก่เจมส์ ก่อตั้งในปี 2545 เป็นธุรกิจครอบครัวของคุณเจมส์ เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ นักร้องดังยุค 90 ถือเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ยุคแรกๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในตอนนั้น ใช้สูตรข้าวมันไก่ไหหลำที่สืบทอดามายาวนานกว่า 40 ปี งบการลงทุนแฟรนไชส์อยู่ที่ 50,000 บาท ช่วงปี 2546 สามารถขายแฟรนไชส์ได้ราวๆ กว่า 140 สาขาทั่วประเทศ ต่อมาธุรกิจ “ข้าวมันไก่เจมส์” เจอการระบาดไข้หวัดนกในปี 2547 ทำให้ยอดขายลดลง และสาขาแฟรนไชส์ต้องทยอยปิดกิจการ

12. Carl’s Jr. (คาร์ลซ จูเนียร์)

ภาพจาก facebook.com/CarlsJr.Thailand

ร้านแฮมเบอร์เกอร์สัญชาติอเมริกัน คาร์ล จูเนียร์ ภายใต้การบริหารของบริษัท อาร์แอนด์อาร์ เรสทัวรองท์ กรุ๊ป จำกัด เป็นผู้ถือสิทธิ์แฟรนไชส์ร้าน Carl’s Jr. ในประเทศไทย ประกาศปิดให้บริการทุกสาขาเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2565 จากปัญหาขาดทุนสะสม แม้ว่าบริษัทจะพยายามประคองธุรกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 แต่สุดท้ายไปรอด โดยก่อนปิดสาขาทั้งหมดช่วงต้นปี 2564 มีสาขาเหลือเพียง 6 แห่งในไทย แต่ในสหรัฐอเมริกามีสาขามากกว่า 3,800 แห่งทั่วประเทศ

สรุปก็คือ แฟรนไชส์โหนกระแส ทั้ง 12 แบรนด์ ถือเป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมจากนักลงทุนและผู้บริโภคอย่างมากในอดีต แต่เวลาผ่านไปเจอปัญหาอุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะคู่แข่งขันที่มากหน้าหลายตาในตลาด ประกอบกับการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้มีผลประกอบการขาดทุนสะสม ไม่สามารถไปต่อได้ จนต้องปิดกิจการไปในที่สุด

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช