รวม 12 เทคนิค “ตั้งราคาสินค้า” เห็นปุ๊บ ซื้อทันที!
ในยุคที่ของแพงพ่อค้าแม่ค้าก็อยาก ตั้งราคาสินค้า ที่ลูกค้าเห็นแล้วต้องอยากซื้อทันที แต่ในความเป็นจริงการตั้งราคาก็ต้องสมเหตุสมผลกับค่าการตลาดนั้นๆ ส่วนใหญ่การตั้งราคาก็จะผนวกรวมเอาค่าการผลิต ค่าขนส่ง ค่าเช่าพื้นที่ ค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ถัวเฉลี่ยกับปริมาณสินค้า
แต่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าคงจะมีวิธีที่ดีกว่าหากพ่อค้าแม่ค้ามีหลักในการตั้งราคาที่ถูกต้องเพื่อความสบายใจของเราเองและลูกค้า ดีไม่ดีอาจเพิ่มยอดขายได้มากขึ้นด้วย
รวมเทคนิคการตั้งราคาสินค้า! ใครๆก็อยากซื้อ
1.ตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 9
เป็นเทคนิคการตลาดที่รู้จักกันดี เรียกว่าการตั้งราคาแบบ charming price หรือการลดราคาหลักสุดท้ายลงมาหนึ่งหน่วยเพื่อให้ราคาลงท้ายด้วยเลข 9 โดยตัวเลขที่ลงท้ายด้วย “9” ในทางจิตวิทยามีผลต่อความรู้สึกของลูกค้า ทำให้รู้สึกว่าถูกกว่า คุ้มค่ากว่า และเป็นราคาที่เหมาะสม เช่นสินค้าราคา 200 กับ 199 ต่างกันแค่ 1 บาทแต่ความรู้สึกต่างกันชัดเจน
2.ตั้งราคาแบบขายพ่วง
หรือจะเรียกว่าการตั้งราคาแบบเหมาก็ได้ เหมาะกับสินค้าที่อยู่ในกลุ่มของใช้หรืออาหารบางประเภท เป็นการส่งเสริมการขายที่กระตุ้นให้ลูกค้าซื้อมากกว่า 1 ชิ้น แม้ว่าลูกค้าจะต้องการใช้แค่ชิ้นเดียวในตอนแรก แต่เพราะถ้าซื้อเหมาก็จะกลายเป็นยิ่งมากชิ้นยิ่งถูก ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสามารถซื้อได้ในราคาต่อชิ้นที่ถูกกว่า
3.ตั้งราคาโดยเน้นสีแดง
เพราะความรู้สึกของคนส่วนใหญ่มองว่า “สีแดง” คือสินค้าราคาถูก และจำฝังใจแบบนั้น กลยุทธ์นี้เราจะเห็นตามห้างสรรพสินค้านิยมนำมาใช้มากกับป้ายราคาที่อาจจะเป็นสีแดง หรือตัวอักษรสีขาวแต่อยู่บนพื้นแดง เป็นต้น ในทางจิตวิทยาสีที่เด่นชัดดึงดูดให้คนสนใจได้มากขึ้น
4.ตั้งราคาโดยย่อยเป็นรายวัน
เป็นการตั้งราคาที่ใช้ได้ดีกับสินค้าที่มีราคาแพง หรือเป็นสินค้าที่คนจำเป็นต้องใช้ เช่น ตู้เย็น , โทรศัพท์ , โทรทัศน์ เป็นต้น ซึ่งราคารวมอาจสูง แต่หากเราตั้งราคาขายทอนลงมาเฉลี่ยต่อวัน เช่น โทรศัพท์มือถือราคา 15,000 บาท แต่หากพูดราคาเต็มคนอาจมองว่าแพง แต่ถ้าลองเฉลี่ยว่าโทรศัพท์ 1 เครื่องใช้ได้นานแค่ไหน เฉลี่ยต่อวันอาจเท่ากับว่าเราจ่ายแค่ไม่กี่บาท
5.ตั้งราคาโดยไม่ใช่จำนวนเต็ม
จำนวนเต็มเช่น 200 ,500 , 1,000 ซึ่งการตั้งราคาแบบนี้ลูกค้าจะคำนวณได้ง่าย ตัดสินใจได้เร็วและรู้สึกว่าแพงเกินไป แต่หากลองใช้เทคนิคตั้งราคา 189 , 490 หรือ 950 บาท จะทำให้ลูกค้ารุ้สึกว่าสินค้านี้ถูกตั้งและคำนวณตามความจริง ไม่ได้ใส่กำไรเอาไว้มาก ซึ่งอาจทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายกว่า
6.ตั้งราคาโดยเริ่มจากสินค้าราคาแพงก่อน
เป็นเทคนิคที่เราจะเห็นในร้านอาหารที่ส่วนใหญ่จะเอาเมนูราคาแพงไว้หน้าแรกๆ ซึ่งส่วนใหญ่คนจะเปิดไปหน้าท้ายๆ ที่ราคาถูกกว่า ซึ่งเราสามารถนำเทคนิคนี้มาใช้ในการจัดเรียงสินค้าที่อยากจะขายเน้นจากแพงไปถูกเพื่อดึงดูดลูกค้าได้
7.ตั้งราคาโดยวางตำแหน่งไว้ด้านซ้าย
ตามทฤษฏีภาพกราฟจำนวนที่น้อยกว่าจะอยู่ด้านซ้าย ส่วนจำนวนที่มากกว่าก็จะไล่ไปทางด้านขวาเรื่อยๆ นำมาสู่การตั้งราคาสินค้าที่ควรให้มองเห็นในตำแหน่งทางซ้าย จะให้ความรู้สึกว่าสินค้านั้นอาจไม่แพงจนเกินไป
8.ตั้งราคาโดยเทียบกับราคาเดิม
การมีตัวเปรียบเทียบอาจช่วยให้การตัดสินใจนั้นง่ายขึ้น เช่น 150 (จากปกติ 200) ซึ่งการมีราคามาเปรียบเทียบจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่าที่ได้ซื้อ และรู้สึกว่าประหยัดเงินในกระเป๋าได้อีกด้วย แต่โดยส่วนใหญ่วิธีนี้จะใช้กระตุ้นความรู้สึกลูกค้าในตอนที่จัดโปรโมชั่นเป็นหลัก
9.ตั้งราคาแบบเทศกาลพิเศษ
เป็นการให้ราคาสินค้าพิเศษในช่วงเทศกาลต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าตามเทศกาลนั้นๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ช่วงเวลาเปิดเทอม ซึ่งข้อดีของประเทศไทยคือเรามีเทศกาลพิเศษเยอะมาก เรียกว่ามีแทบจะทุกเดือน การนำเทคนิคนี้มาใช้ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของผู้ประกอบการเองด้วย
10.ตั้งราคาแบบล่อใจ
เป็นการตั้งราคาสินค้าบางอย่างที่ผู้บริโภคต้องการ ให้มีราคาต่ำมากหรืออาจจะต่ำกว่าต้นทุน เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเข้ามาซื้อสินค้าในร้านของเราเพิ่มมากขึ้น
11.ตั้งราคาราคาแยกตามกลุ่มลูกค้า
เป็นการกำหนดราคาต่างกันตามกลุ่มลูกค้าที่ต่างกันโดยพิจารณาจากกำลังซื้อของลูกค้า หรือให้ราคาพิเศษสำหรับลูกค้าบางกลุ่ม เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนี้มาใช้บริการมากขึ้น เช่น โรงภาพยนตร์ที่แสดงบัตรนักศึกษาได้ราคาพิเศษ ในวันธรรมดา เป็นต้น
12.ตั้งราคาเป็นเซต
เป็นการนำเอาสินค้าแบบเดียวกันหรือต่างชนิดกันมากกว่า 1 ชิ้น มารวมขายเป็นเซต โดยตั้งราคารวมให้ต่ำกว่าราคาปกติของสินค้าแต่ละชิ้นที่นำมารวมกัน เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อสินค้าในปริมาณที่มาก เช่น เซตอาหารจานด่วน , เซตของว่าง หรือแม้แต่กลยุทธ์กล่องสุ่มก็คือการตั้งราคาเป็นเซตในอีกรูปแบบหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอีกหลายกลยุทธ์ในการตั้งราคาสินค้าเช่น การตั้งราคาตามฤดูกาล เป็นการกำหนดราคาสินค้าให้ต่ำลงกว่าปกติในช่วงเวลาที่มีความต้องการของลูกค้าน้อย หรือกำหนดราคาให้สูงขึ้นในช่วงเวลาที่มีลูกค้ามาก
หรือการตั้งราคาแบบหลอกล่อจะใช้ได้ผลเมื่อลูกค้ามีความลังเลในการตัดสินใจระหว่าง 2 ตัวเลือก สิ่งที่ทำคือการสร้างตัวเลือกที่ 3 ขึ้นมา ซึ่งตัวเลือกที่ 3 นี้จะเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของลูกค้าและทำหน้าที่ลวงให้หันไปตัดสินใจซื้อตัวเลือกที่เราอยากจะขายมากกว่า เช่น สินค้าราคาที่อยากขายคือ 1,000 บาท แต่ลูกค้าอาจรู้สึกแพงไป เราก็นำสินค้าราคา 900 บาทมาเทียบให้ดูว่าจ่ายเงินเพิ่มอีกแค่ 100 บาทแต่สิ่งที่ได้จะคุ้มค่ากว่าเป็นต้น
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3rFF3gL , https://bit.ly/354jYEZ , https://bit.ly/3rDYCGg , https://bit.ly/33xPX06
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3CoQkH8
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)