รวม 10 แก้ปัญหา สินค้าดีแต่ทำไมไม่มีคนซื้อ??

ก่อนขายสินค้าใดๆก็ตาม เรามั่นใจเสมอว่าสินค้าที่เรามีคือดีที่สุด ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากที่สุด ถ้าวางขายรับรองจะต้องขายดีและมีคนซื้อแน่ๆ แต่ในความเป็นจริง www.ThaiSMEsCenter.com เชื่อว่ามีหลายคนที่ความจริงกับความฝันมักสวนทางกันเสมอ

การผลิตสินค้าขึ้นมาเรามีต้นทุน ซึ่งหากขายไม่ได้ก็หมายทุนขาดทุน ทั้งที่เป็นสินค้าดีแสนดีและน่าจะมีคนซื้อแต่ทำไมกลับไม่มีคนซื้อ เรื่องนี้เกิดจากอะไร และจะมีวิธี แก้ปัญหา อย่างไร ลองไปดูกัน

รวม 10 ปัญหาสินค้าดี แต่ทำไมลูกค้าไม่ซื้อ พร้อมวิธีแก้ไข

1.ลูกค้าตัดสินที่ “คุณค่า” ของตัวสินค้า

แก้ปัญหา

รถยนต์บางยี่ห้อทำไมขายดี บางยี่ห้อขายไม่ค่อยได้เพราะคนส่วนใหญ่ตัดสินที่คุณค่าระยะยาว กับราคาสินค้า โดยจะประเมินว่าคุ้มค่าจะซื้อหรือไม่ ในทางกลับกันสินค้าทั่วไปอย่างอาหาร ของใช้ พวกนี้ราคาจะถูกกว่า แต่ลูกค้าก็จะดูความคุ้มค่าด้วยเช่นกันว่าราคาสมเหตุสมผลกับคุณภาพหรือไม่ บางครั้งสินค้าเราดีมากแต่ราคาแพงก็เป็นเหตุผลให้คนประเมินแล้วว่ายังไม่ซื้อดีกว่า

วิธีแก้ไข ทางออกของเรื่องนี้ต้องเริ่มที่กระบวนการผลิตสินค้าของเราต้องโฟกัสให้ชัดเจนว่าเราจะเจาะกลุ่มลูกค้าแบบไหน กำลังซื้อประมาณเท่าไหร่ เพื่อคำนวณจัดหาต้นทุนวัตถุดิบให้สอดคล้องในการตั้งราคาขายที่เหมาะสม

2.ตัดสินใจซื้อจาก “บริการเสริม”

9

สินค้าดีแค่ไหนแต่บางคนก็มองไปถึง “บริการหลังการขาย” หรือการติดตามดูแล ยิ่งเป็นสินค้าราคาแพงย่อมคาดหวังว่าจะได้รับการปฏิบัติที่ดีหลังซื้อสินค้า บางคนขายสินค้าแต่ละเลยเรื่องการดูแล คิดว่าขายแล้วก็ขายไป แม้แต่การขายอาหารหรือเครื่องดื่มก็มีบริการเสริมได้เช่น การจัดโปรโมชั่นให้ลูกค้าที่ซื้อครบจำนวน หรือการลดราคาให้ลูกค้าในวันเกิดเป็นต้น

วิธีแก้ไข คนที่มีสินค้าดีและอยากจะขายดี ควรมีบริการเสริมเพื่อเพิ่มความประทับใจ และเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับธุรกิจของตัวเอง

3.ตัดสินใจซื้อโดยดูจาก “การแก้ปัญหา”

8

คนที่ขายสินค้าไม่ได้แม้ดีแสนดีเพราะบางทีสินค้าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามที่ลูกค้าต้องการ เช่นบางคนมองหาโทรศัพทมือถือรุ่นที่ถ่ายภาพสวยๆ หรือมีฟังก์ชั่นถ่ายรูปสวยๆ แต่โทรศัพท์ที่เราผลิตออกมาดีจริงแต่ไปรองรับการใช้งานอย่างอื่น หรือบริการทั่วไปอย่างร้านตัดผม ถ้าเน้นที่การตัดผมแค่ทรงเดียวก็ไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าที่อาจต้องการได้ทรงผมอื่นๆมากกว่า

วิธีแก้ไข ก่อนผลิตสินค้าหรือเริ่มทำธุรกิจใดๆ ก็ตามเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้องและวางคอนเซปต์สินค้าและบริการให้ตอบโจทย์คนกลุ่มนี้ได้มากที่สุด

4.ลูกค้ายังไม่อยากได้สินค้าตอนนี้

7

สินค้าดีจริง แต่ทว่าลูกค้ายังไม่ต้องการสินค้าตอนนี้คือเหตุผลหลักที่ว่าสินค้าเราดีแสนดี แต่ทำไมขายไม่ค่อยได้ อย่างไรก็ดีการแก้ปัญหาในข้อนี้ต้องอาศัยความอดทนและใช้กลยุทธ์ในการตลาดเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขายให้มากขึ้น

วิธีแก้ไข ควรใช้ “การติดตาม” โดยอาจขอข้อมูลลูกค้าสำหรับโทรไปสอบถามหรือนำเสนอสินค้าอื่นๆ ได้ในภายหลัง

5.ยังไม่ซื้อเพราะไม่มีเงิน

6

เรื่องของกำลังซื้อมีผลต่อการขายสินค้าชัดเจน สินค้าที่ดีบางทีก็มีต้นทุนการผลิตที่สูง ทำให้ราคาสูงตาม ลูกค้าบางทีก็อยากได้แต่ติดที่ว่าเงินไม่พอซื้อ หรือบางทีมีเงินพอซื้อแต่ต้องการเก็บเงินส่วนนี้ไว้ใช้จ่ายเรื่องอื่นก่อน เป็นหน้าที่ของคนทำธุรกิจที่ต้องหาวิธีทำอย่างไรก็ได้ให้คนสามารถซื้อสินค้าได้โดยไม่รู้สึกเป็นภาะในการจ่ายเงิน

วิธีแก้ไข อาจต้องมีกลยุทธ์การขายแบบราคาผ่อนหรือเข้าร่วมกับบัตรเครดิตต่างๆ ให้ลูกค้าผ่อนจ่ายได้ง่ายๆ

6.ลูกค้าไม่เห็นโฆษณา ไม่เดินผ่านหน้าร้าน

2

เป็นปัญหาด้านการตลาด และการเข้าถึงของโฆษณา ต่อให้สินค้าดีแค่ไหน ก็มีคนจำนวนน้อยที่รู้ว่าเรามีสินค้าดีๆแบบนี้ขายอยู่ แน่นอนว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้ต้องเน้นทำการตลาดเป็นหลัก สำหรับบางคนที่ไม่ถนัดการทำตลาดก็อาจจ้างมืออาชีพให้ช่วยในเรื่องนี้ได้

วิธีแก้ไข ให้ลองวิธีการตลาดใหม่ๆ ทำป้ายโฆษณาในที่ใหม่ๆ ทดลองเพิ่มช่องทางที่ลูกค้าจะเห็นได้โดยเฉพาะใน Facebook , Google , Instagram เป็นต้น

7.ลูกค้าสนใจเยอะแต่ไม่ตัดสินสินใจซื้อ

5

ของดีก็ย่อมมีคนสนใจมาก บางคนมีลูกค้าทักเข้ามาถามในช่องทางโซเชี่ยล หรือบางคนที่มีหน้าร้านก็อาจมีลูกค้าแวะเข้ามาพูดคุยสอบถาม เรียกว่าแต่ละวันถ้าเปลี่ยนคนถามให้กลายเป็นคนซื้อจะขายดีมาก แต่ที่จริงแล้วคนถามเยอะแต่เราขายไม่ได้เพราะขั้นตอนสุดท้ายลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อ

วิธีแก้ไข ต้องไปตรวจสอบในกระบวนการขาย ต้องเรียนรู้จิตวิทยาในการขายที่จะทำให้ลูกค้ามองเห็นข้อดีของการที่ควรซื้อในตอนนี้ทันที อาจต้องใช้วิธีการพูดที่โน้มน้าวใจมากขึ้น

8.ลูกค้าเดินผ่านเยอะแต่ไม่มีคนซื้อ

4

ปัญหานี้แตกต่างจากข้อที่ผ่านมาข้อนี้ลูกค้าที่อยู่หน้าร้านมีเยอะมากแต่คนที่เดินหลุดเข้ามาถามรายละเอียดสินค้ามีน้อยเหลือเกิน ก็ให้นึกไว้ในใจก่อนว่าต้องมีปัญหาที่เรื่องการตลาดเพราะคนไม่รู้จักสินค้าของเราก็เลยไม่เดินเข้ามาถามทั้งที่ความจริงสินค้าเรานั้นอาจจะดีกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ขายอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

วิธีแก้ไข เพิ่มประสิทธิภาพในการโปรโมทช่องทางต่างๆให้มากขึ้น รวมถึงมีการจัดร้านให้ดูน่าสนใจ เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้าร้านได้มากขึ้น

9.ลูกค้าไม่ได้อยากซื้อตั้งแต่แรก

3

ปัญหาแบบนี้เกิดจากเราโฟกัสกลุ่มเป้าหมายผิดตั้งแต่ทีแรก หรือเลือกทำเลในการขายที่ไม่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย แม้จะเป็นสินค้าที่ดีแสนดีและน่าสนใจแต่หากเป็นคนที่ไม่ได้อยากซื้อสินค้าแบบนี้ตั้งแต่แรกโอกาสในกาสในการขายก็ยากมากยิ่งขึ้น

วิธีแก้ไข เลือกทำเลในการขายให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า ทำการตลาดให้เจาะกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องจะเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้น

10.ลูกค้าไม่กล้าตัดสินใจซื้อ

1

สินค้าอาจดีจริง แต่ลูกค้าอาจจะไม่ตัดสินใจซื้อ ด้วยเพราะเหตุผลบางประการที่ทำให้ตัดสินใจไม่ได้ในขณะนั้น อาจจะเพราะกังวลว่ามีร้านอื่นที่อาจถูกกว่า , กังวลว่าจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแค่ไหน หรือลูกค้าบางคนอาจจะรอดูสินค้าในช่วงจัดโปรโมชั่นและรอไปซื้อในตอนนั้นมากกว่า

วิธีแก้ไข ร้านค้าต้องมีกลยุทธ์ในการพูดให้ลูกค้าคลายความกังวลใช้กระบวนการขายแบบเข้าอกเข้าใจ (Empathy) โดยเน้นให้พนักงานขายถามคำถามอย่างสุภาพ เพื่อทำความเข้าใจปัญหาและข้อกังวลของลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อที่เราจะได้หาทางแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้ถูกต้อง

ปัจจุบันสินค้าไม่ว่าจะขายอะไรก็ตามมีคู่แข่งจำนวนมาก ลูกค้าก็มีตัวเลือกในการเข้าถึงสินค้าได้มาก การรอให้ลูกค้าเดินเข้ามาหาเราเป็นวิธีการที่ผิด คนทำธุรกิจจำเป็นต้องเข้าหาลูกค้ามากขึ้น ซึ่งการใช้ช่องทางโซเชี่ยลมีเดียคือตัวเลือกที่ดีที่สุด ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงแต่มีประสิทธิภาพมาก ขึ้นอยู่กับวิธีในการใช้ของเราเป็นสำคัญ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3nLX0JJ

อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

กองบรรณาธิการเว็บไซต์

ยินดีสนับสนุน SMEs ไทยทุกแบรนด์ ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็ง อยากเรียนรู้ พัฒนาธุรกิจ ส่งเสริมความเข้าใจในการตลาด มีความคิดสร้างสรรค์ แบ่งปันเพื่อสังคม ต่อยอดธุรกิจ ให้ประสบความสำเร็จในอนาคต