รวม 10 วิธี! พิชิตเป้าหมายในปี 2565
ตั้งใจแต่ไม่เคยทำได้! น่าจะเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่เคยเจอ ช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ความคิดคนส่วนมากต่างมีเป้าหมายให้กับตัวเองว่าปีใหม่นี้ ฉันจะทำอะไร วาดฝันว่าจะต้องสำเร็จแบบไหน แต่จนแล้วจนรอดพอผ่านไปหันมามองดูตัวเองอีกที เป้าหมายคิดไว้ไม่เคยทำได้ ก็วนลูปกันไปอยู่แบบนี้ทุกปี
www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าเรื่องนี้ควรมีสูตรเด็ดเคล็ดลับที่จะพาตัวเราพิชิตเป้าหมายที่ตั้งใจ ปีที่ผ่านไปแล้วให้ผ่านไปลองมาใช้ 10 วิธี พิชิตเป้าหมายในปี 2565 เชื่อว่าเราจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จแน่นอน
ทำไมคนส่วนใหญ่ไปไม่ถึง “เป้าหมาย”
ภาพจาก www.freepik.com
ใน 100 คนจะมีประมาณ 46% เท่านั้นที่ทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ คำถามคือแล้วอีก 54% หายไปไหน เหตุผลที่คนส่วนใหญ่ไปไม่ถึงเป้าหมาย อาจมีด้วยกันหลายสาเหตุ ตั้งแต่การตั้งเป้าหมายที่ใหญ่เกินไป , การตั้งเป้าหมายที่ไม่เคยคิดจะจริงจัง ,ไม่มีความพยายาม , มีความอยากแต่ไม่มีความอดทน เป็นต้น
หลายคนยึดติดกับชีวิตที่เคยเป็นอยู่ พอจะเริ่มทำตามเป้าหมายที่คิดไว้ ก็รู้สึกว่าเป็นเรื่องลำบาก นิสัยผลัดวันประกันพรุ่งก็จะเริ่มเข้ามาแทนที่ เป็นอย่างนี้เรื่อยๆ ไปจนสุดท้ายไม่ว่าจะตั้งเป้าหมายที่ดีเลิศเลอแค่ไหน
สุดท้ายก็ไปไม่ถึงเป้าได้สักที ยิ่งนิสัยคนไทย ที่รักสนุก รักสบาย ยังไงก็ได้ ไม่ค่อยจริงจังกับชีวิต ทำให้เป้าหมายกลายเป็นแค่ความคิดแบบไฟไหม้ฟาง คือฮึกเฮิมแค่ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คำถามคือแล้วถ้าต้องการให้ชีวิตทำตามเป้าหมายที่วางไว้ได้สำเร็จควรยึดหลักอะไรได้บ้าง ลองไปดูกัน
10 วิธีพิชิตเป้าหมายในปี 2565
เป้าหมายของแต่ละคนในปี 2565 อาจแตกต่างกันไป เช่น บางคนอยากมีธุรกิจของตัวเอง , บางคนบอกว่าจะรักสุขภาพให้มากขึ้น เป็นต้น และนี่คือสิ่งที่ควรทำเพื่อไปถึงเป้าหมายได้
ภาพจาก www.freepik.com
1.จดบันทึกทุกการเปลี่ยนแปลง
การไปถึงเป้าหมายที่ตั้งใจไม่ใช่จะไปถึงได้ในทีเดียว ต้องมีขั้นตอน และใช้เวลา ดังนั้นทุกความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เราควรจดบันทึกว่าตอนนี้มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เพื่อให้เรารู้ปัญหาและหาวิธีแก้ไข เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายได้ตามต้องการ เช่นถ้าอยากเก็บเงินให้ได้ 1 แสนบาทภายใน 1 ปี ต้องตั้งเป้าว่าจะเก็บเงินเดือนละเท่าไหร่ จะหาเงินมาเพิ่มอย่างไร และการบันทึกผลในแต่ละเดือนจะทำให้เรารู้ว่าเดือนที่ผ่านมาเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องการอีกเท่าไหร่ และควรพัฒนาวิธีหาเงินอย่างไรต่อไปได้
2.ให้รางวัลตัวเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ
ไม่จำเป็นต้องรอให้ถึงเป้าหมายสุดท้ายในระหว่างทางที่เรากำลังไปถึงเป้าหมาย ก็ควรมีรางวัลให้กับตัวเองเล็กๆน้อยๆ เช่นซื้อของให้ตัวเองที่สามารถเก็บเงินได้ถึง 10,0000 เป็นต้น
ภาพจาก www.freepik.com
3.โฟกัสแต่เป้าหมายที่ต้องการไปถึง
บางคนอาจมีเป้าหมายมากเกินไปจึงทำให้ต้องจัดสรรเวลาในการพาตัวเองไปสู่เป้าหมาย จนสุดท้ายก็เหนื่อยเกินไปและไม่สำเร็จสักอย่าง ทางที่ดีควรโฟกัสแต่เป้าหมายสำคัญที่เราอยากทำจริงๆ แล้วมุ่งมั่นทำให้เต็มที่จะดีกว่า
4.ควบคุมปัจจัยเสี่ยงให้มีผลต่อเป้าหมายน้อยที่สุด
สาเหตุที่ทำให้เราไม่ถึงเป้าหมายส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ดังนั้นเราต้องพยายามควบคุมตัวแปรต่างๆ ให้น้อยที่สุด เช่นถ้าอยากเก็บเงิน 1 แสนใน 1 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องควบคุมคือการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นทั้งหลาย
ภาพจาก www.freepik.com
5.ทำตามเป้าหมายแบบขั้นบันได
การทำตามเป้าหมายก็เหมือนการเดินขึ้นบันได ถ้าเราอยากไปถึงขั้นสูงสุดเราต้องก้าวขึ้นขั้นแรกให้ได้ก่อน ดังนั้นในระยะเวลา 1 ปีควรกำหนดให้ชัดเจนว่า 3 เดือนจากนี้เราควรอยู่ตรงไหน หรือ 6 เดือนต่อจากนี้ควรอยู่ตรงไหน และพยายามไปตามลำดับขั้นนั้น
6.ตอกย้ำเป้าหมายให้เห็นชัดเจน
อาจใช้วิธีเขียนเป้าหมายที่อยากทำให้สำเร็จติดฝาผนังห้องเอาไว้ เพื่อให้เรามองเห็นได้ทุกวันจะได้มีแรงกระตุ้นและไม่ลืมเป้าหมายที่เราตั้งใจจะทำให้ได้ในปีนี้
ภาพจาก www.freepik.com
7.บอกต่อเป้าหมายของเราให้คนอื่นรู้
การแชร์เป้าหมายของเราให้คนรอบตัวรู้ หรือบอกคนในครอบครัวให้รับทราบ ในอีกด้านหนึ่งอาจเป็นการสร้างแรงกดดันให้กับตัวเอง แต่มันก็คือข้อดีที่จะทำให้เรามีแรงกระตุ้นเพื่อไม่ให้คนอื่นสบประมาทเราได้
8.ใช้เทคโนโลยีช่วยให้ถึงเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของยุคนี้คือการมีแอพพลิเคชั่นหลากหลาย เช่นคนที่อยากหุ่นดี ลดน้ำหนัก ก็ติดตั้งแอพที่เกี่ยวข้องได้ หรือคนที่อยากเก็บเงินให้ได้ตามเป้าหมาย ก็มีแอพพลิเคชั่นหลายรูปแบบทั้งช่วยหารายได้เพิ่มและวางแผนการเก็บเงินให้กับตัวเรา ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวเราเองด้วยว่าจะพยายามได้แค่ไหน
ภาพจาก www.freepik.com
9.ไม่ต้องสนคำวิจารณ์ของคนอื่น
หลายครั้งที่คำวิจารณ์หรือคำพูดของคนอื่นทำให้เราโลเลและหลุดออกจากเป้าหมายที่ตั้งใจ เช่นบางคนตั้งใจลดน้ำหนักให้ได้ แต่คนอื่นกลับวิจารณ์ว่าเราคงทำไม่ได้ หรือจะทำไปเพื่ออะไรยังไงก็ไม่มีอะไรดีขึ้นเป็นต้น อย่างแรกเราต้องมั่นใจในสิ่งที่เราคิดอย่าเอาคำพูดคนอื่นมาให้เป้าหมายเปลี่ยนไป
10.รู้ตัวว่าหลุดจากเป้าหมาย ต้องรีบกลับสู่เส้นทางให้เร็วที่สุด
การจะเดินไปถึงเป้าหมายเราต้องผ่านอุปสรรคหลายอย่าง บางทีเราอาจหลุดเป้าหมายในระหว่างทาง สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ตัวให้ไว และกลับสู่เส้นทางที่ควรจะเป็นให้เร็วที่สุด หากปล่อยให้หลุดจากเส้นทางไปเรื่อยๆ สุดท้าย เป้าหมายที่ตั้งใจไว้ก็คงไปไม่ถึงเหมือนเดิม
ทั้ง 10 วิธี พิชิตเป้าหมายในปี นี้คือไกด์ไลน์ที่จะพาเราพิชิตเป้าหมายได้ตามต้องการ แต่ไม่ว่าจะมีสูตรเด็ดเคล็ดลับแค่ไหน สำคัญที่สุดคือตัวเราเอง ถ้าไม่พยายาม ไม่ตั้งใจจริง สุดท้ายเป้าหมายตั้งใจก็เป็นได้แค่ความคิดที่ไม่อาจจับต้องให้เป็นจริงได้ และเมื่อวนมาถึงปีใหม่ก็ต้องมาตั้งใจกันไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเหมือนเดิม
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3qJR8RE , https://bit.ly/3qJvtJ5
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3qvNJah
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)