รวม 10 กลยุทธ์จัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า “แบบไม่ลดราคา”
หลังจากโควิดเริ่มคลี่คลาย ตอนนี้คนไทยส่วนใหญ่เริ่มกลับมาใช้ชีวิตปกติมากขึ้น นั่นรวมถึงบรรดาร้านค้า ร้านอาหาร และกิจการต่างๆ ที่ตั้งเป้าว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ จะเร่งฟื้นฟูและสร้างรายได้เพื่อชดเชยกับช่วงเวลาที่เสียไป ซึ่งแน่นอนว่าวิธีที่ดีที่สุดในการดึงดูดลูกค้าคือการ “จัดโปรโมชั่น”
แต่ www.ThaiSMEsCenter.com มองว่าการจัดโปรโมชั่นที่เราคิดกันไม่จำเป็นต้อง “ลดราคา” เพียงอย่างเดียว ยังมีวิธีจัดโปรโมชั่นน่าสนใจอีกหลายอย่างที่เราไม่ต้องลดราคาสินค้าแต่สามารถเพิ่มยอดขายได้ดียิ่งกว่าเดิม
ข้อเสียของการจัดโปรโมชั่น “ลดราคา”
การจัดโปรโมชั่นลดราคาอาจเป็นวิธีที่ง่ายและหลายคนคิดว่าได้ผลมากที่สุด ในแง่ของปริมาณการขายอาจจะใช่ แต่ในแง่ของรายได้ที่ร้านค้าจะได้รับบางทีก็สวนทาง ยิ่งการลดราคามากเท่ากับว่ากำไรที่เราจะได้ก็ลดลงเช่นกัน แถมยังมีโอกาสทำให้แบรนด์เราดูด้อยคุณภาพ และยังไม่รวมพวกลูกค้าที่มักรอเวลาซื้อสินค้าตอน “ลดราคา” เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้การลดราคายังไม่กระทบถึงความเชื่อมั่นและไว้ใจของลูกค้าเพราะส่วนใหญ่ก็ต้องคิดว่าสินค้าที่เอามาลดราคาจะเป็นสินค้าที่ดีจริงหรือค้างสต็อค หรือการลดราคาในส่วนนี้อาจไปกระทบถึงคุณภาพในการผลิต เป็นสินค้าเกรดรอง ในขณะที่ร้านค้ามีลูกค้าเพิ่มขึ้นจากการลดราคาแต่ก็อาจทำให้สูญเสียความไว้ใจได้ในระดับหนึ่งด้วย
รวม 10 กลยุทธ์จัดโปรโมชั่นเรียกลูกค้า “ แบบไม่ลดราคา ”
1.นำเสนอข้อมูลที่กระตุ้นความ “รู้สึก” ของคน
บางทีการตลาดที่เพิ่มยอดขายไม่จำเป็นต้องเป็นโปรโมชั่นเสมอไป การทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงปัญหา เสนอวิธีแก้ปัญหา หรือทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ก็สามารถเพิ่มยอดขายและทำให้ลูกค้านึกถึงธุรกิจเราได้ ยิ่งในสถานการณ์โควิดระบาด ข้อมูลหลายอย่างมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้า เช่น การโพสต์ขายสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการ ที่บรรเทาความเครียด เป็นสินค้าที่ช่วยให้ลูกค้ารู้สึกปลอดภัย
ยกตัวอย่างเซเว่นอีเลฟเว่น ทำคอนเทนต์ “7 Tips ป้องกันไวรัส Covid-19” เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ให้นำไปปฏิบัติตามได้ ซึ่งก็เข้ากับสถานการณ์ตอนนั้นมาก ๆ นับว่าเป็นการวางแผนโปรโมชั่น ที่ก่อให้เกิดทั้งการสร้างความรู้ ควบคู่ไปกับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของแบรนด์ได้อีกด้วย
2.กำหนดราคา “ด้วยจิตวิทยา”
หลักการตั้งราคาที่ดึงดูดลูกค้าให้สนใจสินค้าไม่จำเป็นต้องลดราคาอย่างเดียว ทฤษฏีจิตวิทยากล่าวว่า สมองของคนส่วนใหญ่ เวลามองป้ายต่าง ๆ จะอ่านจากซ้ายไปขวา ดังนั้น การกำหนดราคาสินค้าต่าง ๆ ในร้านค้าจึงควรใช้ป้ายราคาในการกำหนดตัวเลขเพื่อใช้จิตวิทยากับลูกค้า
ยกตัวอย่าง สินค้าราคาปกติราคา 30 บาท คนที่มองป้ายราคาก็จะเห็นเลข 3 ก่อนเป็นอันดับแรก ก็จะคิดแล้วว่าราคามันอยู่ที่หลัก 3 ขึ้นไป แต่ถ้าเราเปลี่ยนจากเลข 3 ไว้ข้างหน้าไปเป็นเลข 2 แทน โดยกำหนดราคาไว้ที่ 29 บาท ทั้งที่จริง ๆ แล้วมันราคาต่างกันแค่ “บาทเดียว” แต่ความรู้สึกเวลาคนมองไปที่ป้ายราคาก็จะคิดว่าราคามันอยู่ที่หลัก 2 มากกว่าอยู่ดี การใช้วิธีนี้จะทำให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
3.การขายสินค้าแบบมีเงื่อนไข
ถ้ายังมองว่าการลดราคาคือวิธีกระตุ้นการซื้อที่ดีที่สุด วิธีนี้อาจจะเหมาะกับคนที่อยากลดราคาแบบไม่กระทบต่อรายได้ของธุรกิจ เรียกว่าเป็นการขายแบบมีเงื่อนไข ไม่ใช่การลดราคาเพียงอย่างเดียว
หลักการของวิธีนี้คือการนำเสนอส่วนลดที่น่าสนใจได้ดีแถมยังดึงดูดให้ลูกค้าใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อจะได้รับข้อเสนอที่ดีกว่าเดิมอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น โปรโมชั่นซื้อครบ 500 บาท ได้รับส่วนลด 20% ซึ่งการใช้โปรโมชั่นแบบนี้จะช่วยให้ลูกค้าซื้อของให้ครบ 500 มากขึ้น เพื่อที่จะได้รับส่วนลด 20% นั่นเอง
4.ให้ความมั่นใจในการ “รับคืน” สินค้า
จุดอ่อนของการขายคือส่วนใหญ่ซื้อแล้วไม่รับคืนสินค้าในกรณีที่สินค้าไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นคนซื้อส่วนใหญ่จึงมีความลังเลส่วนหนึ่งก็ชะลอการซื้อไว้ก่อนจนกว่าจะมั่นใจ ดังนั้นหากไม่ใช่การลดราคา ร้านค้าอาจใช้วิธีให้ความมั่นใจในการรับคืนสินค้า
โดยผลวิจัยจาก UPS Pulse of the Online Shopper™ ระบุว่า 73% ของผู้ซื้อบอกว่าประสบการณ์การคืนสินค้าที่ร้านค้าปลีก จะส่งผลต่อความเป็นไปได้ที่จะซื้อสินค้าซ้ำอีก นั่นหมายความว่าถ้าลูกค้ามั่นใจว่าร้านนี้ สามารถรับคืนสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน จะทำให้ตัดสินใจซื้อได้เร็วขึ้น และยังทำให้ลูกค้าประทับใจกลายเป็นลูกค้าประจำ และอาจจะบอกต่อให้คนรู้จักมาเป็นลูกค้าที่ร้านค้าของอีกด้วย
5.ไม่มีส่วนลด แต่เพิ่ม “บริการพิเศษ”
การลดราคาอาจไม่ใช่สิ่งที่ลูกค้าต้องการเสมอไป บางทีบริการพิเศษ หรือการได้รับสิ่งที่มากกว่าราคาสินค้าที่จ่ายไปจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจได้ ยกตัวอย่างเช่น บริการจัดส่งฟรีถึงบ้าน ยิ่งช่วงที่ผ่านมาผู้คนไม่ค่อยอยากออกจากบ้านกัน
ก็เลยเลือกที่จะช้อปปิ้งออนไลน์มากกว่า การขนส่งจึงเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ถ้าเราเพิ่มโปรโมชั่นนี้เข้าไปมันอาจจะช่วยกระตุ้นยอดขายให้ได้ หรือบริการติดตามดูแลสินค้าให้ฟรีหลังการซื้อขาย ก็จะช่วยทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า แม้จะไม่ลดราคาแต่ก็ได้สิทธิพิเศษที่ดีไม่แพ้กัน
6. การขายสินค้าแบบ Up-selling
Up-selling คือ การเพิ่มยอดขายที่ซับซ้อน เพราะมันเป็นการเน้นขายสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงกว่าอีกชิ้นในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งสินค้านั้นจะต้องมีความพิเศษกว่าสินค้าที่ลูกค้ากำลังตัดสินใจอยู่ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ขายคือ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า การเพิ่มเงินซื้อสินค้าเพียงไม่กี่บาท ทำให้ได้สินค้าพรีเมี่ยมกว่า ได้โดยไม่รู้สึกเสียดายที่จะจ่ายเงินเพิ่มซึ่งมันก็สามารถทำได้หลากหลายวิธีด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น การให้พนักงานคอยให้คำแนะนำและโน้มน้าวใจลูกค้าให้ซื้อสินค้าอีก 1 ชิ้นในราคาที่ถูกกว่า , การจัดโปรโมชั่น ซื้อ 3 แถม 1 หรือการจัดเซ็ทสินค้าแบบครบครันในราคาที่ถูกกว่า เป็นต้น
7. ซื้อ 1 ฟรี 1
พลังของคำว่า “ฟรี” มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากๆ ข้อดีของการซื้อ 1 ฟรี 1 คือทำให้ขายสินค้าได้มากขึ้นและอาจช่วยระบายสินค้าในสต็อคที่คงอยู่ออกไปได้มากขึ้น โดยสินค้าที่แถมฟรีอาจไม่ใช่สินค้าที่ขาย
แม้คนส่วนใหญ่มองว่าวิธีการทำตลาดแบบบนี้ไม่ต่างกับการขายสินค้าลดราคา 50% แต่ที่จริงมีความแตกต่างแต่ก็มีข้อระวังคือ โปรโมชั่นแบบนี้ไม่ควรทำบ่อยๆ เพราะลูกค้าบางคนจะรอแค่ช่วงเวลาจัดโปรโมชั่นเท่านั้น
8.กดไลค์ กดแชร์ผ่านโซเชี่ยล
การทำธุรกิจยุคนี้ตลาดออนไลน์สำคัญมาก เราไม่จำเป็นต้องลดราคาหน้าร้าน ก็มีวิธีเพิ่มยอดขายได้ อย่างเช่นการให้ลูกค้า กดไลค์ กดแชร์ผ่านโซเชี่ยล เพราะคนเดี๋ยวนี้ส่วนใหญ่มีแพลตฟอร์มโซเชี่ยลของตัวเองการที่เรามีหน้าร้านในโลกโซเชี่ยลจะทำให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้า ดูราคา ติดตามโปรโมชั่น ข่าวประชาสัมพันธ์ต่างๆ จากทางร้านได้ง่ายยิ่งขึ้น เหมือนเรานำสินค้ามาโชว์ผ่านตาลูกค้าที่กดติดตามร้านของเราได้ทุกวัน ยิ่งเห็นสินค้าบ่อยเท่าไหร่ โอกาสจะซื้อสินค้าก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนี้เรายังสามารถจัดโปรโมชั่นกระตุ้นยอดขายได้แบบง่ายๆ เช่น ให้ลูกค้ากดไลค์แฟนเพจทาง Facebook หรือแอดไลน์ ของร้านค้าเพื่อรับส่วนลดพิเศษในการซื้อสินค้าภายในร้าน หรือกดแชร์โปรโมชั่นประจำเดือนเพื่อรับรางวัลพิเศษ เป็นต้น
9.โปรโมชั่นสะสมแต้ม แลกรับรางวัลหรือส่วนลด
วิธีนี้ไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่ เราเห็นตามร้านเครื่องดื่มส่วนใหญ่ทำกันอยู่กับการแจกบัตรสะสม ครบ 10 แก้วฟรี 1 แก้ว เป็นต้น แต่ที่จริงกลยุทธ์นี้เอาไปใช้ได้กับร้านค้าอื่นๆ ด้วย วิธีก็ง่ายๆ เพียงให้ลูกค้าซื้อสินค้าของทางร้านก็จะได้รับบัตรสะสมแต้ม และได้รับแต้มตามที่ร้านกำหนด การได้รับแต้มของแต่ละร้านจะแตกต่างกัน แล้วเมื่อสะสมแต้มครบที่กำหนด ลูกค้า สามารถแลกเป็นส่วนลด หรือรับรางวัลพิเศษได้
ถ้านึกภาพไม่ออกลองนึกถึง การสะสมแสตมป์เซเว่นที่เราคุ้นเคยกันดี เมื่อซื้อสินค้าครบ 50 บาท เราจะได้รับแสตมป์หนึ่งบาทหนึ่งดวง เมื่อสะสมครบตามข้อกำหนดก็สามารถแลกรับของต่างๆ ตามข้อกำหนดไปได้ หรือเอาแต้มนั้นไปเป็นส่วนลดในการซื้อสินค้า เป็นต้น
10.เกมส์ชิงโชค ลุ้นรางวัล
การเสี่ยงโชคกับคนไทยเป็นของคู่กัน ถ้าเราไม่จัดโปรโมชั่นลดราคา ก็สามารถเลือกวิธีนี้ได้ สำคัญคือไอเดียที่จะนำมาใช้ต้องมีความน่าสนใจจริงๆ ซึ่งวิธีการชิงโชคนั้นสามารถจัดได้หลายรูปแบบต่างกันไป
เช่น หากเราเป็นเจ้าของร้านอาหาร ก็อาจจัดโปรโมชั่นฉลองครอบรอบการเปิดร้านด้วยการให้ลูกค้าที่มียอดค่าอาหาร 500 บาทขึ้นไปได้รับสิทธิ์ลุ้นจับรางวัลบัตรรับประทานอาหารฟรีหรือได้รับส่วนลดในการมาใช้บริการในครั้งต่อไป หรือจะเป็นร้านขายเฟอร์นิเจอร์จัดโปรโมชั่นพิเศษสิ้นปี ด้วยการให้ลูกค้าลงชื่อเพื่อลุ้นรางวัลใหญ่เป็นเฟอร์นิเจอร์ห้องนอนครบชุดส่งถึงบ้านแบบฟรีๆ เป็นต้น
วิธีนี้จะช่วยดึงดูดลูกค้าให้เกิดความสนใจและทำให้ลูกค้าติดตามการอัพเดตโปรโมชั่นใหม่ๆ ของร้านมากขึ้น ข้อดีอีกอย่างของวิธีนี้คือให้ลูกค้าลงข้อมูลก่อนชิงโชค ก็จะทำให้ทางร้านได้รับข้อมูลช่องทางติดต่อต่างๆ ของลูกค้าเพื่อใช้ในการติดต่อหรือประชาสัมพันธ์ร้านในครั้งต่อไปอีกด้วย
อย่างไรก็ดีการเลือกวิธีทำโปรโมชั่นแบบไหนก็ตาม ต้องดูความสมเหตุสมผล และคำนวณว่าธุรกิจเราจะได้รับผลจากโปรโมชั่นนี้มากน้อยอย่างไร การเพิ่มยอดขายด้วยโปรโมชั่น จึงเหมาะกับธุรกิจที่มีการวางแผนบริหารจัดการมาเป็นอย่างดี บางธุรกิจเน้นจัดโปรโมชั่นมากไป แม้จะขายดี แต่บางทีก็ทำให้ธุรกิจไม่มีกำไรได้เช่นกัน
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3m0yVOA
อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)