รวม 10 Sales CRM บริหารงานขาย น่าใช้ที่สุดในไทย
เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป การแข่งขันทางธุรกิจก็เปลี่ยนตาม ยุคนี้จำเป็นมากที่ต้องใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ซึ่งโปรแกรม CRM (Customer Relation Management) www.ThaiSMEsCenter.com มั่นใจว่าคนทำธุรกิจต่างเลือกใช้แพร่หลาย มีข้อดีคือเพื่อให้บริการลูกค้าได้พอใจมากขึ้น และยังเป็นเครื่องมือในการ บริหารงานขาย ให้มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้จัดการสามารถคาดการณ์ วางแผน และ สั่งงานได้อย่างรวดเร็ว
ทั้งนี้โปรแกรม CRM ที่ดีและถูกใช้งานโดยพนักงานในองค์กรอย่างเคร่งครัดและมีวินัยจะทำให้ทีมขายและทีมการตลาดสามารถติดตามสถานะการขายได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง แถมยังเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ว่าลูกค้าคนไหนสามารถขายเพิ่มหรือกลับไปขายใหม่ได้ ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรม CRM ให้เลือกใช้บริการจำนวนมาก ลองไปดูว่ามีแบบไหนที่น่าสนใจบ้าง
1. Hubspot
ภาพจาก https://bit.ly/3WU6D8l
โดยบริษัท เอาเวอร์ กรีนฟิช จำกัดให้บริการด้านการพัฒนาระบบเว็บไซต์และยังให้บริการด้านออนไลน์แบบครบวงจร มี Business CRM Starter ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบริการของ Hubspot ที่ช่วยจัดการฐานข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการประกอบธุรกิจให้จัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบเเละสามารถพัฒนา หรือต่อยอดธุรกิจได้ มีประโยชน์หลากหลายเช่นการทำการตลาด , ช่วยงานขายเเละจัดการงานขาย ,บริการหลังการขาย ,บริการจัดการข้อมูล เหมาะกับผู้ที่พึ่งเริ่มต้นธุรกิจ หรือธุรกิจที่กำลังเติบโต เพื่อให้คุณสามารถดำเนินธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ICM Group
ภาพจาก https://bit.ly/3QDGOHt
เป็นผู้เชี่ยวชาญและพัฒนา CRM sales solution ด้านงานขายครบวงจรมาอย่างต่อเนื่อง มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้ธุรกิจลูกค้าก้าวตามโลกได้ทัน รวมถึงการพัฒนา BOT เพื่อช่วยในกระบวนการทำงานให้คล่องตัว มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบ โปรแกรมไอสมาร์ทเซล เป็น one stop service solution for CRM Sales process มีเป้าหมายคือการรวบรวมระบบที่สร้างยอดขายและช่วยให้กระบวนบริหารงานขายได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จุดเด่นของระบบ คือใช้งานได้แม้ไม่มีสัญญาณอินเทอร์เนต ,สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกเวลา และยังเชื่อมต่อกับระบบบัญชีที่ต้องการใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. JUBILI by BUILK
ภาพจาก https://bit.ly/3GZuLAY
JUBILI by BUILK หนึ่งในโซลูชั่นเพื่อเปลี่ยนวงการก่อสร้าง จาก บิลค์ เอเชีย ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ BUILK.COM ระบบบริหารธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอันดับหนึ่งในอาเซียน และผู้ให้บริการอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ในวงการก่อสร้าง เป็นระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management หรือ CRM) ร่วมกับ ระบบบริหารงานขาย (SaleForce Automation หรือ SFA) ที่ออกแบบมาสำหรับ ร้านวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะ ช่วยให้ ร้านวัสดุก่อสร้างทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และก้าวเข้าสู่การขายวัสดุก่อสร้างออนไลน์ได้เป็นอีกหนึ่งโปรแกม CRM ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมอย่างมาก
4. Zoho CRM
ภาพจาก https://bit.ly/3GGQhJg
Zoho CRM มาจาก บริษัท Zoho ที่มีชื่อเสียงด้านการให้บริการโซลูชั่นทางธุรกิจ จุดเด่นที่น่าสนใจของ Zoho CRM คือการทำงานผ่าน Facebook, Twitter และ Google+ เป็นหลัก แต่ระบบ CRM พื้นฐานของ Zoho สามารถใช้งานร่วมกับแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้เช่น โปรแกรม Slack, Zapier และ Zendesk โดยผู้ใช้งานสามารถคัดกรองข้อมูลโซเชียลมีเดีย เพื่อดึงกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าออกมาได้ และนำเข้าสู่ระบบของแพลตฟอร์มหลักต่อไป มุ่งเน้นที่การเพิ่ม Lead หรือกลุ่มลูกค้าใหม่ จึงมีฟังก์ชันอัตโนมัติในการเพิ่ม Lead ตามที่กำหนดไว้ โดยสามารถกำหนดและระบุลูกค้าเป้าหมายคุณภาพสูงได้จากข้อมูลจำเพาะ เพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้มากขึ้น
5. Salesforce.com
ภาพจาก https://sforce.co/3ZvBBFB
Salesforce.com ได้รับการยกย่องว่าเป็น สุดยอดโปรแกรม CRM ซึ่ง Salesforce มีทุกสิ่งทุกอย่างที่ CRM ควรจะมี ตั้งแต่ระบบการกรอกข้อมูลของลูกค้า ระบบบันทึกสถานะติดตามงานแบบโทรศัพท์หรือทำนัดหมาย แอพพลิเคชั่นมือถือที่มีระบบแจ้งเตือนสำหรับการวางแผนติดตามงานที่คุณบันทึกเอาไว้ เป็นต้น ที่สำคัญคืออยู่ในระบบคลาวด์ (Cloud) ซึ่งทุกอย่างที่บันทึกจะอยู่บนอากาศ ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกพื้นที่ที่มีอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ดี Salesforce.com มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานที่ค่อนข้างสูง แต่ก็มีประสิทธิภาพมาก
6. Pipedrive
ภาพจาก https://bit.ly/3ZwUGHq
ถือเป็นโปรแกรม CRM ที่มีฟังก์ชั่นในการใช้งานไม่ต่างจาก Salesforce มากนัก โดยจุดเด่นที่สุดของ Pipedrive ที่ทำให้หลายธุรกจหันมาเลือกใช้ก็คือ “ราคา” จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ยังคงต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ต้องการยกระดับการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพซึ่งในแง่ของคุณภาพ Pipedrive อยู่ในระดับมาตรฐานโลก Pipedrive เช่นกัน ดังนั้นเป็นอีกทางเลือกสำหรับในการเลือกใช้งานที่ขึ้นอยู่กับความต้องการของธุรกิจเป็นสำคัญด้วย
7. Nimble
ภาพจาก https://bit.ly/3X7BBdh
CRM ของ Nimble ออกแบบให้ทำงานได้ดีควบคู่กับโปรแกรม Microsoft เกือบทั้งหมด รวมถึงโซเชียลมีเดียอย่าง Twitter, Facebook, AngelList, Instagram, Foursquare และ Google+ ด้วย นอกจากนี้ Nimble ยังสามารถค้นหาและเชื่อมโยงบัญชีต่าง ๆ ในโซเชียลมีเดียได้โดยอัตโนมัติ ทั้งกลุ่ม Lead หรือว่าที่ลูกค้าใหม่และกลุ่มที่เป็นลูกค้าเดิม โดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาเพิ่มความสามารถในการจัดรายละเอียดสำหรับการติดต่อระบบภายในของ CRM และยังมีฟังก์ชันการค้นหาที่สามารถจัดเรียงข้อมูลผู้ติดต่อได้ตามกิจกรรมและสถานะการเชื่อมต่อ หรือใช้สถิติจากการติดตามและสถิติของผู้ติดตาม ซึ่งเป็นระบบจัดการที่ดีและมีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยละเอียดด้วย
8. Sprout Social
ภาพจาก https://bit.ly/3IL5Nq9
จุดเด่นที่น่าสนใจของ Sprout คือการรวบรวมบัญชีจาก Twitter, Facebook, Instagram, LinkedIn, Pinterest และ Google+ มาไว้ที่เดียว สามารถกำหนดเวลาโพสต์ในโซเชียลมีเดียได้หลายช่องทาง พร้อมทั้งติดตามการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่เกิดขึ้นพร้อมกันได้หลายบัญชี มี Smart Inbox ที่รวบรวมประวัติการสนทนาทั้งหมดและการแชทโต้ตอบกันในโซเชียลมีเดียไว้ได้ทั้งหมด พร้อมทั้งจำแนก Contact ไว้แต่ละรายด้วย นอกจากนี้ Sprout ยังช่วยให้ระบบจัดการงานให้ลื่นไหลแบบอัตโนมัติ และมีระบบแชทบอต มีฟีเจอร์สำหรับการทำงานร่วมกันในทีม ซึ่งรวมถึงการมอบหมายหน้าที่และจัดลำดับความสำคัญของงาน จากนั้นจะมีสรุปรายงานทั้งการโพสต์และโฆษณา รวมถึงประเมินประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของทีมด้วย
9. eClincher
ภาพจาก https://bit.ly/3QF2dQA
เหมาะสมในการดันยอดขายและเพิ่มค่า ROI ครอบคลุมช่องทางโซเชียลมีเดีย ทั้ง Facebook, Twitter, Instagram LinkedIn, YouTube, Pinterest ช่วยให้จัดการเรื่องการรับมือกับลูกค้าทั้งหมดได้อย่างดี และยังมีเครื่องมือตรวจสอบคำหลักและแฮชแท็กซึ่งสามารถแปลออกมาเป็นการสนทนาและการมีส่วนร่วมใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ eClincher ยังสามารถเชื่อมต่อแบรนด์ของอินฟลูเอ็นเซอร์ หรือแนะนำเนื้อหาคอนเทนต์ เพื่อให้เราวางแผนการโพสต์ด้วยตัวเอง พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการสื่อ และการทำงานร่วมกันกับฟีเจอร์อื่น ๆ ด้วย
10. Agorapulse
ภาพจาก https://bit.ly/3k3SSoW
Social CRM แบบบิวท์อินเป็นฟีเจอร์หลักของ Agorapulse ที่สามารถควบรวมโปรไฟล์สาธารณะเข้ากับบันทึกส่วนตัว ผ่าน ระบบ Contact Card และการติดป้ายฉลากกำกับแบบอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือช่วยในการจัดการเรื่องการเผยแพร่โพสต์ เก็บข้อมูลการมีส่วนร่วม และความคิดเห็นทั้งหมดของลูกค้าไว้ใน Inbox เดียวกัน โดยวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถเรียกใช้ระบบผู้ช่วย Inbox อัตโนมัติได้อีกด้วย
อย่างไรก็ดีการเลือกโปรแกรม CRM มาใช้ต้องให้เหมาะสมกับธุรกิจที่ตัวเองมี แม้จะเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์ช่วยยกระดับธุรกิจให้มีความเป็นมืออาชีพ ลดขั้นตอนความยุ่งยากได้มาก แต่เหนือสิ่งอื่นใดกลยุทธ์ด้านการตลาด คุณภาพสินค้า การบริหารจัดการองค์กรในด้านอื่น ก็ล้วนแต่สำคัญและจำเป็นสำหรับการทำธุรกิจในยุคนี้ด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3WU6D8l , https://bit.ly/3X5QUTU , https://bit.ly/3QzTDm6 , https://bit.ly/3IBPNqz , https://bit.ly/3X2a8tv , https://bit.ly/3ZpD93U , https://bit.ly/3Xj3A9w , https://bit.ly/3W6ZoZs , https://bit.ly/3D23v2v
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3IUpY5k
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)