ย้อนอดีต! แฟรนไชส์ Ice Monster หนุ่ม กรรชัย

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ในรายการโหนกระแส โดยพิธีกรหนุ่ม กรรชัย ได้มีการเชิญผู้เสียหายจากกรณีร้านแฟรนไชส์ “ดารุมะ” บุฟเฟต์อาหารญี่ปุ่น หลังจากเจ้าของร้านจัดโปรโมชั่นขายคูปองในราคาถูก สุดท้ายก็ชิงปิดร้านหอบเงินหนีไปต่างประเทศ สร้างความเสียหายให้กับผู้ซื้อแฟรนไชส์และผู้บริโภคจำนวนมาก

วันดังกล่าวคุณหนุ่ม กรรชัย ได้พูดถึงแบรนด์แฟรนไชส์ที่ตัวเองนำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ คือ “Ice Monster” เป็นกรณีตัวอย่างให้ผู้ร่วมรายการฟังด้วย โดยช่วงนำเข้ามาใหม่ๆ Ice Monster ถือเป็นแบรนด์ไอศกรีม น้ำแข็งไสหรือบิงซูแรกๆ ในเมืองไทยที่ได้รับความนิยมในหมู่บรรดาวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา เป็นอย่างมากจนมีการพูดถึงปากต่อปาก

แฟรนไชส์ Ice Monster

ภาพจาก https://bit.ly/3Emnfxg

หลังจากนั้นไม่นานคุณหนุ่ม กรรชัย ซึ่งเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนในการนำเข้าแบรนด์ แฟรนไชส์ Ice Monster มาเปิดในประเทศไทย ได้ถูกคนที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนถอดชื่อออกจากการเป็นหุ้นส่วนโดยไม่ได้บอกกล่าวใดๆ จนกลายเป็นคดีฟ้องร้องกันครั้งใหญ่ จนทำให้คนดูรายการโหนกระแส ถึงกับโพสต์ข้อความความ “คิดถึง” และอยากให้คุณหนุ่ม กรรชัย เปิดอีกครั้ง

สำหรับใครอยากรู้เรื่องราวและความน่าสนใจของ Ice Monster วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลมานำเสนอให้ทราบครับ

จุดเริ่มต้น แฟรนไชส์ Ice Monster ในเมืองไทย

แฟรนไชส์ Ice Monster

ภาพจาก https://bit.ly/3UQLdIc

จากข้อมูลจะพบว่าร้านแฟรนไชส์น้ำแข็งไส Ice Monster เปิดให้บริการเป็นครั้งแรกในช่วงเดือนกรกฎาคม 2549 บริเวณสยามสแควร์ ซอย 11 มีจุดเด่นเป็นขนมหวานแบบของว่าง รสชาติเย็นๆ คล้ายน้ำแข็งไส แต่มีเนื้อที่ละเอียดและนุ่มกว่า อีกทั้งยังมีน้ำเชื่อมเป็นสูตรเฉพาะของทางร้าน เหมาะกับประเทศไทยที่มีอากาศร้อน จนทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก

ร้าน Ice Monster นำเข้ามาโดยบริษัท ไอ ดู ไอซ์ จํากัด ผู้ถือสิทธิ์การให้บริการไอซ์มอนสเตอร์ในประเทศไทย โดยคุณหนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย เปิดเผยในช่วงแรกๆ ว่า เพิ่งเปิดได้สักระยะหนึ่ง คิดว่าลูกค้ามีความสุขกับการทานขนมหวานน้ำแข็งใส

ความแปลกใหม่ของทางเลือกที่ร้านมีบริการ อาทิ น้ำแข็งที่ไม่เหมือนใคร แบบป่นละเอียดมากๆ เหมือนเกล็ดหิมะ ผลไม้ตามฤดูกาล และน้ำเชื่อมก็เป็นสูตรเฉพาะที่ได้ลิขสิทธิ์จากฟิลิปปินส์ ด้วยการนำเสนอรูปแบบที่โดดเด่น คุณภาพของวัตถุดิบที่ใช้ รวมทั้งรสชาติที่แตกต่าง เรียกว่า ทานได้ทุกเพศทุกวัย และ ถูกปากแน่นอน

แฟรนไชส์ Ice Monster

ภาพจาก https://bit.ly/3tDKwWT

สำหรับ Ice Monster ร้านขนมหวานน้ำแข็งใส และของว่างรสชาติหวานๆ เย็นๆ ในช่วงที่ยังไม่หายไปจากตลาดเมืองไทย ได้มีการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์กว่า 45 สาขา ในทำเลห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่เมืองท่องเที่ยวใหญ่ๆ

โดยรูปแบบการลงทุนเปิดร้านแฟรนไชส์ Ice Monster มี 2 รูปแบบ คือ Shop และ Kiosk

  • ขนาดพื้นที่ (ต่อ 1 สาขา) 15-30 ตารางเมตร
  • งบประมาณการลงทุน เริ่มต้น 1.7 – 2.5 ล้านบาท

ลักษณะพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเปิดสาขา ได้แก่ Mega Store/ Department Store (ห้างสรรพสินค้า) ที่มีกำลังซื้อสูง, Entertainment Complex (แหล่งรวมความบันเทิง) และ Trendy Meeting Mall (แหล่งพบปะสังสรรค์ที่ทันสมัย)

นั่นคือ เรื่องราวและความน่าสนใจของอดีต แฟรนไชส์ Ice Monster ร้านขนมหวานน้ำแข็งใส และของว่างรสชาติหวานๆ เย็นๆ ที่แฟนคลับหลายๆ คนอยากให้ “คุณหนุ่ม กรรชัย” นำกลับเข้ามาเปิดให้บริการอีกครั้ง

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3EM8iGs


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช