ย่างเนย บุฟเฟต์กระทะร้อน ที่สร้างขึ้นด้วยหนุ่มวัย 23 ปี
การเริ่มต้นธุรกิจใดๆ ไม่มีคำว่าง่าย คนที่ประสบความสำเร็จในวันนี้ก็ล้วนแต่เคยผิดหวัง ล้มเหลวกันมาทั้งนั้น สิ่งสำคัญคือการนำเอาประสบการณ์ที่ได้ มาปรับปรุงพัฒนาและลุกยืนขึ้นอีกครั้ง เพื่อก้าวไปข้างหน้าให้ไกลยิ่งกว่าเดิม
หลายคนอาจจะเคยรู้จัก “ย่างเนย” ที่ได้ชื่อว่าเป็นร้านปิ้งย่าง บุฟเฟต์กระทะร้อน อันดับต้นๆของเมืองไทย แต่กว่าที่จะมีทุกวันนี้ไม่ใช่เรื่องที่ทำครั้งแรกแล้วดีทันที ก่อนหน้านี้ในวัย 23 ปีเคยเกือบเจ๊งกับธุรกิจที่ทำก่อนหน้า และตัดสินใจเปลี่ยนแนวคิดใหม่เสี่ยงดวงลุยสร้างธุรกิจปิ้งย่าง จนวันนี้ประสบความสำเร็จ
www.ThaiSMEsCenter.com มองเห็นเทคนิคและเคล็ดลับรวมถึงไอเดียที่น่าสนใจซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ให้คนที่อยากมีธุรกิจของตัวเองแต่ยังไม่รู้จะเริ่มอย่างไรได้ลองศึกษาเรื่องนี้เพื่อเพิ่มแรงบันดาลใจให้ตัวเองได้มากขึ้น
“จะทำหรือไม่ทำ” ความคิดเริ่มต้นสู่แบรนด์ “ย่างเนย” ร้านปิ้งย่างชื่อดัง
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
เจ้าของแบรนด์ “ย่างเนย” คือคุณไมค์ ชนะสิทธิ์ แสงรุ่งคงคา ที่เริ่มต้นธุรกิจกับพี่ชายเปิดร้านขายแอลกอฮอลล์ควบคู่กับขายเนื้อย่างอยู่แถวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แต่ผลตอบแทนที่ได้รับไม่เป็นเหมือนความคิดที่วางไว้ ยอดขายของร้านไม่เติบโต มีแต่ทรงกับทรุด แย่ถึงขนาดที่คิดว่า “เลิกทำดีกว่า” และอยากจะ “เซ้งร้าน” ให้คนอื่นมาทำต่อ
แต่สุดท้ายสิ่งที่แว๊บเข้ามาในความคิด คือ “ไม่มีอะไรจะเสีย มีแค่จะทำหรือไม่ทำ” ซึ่งความคิดนี้เป็นตัวจุดประกายให้ “ลุกขึ้นสู้” และตัดสินใจ “ลุยต่อ” ก็มาสังเกตว่าลูกค้าส่วนใหญ่สั่งเนื้อย่างมากกว่าพวกเครื่องดื่ม จึงเปลี่ยนแนวไม่ขายแล้วเครื่องดื่ม หันมาขาย “ปิ้งย่าง” อย่างเดียว วัดดวงกันไปเลย
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
เป็นจุดเริ่มต้นของร้าน “ย่างเนย” ที่เริ่มต้นในวัยเพียง 23 ปี แต่วันแรกที่เปิดร้าน ลูกค้าไม่ได้มาก โต๊ะนั่งยังมากกว่าลูกค้าในร้านด้วยซ้ำ ไม่ต้องพูดถึงการจ้างพนักงานเพราะตอนนั้นไม่มีเงินมากพอ ต้องทำทุกอย่างด้วยตัวเองตั้งแต่กวาดพื้น
ล้างกระทะ ขัดกระทะ ซื้อวัตถุดิบ ฯลฯ แต่โชคดีที่พื้นที่บริเวณร้านที่เปิดนั้น ไม่ค่อยมีร้านหมูกระทะทำให้หลายคนมักใช้ร้านย่างเนยสำหรับจัดเลี้ยงซึ่งการรับจัดเลี้ยง จะได้ลูกค้าที่เยอะ ซึ่งก็ได้อานิสงฆ์จากการถ่ายภาพลูกค้าที่มาจัดเลี้ยงเหล่านี้โพสต์ลงในโซเชี่ยล กลายเป็นว่าเริ่มมีคนรู้จักมีลูกค้าเข้ามามากขึ้นคนต่อแถวกัน คิวถึงขั้นหลักร้อย ต้องปิดถนนเพราะสาขาแรกอยู่ในซอยคนมากันเต็มซอย คนวอล์กอินมาก็ไม่ได้กิน จึงคิดว่านี่แหละเรามาถูกทาง และไม่รอช้าเริ่มเปิด
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
ย่างเนย สาขาประตูเชียงราก 2 ด้วยเวลาเพียง 6 เดือนนับจากสาขาแรกจากนั้นเริ่มกระจายไปตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ราชมงคลธัญบุรีเป็นสาขาที่ 3 ย่างเนย @ สนามจันทร์เป็นสาขาที่ 4 ย่างเนย@ เมืองเอก สาขาที่ 5 และ สาขาที่ 6 ย่างเนย@รังสิต
ก่อนที่จะเริ่มดำเนินธุรกิจในลักษณะแฟรนไชส์ โดยแฟรนไชส์สาขาแรก คือย่างเนย@มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนที่จะขยายสาขาแฟรนไชส์โดยเน้นย่านการศึกษาและย่านธุรกิจเป็นหลัก ทุกวันนี้มีสาขารวมกว่า 70 แห่งทั่วประเทศมีพนักงานทั่วประเทศ (ประจำและพาร์ตไทม์) มากกว่า 1,800 คน
ทำไม “ย่างเนย” ถึงดัง?
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
แนวคิดของเจ้าของธุรกิจ “ย่างเนย” คือส่วนสำคัญที่ทำให้ร้านมีชื่อเสียงและเติบโตในเวลาอันรวดเร็วแม้ว่าการถ่ายรูปร้านอาหารลงโซเชียล จะเป็นสิ่งที่ทำให้ย่างเนยเริ่มเป็นที่รู้จักและการคิดราคาเพียง 199 บาท ไม่จำกัดเวลา และหากรับประทานไม่หมด ก็ไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม จะสามารถดึงดูดให้ผู้คนอยากมาลองกินสักครั้งแต่ธุรกิจไม่มีทางอยู่ในระยะยาวได้ เคล็ดลับสำคัญที่ทำให้ “ย่างเนย” เป็นที่นิยมได้มากเกิดจาก “วิธีการจัดการแบบโรงแรมหรู ทำการตลาดแบบหมูกระทะล้อมเมือง ตีแตกกลุ่มมหาวิทยาลัยจนขยายเข้าสู่หัวเมือง และรักษาพนักงานด้วยการลดอัตราการลาออกให้น้อยที่สุด”
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
โดย “ย่างเนย” ให้ความสำคัญกับงานบริการที่อร่อยอย่างเดียวไม่พอต้องสะอาดและบริการดี เมื่อของหมดต้องเติมเรื่อย ๆ อย่าให้ของในถาดหมด ไฟในเตาต้องติดอยู่เสมอ และไม่ควรให้ลูกค้าต้องรอนาน และวัตถุดิบต้องดีแม้จะมีราคาสูงแต่ถ้าลูกค้าประทับใจนั่นคือความสำเร็จ รวมถึงต้องมีวิธีการบริหารต้นทุนให้ต่ำ โดยที่ไม่ลดคุณภาพอาหาร ต้องเลือกซัปพลายเออร์แบบ One Stop Service ที่สามารถทำได้ครบและมีคุณภาพ และต้องไม่ลืมเรื่องช่องทางการตลาดในโลกออนไลน์ที่ถือว่าช่วยทำให้ลูกค้ารู้จักร้าน “ย่างเนย” ได้รวดเร็วมากขึ้น
ภาพจาก facebook.com/YangNoeyOfficial
เหนือสิ่งอื่นใดการทำธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับ “พนักงาน” ใครทำงานดี ใครมีความรับผิดชอบ จะมีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงาน ซึ่งการให้ความสำคัญกับหน้าที่เหล่านี้ส่งผลให้ลูกค้าเองได้รับประโยชน์ที่พนักงานคิดเสมือนว่าตัวเองเป็นเจ้าของร้าน บริการต่างๆจึงดีและเป็นที่ประทับใจมาก
ทุกวันนี้ “ย่างเนย” เดินหน้าและเติบโตต่อเนื่อง เป็นกรณีศึกษาให้คนที่อยากมีธุรกิจได้เรียนรู้ว่าการเริ่มต้นมันยากเสมอ ยากเพราะเราไม่รู้ ยากเพราะเราไม่กลัว ยากเพราะกลัวในสิ่งที่มาไม่ถึง ยากเพราะไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อน แต่ถ้าก้าวข้ามความกลัวเหล่านี้ ลงมือทำไปเรื่อยๆ ผิดบ้างถูกบ้าง แต่ทั้งหมดคือประสบการณ์ที่เราจะค่อยๆเรียนรู้ว่าควรทำอะไร แบบไหน คนที่ได้แต่คิดแต่ยังไม่มีธุรกิจตัวเองเพราะยังไม่เคยได้ลงมือทำ ดังนั้นถ้าอยากรวย อยากมีกิจการเพียงแค่ความอยากทำให้ใครประสบความสำเร็จไม่ได้ ต้องลงมือทำด้วย
ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3gulK4H , https://bit.ly/3JcESAw , https://bit.ly/3LkpDrl , https://bit.ly/3B90lYj
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3Ba5wr9
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)