ยุคนี้ ปี 2566 เงินทุน 2,000 ขายอะไรได้บ้าง?
เราได้ยินพ่อแม่พูดว่าเมื่อก่อนมีเงิน 100 บาท ไปตลาดก็ซื้อของได้เยอะแยะ แต่ดูเดี๋ยวนี้เงิน 100 บาท ขายอะไรได้บ้าง เดินยังไม่ถึงปากซอยก็แทบจะหมดแล้ว เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนค่าเงินก็เปลี่ยนไป คำถามที่น่าสนใจคือต้องมีเงินมากแค่ไหนถึงจะใช้ลงทุนในยุคนี้ได้อย่างเหมาะสม และก็จะมีคำถามที่ย้อนแย้งกันว่า “แล้วถ้าไม่มีเงินก็แสดงว่าเราไม่มีโอกาสจะลงทุน” ได้เลยใช่ไหม?
www.ThaiSMEsCenter.com เข้าใจว่าคนยุคนี้ส่วนใหญ่ชักหน้าไม่ถึงหลัง เราจึงพยายามมองหารูปแบบการลงทุนที่ใช้เงินน้อยที่สุด แต่มีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุด ลองมาดูไอเดียที่เรามานำมาฝากกับการมีเงิน 1,000 – 2,000 บาทจะสามารถ ขายอะไรได้บ้าง
“ลงทุนน้อย” ก็ต้องขยันให้มาก
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “เงินไม่ใช่พระเจ้า” แต่การมีเงินจะช่วยให้หลายอย่างสะดวกขึ้น ถ้าเรามีเงินมากก็สามารถใช้จัดซื้อ จัดหา ทั้งอุปกรณ์ บุคลากร ระบบบริหารจัดการ เรียกว่าแทบไม่ต้องทำอะไรเพราะใช้เงินแก้ปัญหา แล้วรอเปิดร้านได้ แต่สำหรับคนที่มีเงินลงทุนน้อยหรือแทบไม่มีเลย ก็ยิ่งต้องลงแรงมากขึ้น ต้องอาศัยทักษะ ความขยันมากเป็นพิเศษ
อาจจะเริ่มต้นได้ช้ากว่าคนที่เงินทุนพร้อม แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสประสบความสำเร็จ สิ่งสำคัญคือไอเดีย ความอดทน ใจสู้ และวิธีแก้ปัญหา การวางแผนต่างๆ สิ่งเหล่านี้คือเคล็ดลับสำคัญของคนที่มีเงินทุนน้อย แต่อยากมีธุรกิจของตัวเอง ลองไปดูกันว่าเงินทุนที่มีเพียงเล็กน้อยนี้จะต่อยอด ขายอะไรได้บ้าง
1.ขายหมูปิ้ง/ลูกชิ้นทอด
น่าจะเป็นการเปิดร้านที่ง่ายและคนนึกถึงมากที่สุด เงินทุนแค่ 2,000 ก็เริ่มต้นแบบเล็กๆได้หลักๆคือจ่ายไปเป็นค่าวัตถุดิบ ส่วนอุปกรณ์ก็เน้นหาเองจากในครัวไม่ต้องซื้อเพิ่ม และควรฝึกทำน้ำจิ้มให้อร่อยๆ ไม่ต้องไปเปิดที่ไหนไกล เริ่มจากหน้าบ้านตัวเองลองเช็คลูกค้าดูก่อน หากพอมีทุนเพิ่มขึ้นมาก็ลองไปตั้งโต๊ะขายในตลาดนัด เริ่มต้นจากง่ายๆ แต่ขยันให้มาก โอกาสรวยก็เป็นไปได้ หรือถ้ามีหัวธุรกิจสักหน่อยจะลองพัฒนาให้กลายเป็นแฟรนไชส์ในอนาคตก็น่าสนใจเช่นกัน
2.ขายเฟรนฟรายด์
อุปกรณ์ที่ใช้ก็เน้นง่ายๆ เช่น โต๊ะพับได้ 1 ตัว เก้าอี้ 1 ตัว วัตถุดิบหลักคือเฟรนฟรายด์พร้อมทอด 1 ถุงใหญ่ๆ รวมกับผงปรุงรสอย่างปาปริก้า ชีส หรือเกลือ และก็เตาแก๊สปิคนิค ตะแกรงสำหรับตักเฟรนฟรายด์ ถุงพลาสติกสำหรับใส่เฟรนฟรายด์ อุปกรณ์และวัตถุดิบเบื้องต้นเหล่านี้ลงทุนไม่น่าจะเกิน 2,000 บาท เริ่มจากร้านเล็กๆ ขายหน้าบ้านตัวเอง พอมีทุนค่อยขยับไปเช่าที่ในตลาดนัดหรือทำเลอื่นที่มีคนพลุกพล่านมากกว่านี้ราคาขายส่วนใหญ่ชุดละ 20 บาท ใน 1 วันก็พอทำให้มีรายได้เสริมพอสมควร
3.ขายงานแฮนเมดด์
ธุรกิจนี้สงวนไว้สำหรับคนที่มีความสามารถ มีไอเดียด้านศิลปะ ไม่จำเป็นต้องไปลงทุนซื้ออะไรเพิ่ม อาศัยใช้ฝีมือตัวเองที่มีทำสินค้ามาขาย เช่นกระถางต้นไม้ D.I.Y , กรอบรูปจากวัสดุเหลือใช้ , ตุ๊กตาจากเศษผ้า เป็นต้น ยิ่งปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์มีประโยชน์อย่างมาก อาจทำให้เรามีรายได้จากการขายมากกว่าที่คิด
4.ร้านข้าวไข่เจียว
มีเงินทุนน้อยสิ่งที่พอทำได้อีกอย่างคือการเปิดร้านข้าวไข่เจียว เงินทุนแค่ 2,000 เปิดร้านได้แน่ ตั้งโต๊ะตัวเดียว อุปกรณ์เอาจากที่เรามี วัตถุดิบหลักก็คือไข่ แผงละประมาณ 100 -105 บาท (เบอร์ 2 , เบอร์ 3) รวมกับวัตถุดิบอื่นๆเช่นหอม กระเทียม หรือวัตถุดิบต่างๆที่จะนำมาใส่กับไข่เจียว ขายกล่องละ 25-30 บาท จะน่าขายได้ขายดี มีกำไรได้ไม่ยาก
5.ขายสินค้ามือสอง
สำหรับใครที่ทุนน้อย แต่มีทำเลดี อาจลองเริ่มต้นจากการขายสินค้ามือสอง ที่ไม่ต้องไปหาจากที่ไหน เอาสิ่งที่เรามีอยู่มาขาย เช่น เสื้อผ้า , รองเท้า , ของเล่น , หนังสือ , กระเป๋า ฯลฯ สินค้าเหล่านี้ถ้าอยู่ในสภาพดี หรือเป็นสินค้าที่ยังใช้งานได้ดี ขายในราคาถูกลงก็ต้องมีคนสนใจยิ่งยุคนี้คนส่วนใหญ่ต้องการประหยัด ถ้าเราขายได้มีเงินทุนมากขึ้น ก็อาจขยับไปหาสินค้าจากแหล่งอื่นมาขายเพิ่มเติมได้
6.ขายแซนวิช
ถ้ามีเงินไม่เกิน 2,000 เราอาจเปิดร้านขายแซนวิชง่ายๆ ได้ ไม่ต้องมีวัตถุดิบยุ่งยาก เป็นแซนด์วิชพื้นฐาน ทำไม่ยุ่งยากขายไม่ต้องแพงชิ้นละ 20-25 บาท ในยุคนี้คนส่วนใหญ่เน้นสินค้าราคาถูก กินอิ่มท้อง ถ้ามีทำเลที่ดีก็สามารถขายได้แน่ และเมื่อมีทุนมากขึ้นอาจพัฒนาเมนูให้น่าสนใจมากขึ้น หรือจะทำขายช่องทางออนไลน์ร่วมด้วยก็ได้
7.ขายความสามารถที่มี
บางทีเงินแค่ 2,000 อาจไม่พอทำอะไรได้มาก แต่สำหรับคนที่มีความสามารถเช่น ศิลปะ , ภาษา , คอมพิวเตอร์ , ออกแบบกราฟฟิค มีวิธีหาเงินที่หลากหลายด้วยการโฆษณาตัวเอง ขายความสามารถ ดึงดูดให้คนสนใจได้เข้ามาใช้บริการ ข้อดีของยุคนี้คือมีอินเทอร์เน็ตที่เข้าถึงคนส่วนใหญ่ได้อย่างดี การรับงานพิเศษจากความรู้ความสามารถของเราสามารถแปรเปลี่ยนเป็นรายได้ที่ดี ค่าจ้างมีทั้งแบบเหมาจ่าย หรือจ้างเป็นรายชั่วโมง เช่นรับสอนหนังสือ ชั่วโมงละ 300 บาท , รับงานออกแบบกราฟฟิค ชิ้นละ 500 – 1,000 เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายงานที่อัตราค่าจ้างตามแต่ตกลงระหว่างเราและผู้จ้าง ซึ่งหากมีการวางแผนบริหารจัดการและเป็นคนที่มีคุณภาพในการทำงานมักจะสร้างรายได้ที่ดีบางทีอาจมากกว่างานประจำที่ทำอยู่ด้วย
มีเงินไม่เกิน 2,000 สามารถเลือกลงทุนแฟรนไชส์อะไรได้บ้าง?
ในกรณีที่บางคนอยากลงทุนแฟรนไชส์แต่ติดว่าเงิน 2,000 ไม่แน่ใจว่าจะมีแฟรนไชส์ไหนที่ให้โอกาสเลือกลงทุนได้ แม้จะไม่เยอะแต่เราก็ได้รวบรวมมาให้เห็นภาพและคิดว่าแฟรนไชส์เหล่านี้โอกาสเติบโตดีมาก
1.ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ
ภาพจาก ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ
เป็นการลงทุนที่เหมาะสมกับยุคตลาดออนไลน์เฟื่องฟู โดยดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซให้บริการจัดส่งพัสดุภายในประเทศที่ โดยผู้สนใจลงทุนสามารถจัดเตรียมตกแต่งร้านค้าโดยใช้งบที่เหมาะสม มีการเตรียมอุปกรณ์เบื้องต้น สำหรับเปิดร้าน และมีค่ารายเดือนสำหรับการเป็นตัวแทนเพียง 1,000 บาท ผลตอบแทนที่จะได้รับเช่น ค่าตอบแทนจากการรับพัสดุจากลูกค้า , ค่าธรรมเนียมพัสดุเก็บเงินปลายทาง , รายได้จากพัสดุประเภท Drop Off โดยมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา และมีรถเข้ารับสินค้าที่สาขาทุกวันทำการ และยังมีบริการเสริมใหม่ๆ เป็นตัวเลือกให้กับลูกค้า สร้างโอกาสในการเพิ่มรายได้ให้กับผู้ลงทุนได้มากขึ้น
2.เดอะ เลตเตอร์โพสต์ เซอร์วิส
ภาพจาก เดอะ เลตเตอร์โพสต์ เซอร์วิส
ให้บริการด้านขนส่งโดยการรวบรวมขนส่งชั้นนำไว้ในร้านเดียว พร้อมบริการด้านสินเชื่อธนาคาร สินเชื่อทะเบียนรถ งานประกันภัย งานเอกสาร รับชำระบิลต่างๆ การโอนเงิน หลากหลายบริการในร้านเดียว รูปแบบลงทุนสำหรับคนงบน้อยเริ่มต้นเพียง 1,990 บาท
3.เพย์ พอยท์ เซอร์วิส
ภาพจาก https://bit.ly/3YYIw9E
ให้บริการแฟรนไชส์สารพัดบริการ ไปรษณีย์เอกชน รับส่งพัสดุ จ่ายบิลออนไลน์ ค่าสาธารณูปโภค น้ำประปา ไฟฟ้า บัตรเครดิต เติมเงินโอนเงิน และอื่นๆ ใช้เงินทุนเริ่มต้นเพียง 1,900 บาท แพคเกจลงทุนสามารถปรับเปลี่ยนตามความต้องการของลูกค้าได้ เป็นแฟรนไชส์ไม่ต้องมีส่วนแบ่งยอดขาย ไม่มีรายเดือน รายปี ตั้งชื่อร้านเองได้ และสามารถทำร่วมกับธุรกิจอื่นเพิ่มรายได้ให้ผู้ลงทุนได้
4.ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส
ภาพจาก ชิปป์สไมล์ เซอร์วิส
เป็นศูนย์รวมขนส่งชั้นนำและงานบริการ “ที่เดียวจบ ครบทุกบริการ” มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในยุคใหม่ และการส่งเสริมด้านการตลาดเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับผู้ลงทุนมีแพ็กเกจลงทุนที่หลากหลาย ราคาเบาๆ สำหรับคนทุนน้อยคือแพ็กเกจ Basic ลงทุน 1,990 บาท สิ่งที่ได้รับเช่น เครื่องสแกนบัตรประชาชน , ระบบโปรแกรมหน้าร้าน , ไวนิล , ตลับเมตร , สื่อโปสเตอร์ เป็นต้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างรายได้ที่เหมาะสมกับคนยุคนี้อย่างมาก
การลงทุนไม่เกิน 2,000 ไม่ใช่จำนวนเงินที่สูงมาก แต่ต้องเข้าใจว่าในบางแฟรนไชส์เงินจำนวนนี้คือค่าระบบ ค่าบริหารจัดการ หรือบางแฟรนไชส์ก็มีอุปกรณ์พร้อมใช้งานแถมมาในแพ็กเกจด้วย แต่สิ่งสำคัญกว่าคือผู้ลงทุนต้องรู้จักต่อยอด รู้จักการบริหารจัดการ
และต้องขยันตั้งใจทำจริง ทุกแฟรนไชส์มีประสบการณ์ที่การันตีความสำเร็จได้อย่างดี หรือแม้แต่ใครที่ไม่ได้เลือกลงทุนแฟรนไชส์แต่นำเงินไปเลือกลงทุนเองก็ต้องขยัน อดทน และต้องเข้าใจพฤติกรรมความต้องการของคนในยุคนี้เป็นอย่างดีจะเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการทำธุรกิจได้มากขึ้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจติดตามได้ที่ https://bit.ly/335phDi
รับฟังบทความต่างๆ ผ่านทาง PodCast ไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ https://soundcloud.com/thaifranchisecenter
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)