ยังวิกฤต! โรงงาน-ธุรกิจ แห่ปิดกิจการ ครึ่งปีแรกเดือนละ 111 แห่ง มูลค่า 8.5 หมื่นล้าน

7 เดือนแรกของปี 2567 ธุรกิจไทย แห่ปิดกิจการ ไปแล้วรวมมูลค่า 8.5 หมื่นล้านบาท โดย 3 อันดับธุรกิจที่ปิดกิจการสูงสุด ได้แก่ ก่อสร้าง 758 ราย, อสังหาริมทรัพย์ 467 ราย และอาหาร 259 ราย ขณะเดียวมีข้อมูลจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่ามีโรงงานปิดตัวเพิ่มขึ้นในครึ่งปีแรกแล้วกว่า 667 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 86.31% หรือเฉลี่ย 111 แห่งต่อเดือน

ไม่เพียงเท่านี้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2567 ยังพบว่ามีบริษัทและธุรกิจอีกหลายแห่ง แห่ปิดกิจการ ปลดพนักงาน งดจ่ายเดือน รวมถึงย้ายฐานการผลิตไปยังที่อื่นอีกมามาย มีธุรกิจอะไรบ้างมาดูกัน

1.ฮอนด้า ย้ายไลน์ผลิตรถยนต์ไปโรงงานปราจีนบุรี

แห่ปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/3MtHCgN

8 กรกฎาคม 2567 บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศปรับแผนการผลิตรถยนต์ 2 โรงงานในไทยใหม่ ปูทางสู่ตลาดรถยนต์ xEV ตัดสินใจย้ายไลน์ผลิตรถยนต์จังหวัดอยุธยา ไปรวมที่โรงงานจังหวัดปราจีนทั้งหมด

2.TPBI ธุรกิจไทยเลิกกิจการใน “เมียนมาร์”

แห่ปิดกิจการ

ภาพจาก https://www.tpbigroup.com

วันที่ 8 กรกฎาคม 2567 บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ TPBI แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าคณะกรรมการบริษัท ได้มีมติอนุมัติให้เลิกและชำระบัญชี บริษัท TPBI & Myanmar Star Company Limited (TPBIMS) ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศเมียนมา เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายบรรจุภัณฑ์พลาสติกทั่วไป

3.CNN ปลดพนักงาน 100 ตำแหน่ง ลุยธุรกิจดิจิทัล

แห่ปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/3Z9cBpO

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น (CNN) เตรียมเลิกจ้างพนักงานประมาณ 100 ตำแหน่ง เป็นส่วนหนึ่งของแผนรวมการดำเนินงานด้านข่าวและหนุนธุรกิจดิจิทัล เป็นการควบรวมทีมข่าวและข่าวดิจิทัล ลงทุนในด้านการดำเนินงานวิดีโอ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในรูปแบบข่าวชำระค่าบริการแบบรายครั้ง (Pay Per View)

4.สำนักข่าว “เนชั่น” ประกาศพักการจ่ายเงินเดือนพนักงาน

ภาพจาก www.facebook.com/NationGroup.TH

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 NATION GROUP ออกประกาศพักการจ่ายเงินเดือนบางส่วนสำหรับพนักงานที่มีรายได้ ตั้งแต่ 50,000 บาทต่อเดือนขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 67 – 31 ธ.ค. 67 เนื่องจากเศรษฐกิจเสี่ยงจะเกิดปัญหาต่อเนื่อง ทำให้เม็ดเงินโฆษณาในธุรกิจสื่อทั้งระบบลดลงจำนวนมาก

5.บริษัทดังยานยนต์ในระยอง ประกาศปิดกิจการในไทย 2568

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 สำนักข่าวนิวส์ชลบุรี-ระยองออนไลน์ โพสต์ข้อความระบุ บริษัทดังในนิคมอมตะซิตี้ ระยอง ทำเกี่ยวยานยนต์ เป็นบริษัทในฝันของหลายๆ คน สวัสดิการดีเยี่ยม มีการประกาศปิดกิจการในไทยภายในปี 2568 โดยบริษัทฯ ดำเนินกิจการในไทยมาแล้ว 20 ปี

6.สินมั่นคงประกันภัย ปิดฉากเจ๊งเคลมประกันโควิดรายที่ 5

ภาพจาก www.smk.co.th

วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เซ็นเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของบริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) ไปแล้วเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ตามมาตรา 59 แห่ง พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535

7.ฮอนด้ามอเตอร์ญี่ปุ่น เล็งลดกำลังการผลิตในไทย 50%

วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 บริษัทฮอนด้ามอเตอร์ของญี่ปุ่นระบุว่า กำลังวางแผนที่จะลดกำลังการผลิตในประเทศไทยลงกว่าร้อยละ 50 การตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากการแข่งขันที่ดุเดือดกับคู่แข่งจากจีน ส่งผลให้บรรดาผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นต้องปรับกลยุทธ์ของตน

8.สุกี้ร้านดัง “สุกี้จินดา” ประกาศปิดสาขาพระประแดง

ภาพจาก www.facebook.com/chindahotpot

วันที่ 14 กรกฎาคม 2567 สุกี้จินดา สาขาพระประแดง ประกาศปิดกิจการ โดยจะเปิดให้บริการวันสุดท้าย 15 กรกฎาคม 2567 เหตุเพราะสาขาแฟรนไชส์ทำปิดสัญญาการร่วมธุรกิจแฟรนไชส์

9.KKC หยุดกิจการชั่วคราว ขาดสภาพคล่อง

ภาพจาก https://compressor.kulthorn.com

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 บริษัท กุลธรเคอร์บี้ จำกัด (มหาชน) หรือ KKC ผลิตและจำหน่ายมอเตอร์คอมเพรสเซอร์สำหรับตู้เย็น ตู้แช่ ตู้ทำน้ำเย็น และเครื่องปรับอากาศ รวมถึงผลิตคอนเดนซิ่งยูนิต แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจะหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เนื่องจากการขาดสภาพคล่องในการซื้อวัตถุดิบ เพื่อผลิตและส่งมอบ

10.ร้านชาบูชื่อดัง “สุกี้เผิงโหย่ว” ประกาศปิดกิจการ

ภาพจาก https://bit.ly/47gtQYw

วันที่ 21 กรกฎาคม 2567 ร้านชาบูสุกี้ชื่อดัง “สุกี้เผิงโหย่ว” ร้านชื่อชอบของบรรดาสายกินย่านบรรทัดทอง ได้ประกาศปิดกิจการ โดยเปิดขายถึงวันที่ 22 กรกฎาคม 2567 เป็นวันสุดท้าย

11.โรงผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ปราจีน ปิดโรงงานย้ายไปเวียดนาม

วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เพจ “นิวส์ชลบุรี-ระยอง ออนไลน์” รายงาน โรงผลิตแผงโซลาร์เซลล์ ในปราจีนบุรี สู้ค่าแรงที่ไทยไม่ไหวแม้ค่าแรงขั้นต่ำใหม่ยังไม่ประกาศใช้ เปิดมาปีกว่า ตัดสินใจปิดโรงงานย้ายบริษัทไปที่เวียดนามที่ตั้งบริษัทแม่

12.Bungie ปลดพนักงานครั้งใหญ่ ลดต้นทุน

Bungie สตูดิโอผู้พัฒนาเกมชื่อดัง ประกาศปลดพนักงานครั้งใหญ่ ลดจำนวนพนักงานลง 17% พร้อมทั้งโอนย้ายพนักงานไปยัง Sony Interactive Entertainment อีก 12% เพื่อปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ มุ่งเน้นทรัพยากรไปที่การพัฒนาเกม Destiny และ Marathon

13.บุฟเฟต์ปิ้งย่างเกาหลี “ไดโดมอน” ปิดสาขาสุดท้าย 5 ส.ค. 67

ภาพจาก www.facebook.com/daidomonth

วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เฟซบุ๊ก Daidomon ของร้านไดโดมอน บุฟเฟต์ปิ้งย่างสไตล์เกาหลี โพสต์ข้อความระบุว่า “ไดโดมอน ขอเรียนให้ทราบว่า ทางร้านไดโดมอน สาขาฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จะเปิดให้บริการถึงวันที่ 5 ส.ค. 2567 เป็นวันสุดท้าย ปิดตำนาน 41 ปี บุฟเฟต์ปิ้งย่างสไตล์เกาหลีแห่งแรกในไทย

14.”BURN WHALE” ร้านอาหารบุฟเฟต์อาหารทะเลกลางสยาม ปิดกิจการ

ภาพจาก www.facebook.com/BURN.WHALE

วันที่ 9 สิงหาคม 2567 เพจ “BURN WHALE” ร้านอาหารบุฟเฟ่ต์อาหารทะเลกลางสยาม โพสต์ประกาศทางร้านเตรียมยุติให้บริการในวันที่ 20 ส.ค. 2567 เป็นวันสุดท้าย ลูกค้าบ่นเสียดาย บริการดี อาหารสด

15.Foodrepublic ประกาศปิดกิจการ 23 พ.ย. 67

ภาพจาก www.facebook.com/FoodRepublicThailand

Foodrepublic ศูนย์รวมความอร่อยที่รวบรวมอาหารอร่อยทั้งไทย สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น ฯ ชั้น 6 Central Rama 9 ประกาศยุติให้บริการ จะเปิดให้บริการวันสุดท้าย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 ลูกค้าสามารถนำบัตรรับประทานอาหารมาแลกคืนได้จนถึงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 21:30 น. เปิดให้บริการวันสุดท้าย วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567

16.ร้านหนังสือ “กลิ่นหนังสือ” ประกาศปิดกิจการสิ้นเดือน ส.ค. 67

ร้านขายหนังสือชื่อดัง “ร้านกลิ่นหนังสือ” ขวัญใจนักอ่าน-นักเขียนอิสระ ประกาศปิดกิจการภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2567

17.ปิดตำนาน 20 ปี Hotpot Buffet ขาดทุนอ่วม

ภาพจาก www.facebook.com/HotPotBuffet

วันที่ 23 กรกฎาคม 2567 เพจเฟซบุ๊ก Hotpot Buffet ซึ่งมีผู้ติดตามกว่า 1 ล้านคน ได้ออกมาโพสต์ระบุว่า “Hotpot Buffet ขอขอบคุณลูกค้าที่เข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทางร้านต้องขอปิดตำนาน Hotpot Buffet ไว้เพียงเท่านี้ ในอดีต ฮอทพอท ถือหุ้นและบริหารโดยตระกูล “เตชะอุบล” ก่อนขยายสาขาไปยังต่างจังหวัดและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศรวมกว่า 117 สาขา มีรายได้แตะ 2,000 พันล้านบาท ตัวเลขล่าสุดขาดทุนสะสม 5 ปี

18.โรงหนังไฟสตาร์โคราช ประกาศปิดกิจการ ลูกค้าน้อย

ภาพจาก https://bit.ly/4g8HK2P

วันที่ 30 สิงหาคม 2567 โรงหนังไฟว์สตาร์มัลติเพล็กซ์ โรงหนังที่เปิดให้บริการชาวโคราชมานานเกือบ 30 ปี โดยเปิดให้บริการตั้งแต่ช่วงปี 2539 ได้ปิดกิจการเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ประชาชนลดค่าใช้จ่ายด้านบันเทิง ทำให้ประชาชนไม่เข้ามาชมภาพยนตร์น้อยลง

นั่นคือ ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ประกาศปิดกิจการ ปลดพนักงานในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ต่อไปต้องจับตาดูอีกว่า หากเศรษฐกิจไทยยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงรัฐบาลมีการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท จะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจมากน้อยแค่ไหน ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวรับมือกับพายุลูกใหม่ที่กำลังจะตามมาในอีกไม่ช้า

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช