ยังวิกฤต! ธุรกิจร้านอาหาร ปี 68 “เศรษฐกิจทรุด – ต้นทุนเพิ่ม – กำลังซื้อลด”

ภาพรวมธุรกิจปี 2568 ยังไม่ฟื้น เผชิญปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน เศรษฐกิจทรุด ต้นทุนค่าแรงและวัตถุดิบพุ่ง กำลังซื้อลด กระทบต่อตลาดธุรกิจร้านอาหารในไทย คาดว่ามีแนวโน้มเติบโตลดลงเฉลี่ย 2-3% เหตุนโยบายภาครัฐไร้แผนกระตุ้นที่ชัดเจน ส่งผลกระทบทั้งแบรนด์เล็ก แบรนด์ใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารราคาถูก ไปต่อไม่ไหว เพราะแบกรับต้นทุนเพิ่มไม่ได้

ภาพรวมธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทย ปี 2567 มีทั้งร้านปิดกิจการและร้านใหม่สลับหมุนเวียนกันไป สอดคล้องกับข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ร้านอาหารปิดตัวเร่งขึ้น โดยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2567 มีร้านอาหารจดทะเบียนยกเลิกธุรกิจสูงถึง 89% (YoY) ขณะที่การเปิดร้านใหม่ยังเท่าเดิมเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566

ปัจจุบันมีจำนวนร้านมากกว่า 700,000 ร้านค้า แบ่งเป็นร้านอาหารขนาดใหญ่ 70,000 ร้าน สัดส่วน 10% ส่วนอาหารขนาดกลางและเล็ก เช่น ร้านสตรีทฟู้ด ร้านในปั๊มน้ำมัน มีกว่า 600,000 ร้าน สัดส่วน 90%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่าในปี 2568 ผู้ประกอบการร้านอาหารและเครื่องดื่ม ทั้งรายใหญ่และเล็ก ยังให้ความสนใจเข้ามาลงทุนเปิดร้านอย่างต่อเนื่อง ครอบคลุมทุกเซ็กเมนต์ของตลาดในประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารแนวเอเชีย ไทย จีนเกาหลี ญี่ปุ่น โดยเน้นเปิดตามห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงานเปิดใหม่

ทิศทางการลงทุนเปิดร้านอาหารใหม่ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ คิดเป็นสัดส่วน 24% ของร้านอาหารทั้งหมด รวมถึงจังหวัดที่มีกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น ชลบุรี เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี เป็นต้น

ส่วนภาพรวมการแข่งขันธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่มยังคงมาจากการเข้ามาลงทุนของชาวต่างชาติ สอดคล้องกับข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า มูลค่าทุนจดทะเบียนร้านอาหารและเครื่องดื่มจำแนกตามสัญชาติเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นปี 2567 กลุ่มร้านอาหารและเครื่องดื่มจากจีนมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นมากสุด และมีแนวโน้มเข้ามาลงทุนเพิ่มสูงขึ้น

ธุรกิจร้านอาหาร ปี 68

แนวโน้มธุรกิจร้านอาหาร ปี 2568

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ในปี 2568 มูลค่าตลาดธุรกิจร้านอาหารในไทยอยู่ที่ 572,000 ล้านบาท เติบโต 4.8% จากปี 2567ซึ่งการเติบโตของร้านอาหารแต่ละที่แต่ละรูปแบบมาจากปัจจัยที่ต่างกัน เช่น ทำเลที่ตั้งร้าน การแข่งขัน ราคา รสชาติ เมนูอาหาร คุณภาพ การบริการ เทรนด์การบริโภค เอกลักษณ์ของร้าน เป็นต้น

ร้านอาหารเต็มรูปแบบ (Full Service) มีมูลค่า 213,000 ล้านบาท เติบโต 2.9% เติบโต 2.9% จากปี 2567 โดยร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ยังได้รับความนิยมเพราะความคุ้มค่า ส่วนร้านอาหารอะลาคาร์ท เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไทย ตะวันตก ราคาระดับกลางๆ จะเจอกับความท้าทายจากกำลังซื้อและการแข่งขันจากคู่แข่ง

ร้านอาหารให้บริการจำกัด (Limited Service) คาดว่ามีมูลค่า 93,000 ล้านบาท เติบโต 3.8% จากปี 2567 การขยายตัวมาจากกลุ่มร้านพิซซ่า และไก่ทอด รวมถึงร้านแบบ Full Service ปรับรูปแบบร้านเป็นแบบ Quick Service มากขึ้น

ส่วนร้านข้างทาง Street Food มีมูลค่า 266,000 ล้านบาท เติบโต 6.8% จากปี 2567 เหตุเพราะเมนูเข้าถึงง่าย ราคาไม่แพง กินง่าย ขายง่าย อีกทั้งเป็นกลุ่มร้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ

ธุรกิจร้านอาหาร ปี 68

แนวโน้มธุรกิจร้านเครื่องดื่ม

ในปี 2568 คาดว่ามูลค่าตลาดร้านเครื่องดื่ม ไอศกรีม และเบเกอรี่ อยู่ที่ 85,320 ล้านบาท เติบโต 3.2% จากปี 2567 การขยายตัวมาจากหารเปิดสาขาใหม่ของผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และเล็ก รวมถึงการขยายสาขาแฟรนไชส์ของแบรนด์จากต่างชาติ ทั้งจีน อินโด เกาหลี ญี่ปุ่น ยุโรป ตะวันตก เป็นต้น

ความท้าทายของร้านอาหารในปี 2568

ความท้ายของการดำเนินธุรกิจร้านอาหาร นอกจากจะเผชิญกับต้นทุนการดำเนินธุรกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในปี 2568 ทั้งค่าวัตถุดิบ ค่าแรง สาธารณูปโภค ค่าเช่า ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ได้แก่

  1. ปัจจัยทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ แต่กำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมยังฟื้นตัวช้า
  2. การแข่งขันของแบรนด์ต่างชาติที่เข้ามาเปิดตลาดในไทยมากขึ้น เช่น แบรนด์จากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้
  3. ต้นทุนวัตดิบ ค่าแรง ค่าสินค้า และค่าใช้จ่ายอื่นๆ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น
  4. ความหลากหลายของธุรกิจร้านอาหาร ทำให้ผู้บริโภคมีตัวเลือกมากมาย
  5. พฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ เช่น ความแปลกใหม่ ประสบการณ์ สุขภาพ ราคาคุ้มค่าสมเหตุผล กลายมาเป็นเทรนด์ใหม่ของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน

ดังนั้น ผู้ประกอบการร้านร้านอาหารที่ต้องการเติบโตในปี 2568 จำเป็นต้องสร้างความแตกต่างและโดดเด่นให้กับร้าน โดยเริ่มจากการนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อจะได้เข้าใจความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างแท้จริง จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตรงจุด

ธุรกิจร้านอาหาร ปี 68

รวมถึงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ และการทำโฆษณาออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และออกแบบเมนูอาหารให้มีความน่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า โดยแบ่งเมนูออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  1. เมนูซิกเนเจอร์ เป็นเมนูเด่นของร้านที่สร้างความแตกต่างและจดจำ
  2. เมนูที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในวงกว้าง
  3. เมนูที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพื่อดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ

นั่นคือ แนวโน้มและทางธุรกิจร้าอาหารและเครื่องดื่มในไทย ปี 2568 คาดว่าเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจหลายแห่ง โดยเฉพาะเรื่องกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงและการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น จากทั้งผู้ประกอบการรายใหม่ทั้งในและต่างประเทศ

แหล่งข้อมูล

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช