ยอดขายไม่ดี! เป็นเพราะ “ร้าน” หรือ “ทำเล”
ยอดขายไม่ดี จะโทษอะไรดีระหว่าง “ร้าน” หรือ “ทำเล” หรืออีกข้อคือ “โทษตัวเราเอง” ทำธุรกิจสมัยนี้นอกจากคู่แข่งแล้ว การแข่งกับตัวเองก็สำคัญ หลายครั้งที่ยอดขายเราไม่ดี บางทีก็สงสัยว่าเป็นเพราะร้านเราไม่ดีหรือว่าทำเลที่เปิดร้านเราไม่ดีกันแน่ ซึ่งการลงทุนเปิดร้านสักแห่งแน่นอนว่าเราต้องใช้เงินลงทุนไม่น้อย ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเป็นธุรกิจอะไร ยิ่งเป็นร้านใหญ่
งบลงทุนยิ่งสูง ต้นทุนก็ยิ่งแพง ความคาดหวังในเรื่องการสร้างรายได้ต้องมากขึ้นด้วย แต่ถ้าเปิดร้านไปแล้วยอดขายไม่ได้ตามเป้าทีนี้ก็ต้องเครียดเป็นธรรมดา มีหลายปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องเพราะสินค้าทุกอย่างมีคู่แข่งของตัวเองมากบ้างน้อยบ้างแต่ต้องเจอแน่ ไม่นับเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคนี้ถ้ามองว่าอะไรไม่คุ้ม ก็จะไม่เสียเงินซื้อ เพราะมีตัวเลือกเยอะ ไม่เข้าร้านนี้ก็ยังมีร้านอื่นให้เลือก หรือจะไปช็อปปิ้งออนไลน์แทนก็ได้สบายกว่าเยอะ
วิธีที่ง่ายสุดคือ “วิเคราะห์” ที่ร้านของเราก่อนเลยว่าตอบโจทย์ลูกค้าหรือไม่ มีหลายปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้แก่
1.ไม่ตั้งกลุ่มเป้าหมาย ขอให้เป็นใครก็ได้ให้มาซื้อ
ถ้าธุรกิจของเราเริ่มต้นแบบนี้บอกเลยว่าบางทีทำเลก็ไม่เกี่ยว หลายครั้งที่ถามว่ากลุ่มลูกค้าของร้านเป็นใคร? คำตอบที่ได้ยินบ่อย ๆ “ก็ลูกค้าทั่ว ๆ ไป ใครก็ได้” ซึ่งถือว่าผิดหลักของการทำธุรกิจอย่างมาก เพราะคำว่ากลุ่มลูกค้าสัมพันธ์กับคำว่าคอนเซปต์ของร้าน รวมไปถึงเมนูที่จะขายในร้านและก็ราคาสินค้าด้วย ถ้าเราติดกระดุมเม็ดแรกผิด ที่เหลือก็ผิดหมด นั่นคือปัญหาที่ร้านไม่ใช่ที่ทำเล
2.เวลาเปิดร้านไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมลูกค้า
ต่อให้ทำเลดีแค่ไหน แต่ถ้าร้านเปิดทำการไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมหรือวิถีชีวิตของลูกค้า ก็ปิดโอกาสในการขายเช่นกัน สมมุติว่าเปิดร้าน ย่านแหล่งชุ่มชนที่อยู่อาศัย กลุ่มลูกค้าวัยทำงาน เวลาทำการเปิดร้านตั้งแต่ 11:00 – 17:00 น. ถ้าเวลาเปิดปิดร้านเสอดคล้องกับช่วงเวลาดังกล่าว สินค้าจะดีแค่ไหนก็ขายได้ยาก
3.ราคาสูงเกินกว่ากำลังซื้อของคนในพื้นที่
สินค้าดีจริง บริการดีจริง แต่ถ้าราคาแพงเกินไปก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงที่จะขายไม่ได้เช่นกัน สิ่งที่เราควรรู้คือในย่านนั้นกำลังซื้อคนส่วนใหญ่เป็นอย่างไร สินค้าแบบไหนคือสิ่งที่ต้องการ และอะไรที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจซื้อได้ทันที เราต้องประเมินสิ่งเหล่านี้ร่วมด้วย ไม่ใช่แค่เรื่องทำเลที่มีคนพลุกพล่านอย่างเดียว
4.คิดว่าหน้าร้านและบรรยากาศในร้านไม่สำคัญ
ต่อให้อยู่ในย่านทำเลทอง แต่เรื่องหน้าร้านและบรรยากาศร้านก็ต้องดีด้วย ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม การจัดหน้าร้านต้องให้ดึงดูดลูกค้า สวยงาม สะอาด บรรยากาศในร้านน่านั่งน่ากิน หรือถ้าเป็นร้านค้าปลีก ต้องมีการจัดวางสินค้าให้เลือกซื้อง่าย บรรยากาศในร้านต้องทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความสุข แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ก็มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในยุคนี้
5.คิดว่าการตลาดออนไลน์ไม่สำคัญ
ใช่ว่าอยู่ในทำเลที่ดีแล้วจะไม่ต้องสนใจเรื่องตลาดออนไลน์ ยุคนี้คนเข้าถึงข้อมูลจากโซเชี่ยลเยอะมาก ถ้าในเพจของร้านเราไม่ได้มีความน่าสนใจ ไม่เคยอัดเดทอะไรใหม่ๆ หรือลงอะไรที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยคิดว่าจะหวังยอดขายเฉพาะคนที่ผ่านไปผ่านมาหน้าร้าน ก็เป็นเหตุผลว่าทำไมทำเลดีแต่ขายได้ไม่ดีเท่าร้านอื่น ที่เขาอาจเน้นตลาดออนไลน์ ทำเพจสวยงามลงเรื่องราวเกี่ยวกับร้าน มีการพูดคุยโต้ตอบกับลูกค้า มีรีวิว มีการแชร์เรื่องน่าสนใจ ก็จะทำให้คนสนใจร้านได้เยอะขึ้นด้วย
อย่างไรก็ดีถ้าวิเคราะห์แล้วว่าร้านเราก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่มันเกิดจากเรื่องของ “ทำเล” ที่อาจจะมีคู่แข่งเยอะ วิธีแก้ในเรื่องทำเลอาจต้องใช้กลยุทธ์การตลาดเข้ามาช่วยก็มีหลายวิธีที่น่าสนใจเช่น
- Fighting Brand กลยุทธ์ “ฆ่าคู่แข่ง”โดยเฉพาะ เน้นเอาชนะคู่แข่ง ด้วยการเสนอสินค้าและบริการที่ “คุ้มค่า” มากกว่า
- Humor Marketing การตลาดแบบติดตลก ข้อมูลระบุว่า 42% ของคอนเทนต์ที่มีเนื้อเรื่องธรรมดามักจะถูกลืม ในขณะที่ 60% ของคอนเทนต์ที่มีอารมณ์ขันอย่างเป็นธรรมชาติมักจะได้รับการจดจำเป็นอย่างดี
- Freemium อยากได้ต้องจ่ายเพิ่ม โดยการเพิ่มความพิเศษให้กับสินค้าหรือบริการซึ่งลูกค้าบางกลุ่มที่อยากได้ความเป็นพรีเมี่ยมก็จะเลือกจ่ายเงินเพิ่ม
- Cute Marketing ใช้ความน่ารักสินค้าเป็นจุดขาย มีข้อดีอีกอย่างคือการตลาดแบบนี้ทำให้เกิดการตลาดแบบปากต่อปากกระจายกันไปได้ง่าย ก็ขึ้นอยู่กับว่าไอเดียสินค้าเราดีมากแค่ไหนด้วย
ดังนั้นเคล็ดลับของการเปิดร้านให้ขายดีจึงไม่ใช่แค่ร้านเราดี หรือทำเลดี เท่านั้น แต่เจ้าของธุรกิจต้องมีกลยุทธ์การตลาดและวิธีการครองใจลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะในยุคที่ลูกค้ามีตัวเลือกมาก การแข่งขันจึงยิ่งสูง หมดยุคที่รอให้ลูกค้าเข้าหาแต่ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าหาลูกค้าให้มากขึ้นด้วย
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)