มีทองปลอม! แล้วแฟรนไชส์ปลอม มีมั้ย?
มีทองปลอม! แล้วแฟรนไชส์ปลอม มีมั้ย? กรณีข่าวขายทองออนไลน์แล้วปรากฏว่ากลายเป็น “ทองปลอม” ความเสียหายมีผลกระทบเป็นวงกว้างโดยเฉพาะลูกค้าที่หมายมั่นปั่นมืออยากมีทองเป็นของตัวเอง มาเจอแม่ค้าขายทองราคาไม่แพง บางคนเอาเงินเก็บที่มีมาซื้อเพื่อหวังว่าจะได้มีไว้เป็นสมบัติ หรือในอนาคตสามารถเอาไปขายต่อในยามที่เดือดร้อน
แต่เมื่อเจอกับคำว่า “เป็นทองปลอม” ความเศร้า ความผิดหวัง ถาโถมเข้าใส่เกินกว่าจะประเมินค่าได้ อันที่จริงคำว่าทองปลอมที่พูดถึงกันก็ไม่ได้จะเป็นของปลอมซะทีเดียว เพียงแต่ “เนื้อทองที่แท้จริง” มันน้อยมาก เทียบกับราคาที่จ่ายไปจากทีแรกเหมือนจะได้ของดีราคาถูกกลายเป็น ได้ของไม่ดีในราคาที่แพงซะงั้น
มองเรื่องนี้เข้าในวงการแฟรนไชส์หลายคนถามว่า แล้วแฟรนไชส์ปลอม มีมั้ย?
ถ้าให้พูดกันตามจริงแฟรนไชส์ในเมืองไทยมีมากกว่า 653 แบรนด์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแฟรนไชส์ที่มีระบบการบริหารงานชัดเจน มีผลงานที่ชัดเจน ทีมงานมีประสบการณ์พร้อมถ่ายทอดความรู้สู่คนลงทุนได้อย่างดี แฟรนไชส์เหล่านี้บอกได้เลยว่า “ไม่มีคำว่าปลอม” ทุกแบรนด์เขามุ่งมั่นตั้งใจทำงานกันเต็มที่ มีการพัฒนาสินค้าและบริการต่อเนื่อง ด้วยคอนเซปต์ที่ต้องการสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้คนลงทุนประสบความสำเร็จได้อย่างสูงสุด
แต่อย่างไรก็ดีมันก็จะมีอีกบางจำพวกที่อาศัยเกาะกระแส เห็นว่าธุรกิจแฟรนไชส์เหล่านี้ทำแล้วดัง ทำแล้วดี ทำแล้วรวยไว ก็มีพวกที่อยากรวยทางลัด ซึ่งพวกนี้แหละที่อันตรายและอยู่ในกลุ่ม “หาเงินโดยใช้คำว่าแฟรนไชส์มาบังหน้า” ถ้าจำกันได้ประมาณปี 2566 มีข่าวหนึ่งที่ดังชั่วข้ามคืน เป็นกรณีของผู้เสียหายรายหนึ่งที่ร้านอาหารชื่อดังหลังมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ สร้างมหกรรมตบตาหลอกขายแฟรนไชส์ปลอม ให้โอนเงินยิก ๆ เก็บทุกเม็ดทุกบาท แต่ไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน
สุดท้ายผู้เสียหายเริ่มเอะใจ และตรวจสอบไปมาก็พบว่าไม่ใช่แค่คนเดียวที่โดนหลอกแต่มีการหลอกขายแบบนี้กับอีกหลายคน สุดท้ายก็จับโป๊ะได้คาหนังคาเขาและแน่ใจว่านี่คืออีกหนึ่งกลยุทธ์ของพวกมิจฉาชีพที่เอาคำว่าแฟรนไชส์มาบังหน้าเพื่อหลอกหาเงินจากคนที่สนใจลงทุน
อันที่จริงวงการแฟรนไชส์ส่วนใหญ่คือคนที่เขาทำธุรกิจจริง ๆ มีความจริงใจ แต่คนส่วนน้อยที่เข้ามาแฝงตัวนี่แหละทำให้ชื่อเสียงของวงการเสียหาย ซึ่งถ้าเราต้องการจะลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์จริงๆ ก็ควรมีกฎเกณท์ที่ใช้พิจารณาเช่น
- ข้อตกลงและสัญญาแฟรนไชส์
- ค่าใช้จ่ายในการลงทุนที่ต้องชัดเจน
- รายละเอียดในการซื้อวัตถุดิบที่ต้องรับจากแบรนด์หรือมีการแนะนำแหล่งวัตถุดิบชัดเจน
- ค่าธรรมเนียมรายเดือน รายปี การหักเปอร์เซ็นต์ยอดขาย
- ข้อห้าม ข้อกำหนดที่ระบุไว้โดยห้ามละเมิด
- เงื่อนไขการผิดสัญญาแฟรนไชส์ที่จำเป็นต้องรู้
สิ่งเหล่านี้เราสามารถใช้เป็นไกด์ไลน์พิจารณาว่าแบรนด์แฟรนไชส์ไหนคือของจริงของเก๊ และที่ลืมไม่ได้คือการวิเคราะห์ตัวแบรนด์ว่ามีความต้องการในท้องตลาดมากน้อยเพียงใด รวมถึงคุณภาพ ประสิทธิภาพ และกำลังของแบรนด์ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการตลาด การประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขายรูปแบบใหม่ รวมไปถึงความสามารถในการพัฒนาและปรับปรุงสินค้าและบริการที่ดียิ่งขึ้น
และด้วยปัจจุบันแฟรนไชส์มีครบทุกหมวดหมู่ งบลงทุนตั้งแต่หลักพันยันหลักล้าน การจะเลือกแฟรนไชส์ใดมาลงทุนต้องดูว่าเราตั้งงบลงทุนไว้เท่าไหร่ และตั้งเป้าอยากลงทุนเกี่ยวกับแฟรนไชส์อะไร จะทำเป็นอาชีพหลักหรือทำเป็นรายได้เสริม จากนั้นรวบรวมสิ่งที่เราคิด ไปปรึกษาพูดคุยกับทางเจ้าของแฟรนไชส์โดยตรง
ซึ่งทุกแฟรนไชส์มีแนวทางพร้อมจะถ่ายทอดให้คนสนใจลงทุนได้มองเห็นภาพรวมการลงทุนที่ชัดเจนขึ้น และนี่คือการทำงานของแฟรนไชส์ที่เป็นมืออาชีพ ไม่ใช่พวกแฟรนไชส์ตัวปลอมที่จ้องจะหลอกเอาแต่เงินของเราเท่านั้น
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)