มาไทยแน่! ร้านค้าปลีกทั่วโลกหลบไป KK Group จากจีน กินรวบ!

เรียกว่าทยอยมาสารพัดทุกรูปแบบสำหรับทุนจีนยุคใหม่ เข้ามาจนล้นทะลัก ไร้ทิศ ไร้ทาง ไร้การควบคุม จนประเทศไทยจะกลายเป็น “มณฑลไท่กั๋ว” ของจีนไปแล้ว

ก่อนหน้านอกจากจะมีแบรนด์ไอศกรีมและชาผลไม้ Mixue, Ai-Cha และ WEDRINK ยังมีแบรนด์ไก่ทอด Zhengxin Chicken Steak ขายเริ่มต้น 15 บาท ไม่นับรวมธุรกิจอื่นๆ อีกสารพัด หมาล่า เหล็ก ถ้วยเซรามิก รถทัวร์ แทบทุกอุตสาหกรรม ขายราคาถูก จนหลายๆ ธุรกิจของไทยแทบจะอยู่ไม่ได้แล้ว

KK Group

ภาพจาก https://www.kkgroup.cn/kkv

ไม่พอแค่นี้ ยังมีอีกแบรนด์เตรียมเปิดสาขาแรกในไทยเร็วๆ นี้ คือ ร้านขายของไลฟ์สไตล์สารพัด KKV ในเครือ KK Group Company Holdings Limited จากกวางตุ้ง ประเทศจีน ที่กำลังยื่น IPO ในฮ่องกง เป็นครั้งที่ 4 มูลค่า 100,000 ล้าน มีข่าวมาแว่วๆ ว่าจะเปิดสาขาแรกที่ The Mall Lifestore บางกะปิ

KK Group เป็นสตาร์ทอัพค้าปลีกจีนแนวใหม่ ยูนิคอร์นม้ามืดประจำปี 2563 ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 ขายสินค้าทางออนไลน์อย่างเดียว ต่อมาเป็นเจ้าของร้านค้าปลีก 4 แบรนด์ คือ KKV (ร้านค้าปลีกไลฟ์สไตล์สารพัด), The Colorist (ร้านค้าปลีกความงามระดับโลก มีทั้งแบรนด์จีน เอเชีย ยุโรป ตะวันตก), X11 (ร้านค้าปลีกของเล่นแนวป๊อปสมัยใหม่ระดับโลก) และ KK Guan (ร้านค้าปลีกไลฟ์สไตล์มินิมาร์ท)

KK Group

ภาพจาก https://www.kkgroup.cn/kkv

ปัจจุบันร้านค้าทุกแบรนด์ในเครือ KK Group มีสาขารวมกันราวๆ 800 แห่งในเมืองสำคัญกว่า 200 เมืองใน 31 มณฑลทั่วจีน อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว เซินเจิ้น หางโจว เฉิงตู ซูโจว เทียนจิน อู่ฮั่น ฉงชิ่ง รวมถึง ในอินโดนีเซีย และมาเลเซียอีกต่างหาก ทำเลเปิดร้านส่วนใหญ่เป็นย่านธุรกิจและห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศ

โดยสิ้นปี 2566 ร้านแบรนด์ KKV มีจำนวน 458 แห่ง ร้านแบรนด์ The Colorist จำนวน 243 แห่ง ร้านแบรนด์ X11 จำนวน 64 แห่ง และร้านแบรนด์ KK Guan จำนวน 35 แห่ง

รูปแบบของร้าน KKV มีทั้งโมเดลเปิดในห้าง และ Standalone ขนาดตั้งแต่ 300-35,000 ตารางเมตร ส่วนใหญ่จะเปิดในห้างขนาดใหญ่ เมื่อปี 2563 ร้านค้า KKV เปิดสาขาที่เซ็นทรัลพาร์ค ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ห้างชื่อดังในอินโดนีเซีย และได้รับกระแสตอบรับดีมาก

KK Group

ภาพจาก https://www.kkgroup.cn/kkv

ร้านค้าปลีกสินค้าไลฟ์สไตล์ KKV ขายสินค้าหลากหลาย 11 หมวด เช่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน อาหาร เครื่องเขียน สกินแคร์ครบวงจร และเครื่องสำอางแฟชั่น ในพื้นที่ขนาดกว่า 300 – 3,500 ตารางเมตร มีจำนวนสินค้ากว่า 20,000 SKU มีทั้งแบรนด์นำเข้าที่กำลังมาแรงและแบรนด์ในจีน KKV เป็นร้านค้าปลีกสไตล์เดียวกับ MINISO นั่นแหละ ขายสินค้าแบบเดียวกันสารพัดอย่าง ทั้ง 2 แบรนด์ยังเป็นคู่แข่งกันในจีนอีกด้วย

กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของ KK Group เป็น GEN Z ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 14 – 35 ปี ดังนั้น KK Group จึงใช้กลยุทธ์ 2 ทาง “สุนทรียศาสตร์ + เทคโนโลยี” เพื่อมอบประสบการณ์การช็อปปิ้งรูปแบบใหม่ ที่มีรูปลักษณ์และล้ำสมัยสูง เพื่อสนองความต้องการมีวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่ดีขึ้น

KK Group

ภาพจาก https://www.kkgroup.cn/kkv

สำหรับในประเทศไทยร้านค้าสารพัด KKV น่าจะอยู่ภายใต้การบริหารของมีบริษัท เคเควี ซัพพลาย เชน จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2567 ทุนจดทะเบียน 190 ล้านบาท โดยมีนายชิน กวานกุ้ย และนางสาวธิตานันท์ ซุน มีรายชื่อเป็นกรรมการ คาดว่าเตรียมจะเปิดสาขาแรกในไทยไม่ช้าก็เร็วๆ นี้ ต้องติดตามดูต่อไป

สุดท้าย ไม่ว่าเราจะมองไปทางไหน ก็เจอแต่ธุรกิจที่เป็นทุนจีนไปหมด ถ้าผู้บริโภคคนไทยเห็นแก่ของถูกจากต่างประเทศ พอเข้าใจในยามเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ แต่ในวันข้างหน้าเชื่อว่าสินค้าและธุรกิจของคนไทยอาจไม่เหลืออะไรเลย คาดว่าอาจซึมยาว ยิ่งเศรษฐกิจไม่ดีด้วย ได้ผลกระทบไปทั่วทุกพื้นที่ ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวให้เร็วเพื่ออยู่รอดไปก่อน

ภาพจาก https://www.kkgroup.cn/kkv

ข้อมูลจาก

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช