มาแล้ว! 11 วัคซีนแฟรนไชส์ ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ หากต้องการอยู่รอด

มีคำถามว่าธุรกิจแฟรนไชส์ควรทำอย่างไร ในการปรับตัวและรับมือกับวิกฤติโควิด-19 เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับธุรกิจ ไม่ว่าจะเกิดวิกฤติอะไร หรือมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรในอนาคต

ธุรกิจจะสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างยั่งยืน หากผู้ประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อยากอยู่รอด วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มี วัคซีนแฟรนไชส์ มาฉีดให้กับธุรกิจของท่านครับ

1.ปรับโมเดลธุรกิจ

วัคซีนแฟรนไชส์

ภาพจาก แฟรนไชส์ กะหรี่ปั๊บไส้ไก่ สูตรแชมป์ประเทศไทย

จากเดิมรูปแบบร้านขนาดใหญ่เปิดในห้างสรรพสินค้า ควรปรับโมเดลธุรกิจให้เล็กลง ใช้เงินลงทุนต่ำลง อาจปรับเป็นหน้าร้านแบบรถเข็น คีออส หรือ Food Truck ย้ายทำเลออกนอกห้าง เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และผู้สนใจลงทุนได้ง่ายขึ้น

2.เพิ่มช่องทางการขาย

วัคซีนแฟรนไชส์

ภาพจาก แฟรนไชส์ กีฟว มี โกโก้

เปลี่ยนการขายจากเดิมมีเฉพาะหน้าร้าน เป็นทั้งออฟไลน์และออนไลน์ อาจเปลี่ยนเป็นไลฟ์สด ปรับบริการเป็นเดลิเวอรี่มากขึ้น และเพิ่มเมนูให้หลากหลายขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกและเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น

3.พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

วัคซีนแฟรนไชส์

ภาพจาก แฟรนไชส์ กัญชาง

เจ้าของแฟรนไชส์ควรปรับรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดรับกับกำลังซื้อผู้บริโภค เช่น ปรับขนาด ลดราคา ให้เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ออกมาสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง

4.ใช้เทคโนโลยีจัดการ

วัคซีนแฟรนไชส์

ภาพจาก แฟรนไชส์ เบสท์ เอ็กซ์เพรส

เจ้าของแฟรนไชส์ควรปรับปรุงด้านการบริหารจัดการธุรกิจ โดยนำเอาเทคโนโลยีและระบบต่างๆ เข้ามาใช้ทั้งด้านการเก็บข้อมูล การจัดการด้านต้นทุน จัดส่ง ระบบ Inventory แรงงาน การตลาด การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น

5.บริหารอย่างระมัดระวัง

วัคซีนแฟรนไชส์

ภาพจาก แฟรนไชส์ ฮิปสเตอร์ สเต็ก

ช่วงการระบาดโควิด-19 เจ้าของแฟรนไชส์ต้องบริหารงานธุรกิจด้วยความระมัดระวังมากขึ้น พัฒนาทีมงานในแต่ละแผนกให้แข็งแกร่งมากขึ้น พร้อมให้การช่วยหลือแฟรนไชส์ซีต่อเนื่อง มีระบบการคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์ที่เข้มข้น ไม่เร่งขยายสาขา รวมถึงให้ความรู้กับพนักงานในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยในสุขภาพและสุขอนามัยในร้าน

6.ควบคุมต้นทุนและระบบหลังร้าน

6

ภาพจาก แฟรนไชส์ ปังอั้ยยะ

เจ้าของแฟรนไชส์ควรให้ความสำคัญกับระบบหลังร้าน ต้องทำการควบคุมสต็อก ต้นทุนค่าใช้จ่าย และแรงงาน อัพเกรดระบบการจัดการคลังสินค้า การจัดการวัตถุดิบ ทำอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งในด้านการจัดส่งและจัดเก็บ

7.พัฒนาระบบ CRM รักษาลูกค้า

5

ภาพจาก แฟรนไชส์ กาแฟเขาทะลุชุมพร

เจ้าของแฟรนไชส์พัฒนาระบบ CRM เพื่อให้การสื่อสารกับลูกค้าในระบบสมาชิก ช่วยให้สามารถวางแผนการส่งเสริมการขายให้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น นอกจากนี้ต้องมาคิดเรื่องการบริหารจัดการ มีการปรับขนาดแพ็กเกจจิ้งให้เหมาะสม

8.วางแผนทางด้านการเงิน

4

ภาพจาก แฟรนไชส์ กลับตานี (โรตีชาชักกัญชาเจ้าแรกในประเทศไทย)

จัดการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ต้นทุนต่างๆ หนี้สินที่ต้องจ่าย คำนวณค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือน มีเงินสดจำนวนเท่าไร มีกำลังเพียงพอที่จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจหรือไม่ ดังนั้น หมั่นตรวจสอบสถานะการเงินทุกสัปดาห์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำมาวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนการบริหารจัดการเงินสด เพื่อนำไปใช้จ่ายต่อไปได้

9.สร้างแบรนด์ให้ชัดเจน

3

ภาพจาก แฟรนไชส์ ราชาลิง

การสร้างแบรนด์ให้ชัดเจนมีความโดดเด่น แตกต่าง ที่สำคัญเจ้าของแฟรนไชส์ต้องรู้จักตัวตนของธุรกิจ เช่น ธุรกิจเป็นแบบไหน เจาะลูกค้ากลุ่มไหน พิเศษอย่างไร นำเสนออัตลักษณ์แบรนด์ออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ทำอะไร ขายที่ไหน พิเศษอย่างไร

10.มาตรฐานแฟรนไชส์

2

ภาพจาก แฟรนไชส์ มาโนอิ

ช่วงวิกฤติโควิด-19 การรักษามาตรฐานของระบบแฟรนไชส์เป็นองค์ประกอบสำคัญหากต้องการอยู่รอด และดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการได้ โดยเจ้าของแฟรนไชสฺต้องหมั่นตรวจสอบร้านเครือข่ายแฟรนไชส์อย่างสม่ำเสมอ ทั้งระบบการปฏิบัติงาน คุณภาพของสินค้า และมาตรฐานการให้บริการ เพื่อให้ทุกสาขามีมาตรฐานเดียวกัน

11.สร้างความสัมพันธ์

1

ภาพจาก แฟรนไชส์ สติวปิด ฟราย

ในช่วงวิกฤติแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีต้องมีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ช่วยเหลือเท่าที่ทำได้และพึ่งพาอาศัยกัน ตลอดจนให้คำปรึกษาหรือแม้แต่การให้กำลังใจกัน โดยเฉพาะแฟรนไชส์ซอร์จำเป็นต้องติดตามสอบถามปัญหาของแฟรนไชส์ซีอยู่เสมอ เพราะรูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ต้องพึ่งพาอาศัยกัน คิดไว้เสมอ เขาอยู่รอด เราก็รอดด้วย

นั่นคือ 11 วัคซีนแฟรนไชส์ ที่เจ้าของธุรกิจต้องรู้ หากต้องการอยู่รอดในยุคโควิด-19

Franchise Tips

  1. ปรับโมเดลธุรกิจ
  2. เพิ่มช่องทางการขาย
  3. พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
  4. ใช้เทคโนโลยีจัดการ
  5. บริหารอย่างระมัดระวัง
  6. ควบคุมต้นทุนและระบบหลังร้าน
  7. พัฒนาระบบ CRM รักษาลูกค้า
  8. วางแผนทางด้านการเงิน
  9. สร้างแบรนด์ให้ชัดเจน
  10. มาตรฐานแฟรนไชส์
  11. สร้างความสัมพันธ์

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2V9JBz6

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช