มาแน่! Vending Machine แทนที่ร้านสะดวกซื้อ
ตลาดค้าปลีกเมืองไทยปี 2567 คาดว่ามีมูลค่า 4.4 ล้านล้านเติบโต 3 – 5 % เมื่อเทียบจากปีที่ผ่านมาซึ่งความน่าสนใจที่ถูกพูดถึงในช่วง 4 – 5 ปีที่ผ่านมา คือกระแสของ Vending Machine ที่ตอนนี้ก็ยังมาแรงไม่เลิกย้อนไปดูตัวเลขในปี 2018 ขณะนั้นประเทศไทยมีประชากรประมาณ 67 ล้านคน แต่มีตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติเพียง 25,000 ตู้เท่านั้น
ขยับมาในปี 2020 การขยายตัวของ Vending Machine ยังโตต่อเนื่องนับรวมได้มากกว่า 10 แบรนด์ กับจำนวนตู้ที่เพิ่มขึ้นเป็น 30,000 ตู้ทั่วประเทศมีมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท
มาถึงปี 2567 ภาพรวมของ Vending Machine ก็ยิ่งชัดเจน ปัจจุบันมีตู้สะดวกกดสารพัดสินค้า ทั้งขนม เครื่องดื่ม ยาสามัญ เสื้อผ้า ของเล่น อุปกรณ์ช่าง อาหารเพื่อสุขภาพ สินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ รวมทั้งธุรกิจค้าปลีก ร้านค้า 7-Eleven, โลตัส ก็ขยายช่องทางขายผ่านตู้อัตโนมัติเช่นกัน มีหลายปัจจัยที่ทำให้ Vending Machine มาแรง ได้แก่
การซื้อของแบบลดการสัมผัส
ซึ่งตั้งแต่โควิดแพร่ระบาด ระดับของสุขอนามัยของเราก็เพิ่มขึ้นจนถึงขั้นที่หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบุคคลอื่นให้น้อยที่สุด
คนนิยมจ่ายเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์
เป็นเทรนด์สะดวกที่ทำให้คนไม่ต้องพกเงินสด สอดคล้องกับบริการของตู้อัตโนมัติที่รับชำระได้หลายรูปแบบเช่น QR code , e-wallet , Alipay และ PromptPay เป็นต้น
เทรนด์สะดวกมาแรง
จุดเด่นของตู้กดสินค้าอัตโนมัติคือทำงานตลอด 24 ชม.ตอบโจทย์เทรนด์สะดวกของคนได้อย่างดีซึ่งอพาร์ทเม้น , หอพัก บางแห่งอยู่ไกลร้านสะดวกซื้อ หรือตอนดึกๆ ไม่อยากเดินไปซื้อก็เลือกใช้บริการตู้กดอัตโนมัติได้
เครื่องมือการตลาดของบริษัท
การวางตู้ขายสินค้าอัตโนมัติไม่ใช่จะส่งผลดีแค่เรื่องการเข้าถึงของลูกค้า แต่ยังเป็นเรื่องการสร้างการรับรู้ที่ลูกค้ามีต่อ
แบรนด์ยิ่งวางตู้กดในหลายพื้นที่คนก็ยิ่งเห็นมาก คล้ายกับกรณีตู้เต่าบินที่ไม่ว่าจะเดินไปที่ไหน เราก็จะพบเห็นจนทำให้เกิดการจดจำได้
ในประเทศไทยมีตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติที่คนส่วนมากคุ้นเคยอยู่หลายประเภท โดยอาจจัดแบ่งได้ ดังนี้
- ตู้รวมสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ เช่น ‘CP Retailink’ ในเครือเจริญโภคภัณฑ์, ‘ซันร้อยแปด’ จากเครือสหพัฒน์ และ ‘6.11’ จาก Sabuy Technology เป็นต้น
- ตู้เครื่องดื่มจากแบรนด์เครื่องดื่ม เช่น ‘TG Vending’ โดย TCP Group และตู้จากบริษัทโอสถสภา
- ตู้จำหน่ายสินค้าเฉพาะประเภทหรือแบรนด์ เช่น Kewpie (จำหน่ายสลัดและน้ำสลัด), Naraya (จำหน่ายกระเป๋า), Sabina (จำหน่ายชุดชั้นในและมาสก์), นันยาง (จำหน่ายรองเท้าแตะ) และ GMM Grammy (จำหน่ายแผ่นเพลง)
- ตู้ที่มีการปรุงหรือชง เช่น ‘เต่าบิน’ เครื่องชงกาแฟและเครื่องดื่มอัจฉริยะจากบริษัท Forth
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายตู้สินค้าอัตโนมัติที่ฮิตมาก เช่น ตู้กาแฟหยอดเหรียญ ,ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ ,เครื่องล้างรถอัตโนมัติ ,เครื่องซักผ้าอัตโนมัติ , ตู้กดอาหารเพื่อสุขภาพ , ตู้บุญเติม , ตู้กดน้ำดื่ม หรือแม้แต่ EV charger ก็ถือเป็นตู้บริการแบบอัตโนมัติอีกประเภทหนึ่งเช่นกัน
คำถามที่น่าสนใจที่หลายคนก็อยากรู้ว่าถ้า Vending Machine มาแรงขนาดนี้จะมีโอกาสมาแทนร้านสะดวกซื้อได้ไหม?
ถ้ามองในแง่การลงทุน Vending Machine ใช้งบลงทุนน้อยกว่าถ้าเทียบกับการสร้างร้านสะดวกซื้อ แน่นอนว่าประหยัดงบในส่วนของค่าก่อสร้างร้าน , ค่าเช่าพื้นที่ , ค่าจ้างพนักงาน , ระบบบริหารจัดการ รวมๆแล้ว สมมุติว่าลงทุนสร้างร้าน 1 ล้านบาท น่าจะลงทุน Vending Machine ได้อย่างน้อย 2-3 เครื่อง (ขึ้นอยู่กับประเภทการลงทุนที่เลือก)
แต่ใช่ว่า Vending Machine จะไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เลย เราต้องไม่ลืมเรื่องค่าบำรุงรักษา , ค่าเช่าพื้นที่ในการติดตั้ง , ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมถึงต้องยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับตู้ ซึ่งบางบริษัทก็มีระบบในการดูแลเรื่องนี้ให้กับผู้ลงทุนด้วยเช่นกัน
รายได้ของ Vending Machine ขึ้นอยู่กับประเภทการลงทุนที่เลือก ยกตัวอย่าง แคท คาร์วอช แฟรนไชส์ตู้ล้างรถแบบหยอดเหรียญ ลงทุนเริ่มต้นที่ 199,000 บาทได้ตู้แคท คาร์วอช จำนวน 3 ตู้ พร้อมอุปกรณ์+การดูแลต่างๆ โอกาสคืนทุนประมาณ 18- 24 เดือน โดยขึ้นอยู่กับทำเลเป็นสำคัญ
หรือ อย่าง นำโชคลอตเตอรี่ แฟรนไชส์ตู้ขายลอตเตอรี่อัตโนมัติที่พร้อมสร้างรายได้หลายทางทั้งการขายลอตเตอรี่ผ่านเครื่อง , การขายผ่านออนไลน์ สร้างรายได้ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน ไม่ต้องสต็อคลอตเตอรี่ มีระบบบริหารจัดการให้พร้อมเป็นต้น
มองในเรื่องของรายได้นี่คือการลงทุนแบบ Passive income สร้างรายได้ 24 ชม.ที่น่าสนใจ แต่ถ้าถึงขนาดให้แทนที่ร้านสะดวกซื้อคงไม่ก้าวไปถึงขั้นนั้น เพราะอย่างไรแล้ว อารมณ์ ความรู้สึก ของร้านสะดวกซื้อก็ยังเป็นที่ต้องการของลูกค้าส่วนใหญ่
ข้อจำกัดของ Vending Machine คือสินค้าที่มีความจำเพาะ ต่างจากบรรดาร้านค้าปลีก ร้านสะดวกซื้อที่มีสินค้าหลากหลายมากกว่า ในอนาคตน่าจะเป็นการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่าง Vending Machine และร้านสะดวกซื้อ ที่จะเติบโตไปคู่กัน แน่นอนว่าผลดีก็คือลูกค้าที่มีโอกาสในการเลือกใช้บริการได้ทั้ง 2 แบบ
รู้หรือไม่!
Vending Machineg เริ่มต้นในสมัยโรมันอียิปต์ หลังจากนั้นในประเทศอังกฤษช่วงปี ค.ศ.1615 มีเครื่องจำหน่ายยาสูบอัตโนมัติในร้านเหล้าตามมาด้วยเครื่องจำหน่ายหนังสือพิมพ์และเครื่องจำหน่ายแสตมป์ไล่เรียงตามลำดับ
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan