มหากาพย์สงครามกาแฟ ดังกิ้น vs สตาร์บัคส์

สตาร์บัคส์ (Starbucks) คือ ตัวแทนของแบรนด์ร้านกาแฟระดับโลก ซึ่งต้องแข่งขันกับคู่แข่งหลากหลายแบรนด์ดังทั่วโลก โดยเฉพาะแบรนด์ดังในประเทศสอย่าง Dunkin’ รวมถึงแบรนด์ท้องถิ่นในแต่ละประเทศ โดยเฉพาะ Luckin Coffee ของจีน

แต่ถึงอย่างไร สตาร์บัคส์ขยายไปที่ไหนก็มั่นใจแล้วว่า สามารถแข่งขันได้ไม่เป็นรองใคร โดยมีทั้งความแข็งแกร่งของการเป็นแบรนด์ร้านค้า และแบรนด์สินค้า ที่สามารถเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภคในธุรกิจกาแฟมายาวนาน

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com มีข้อมูลการวิเคราะห์มานำเสนอเกี่ยวกับ Dunkin’ และ Starbucks ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของตลาดกาแฟในอเมริกา แม้ว่า Starbucks มีเป้าหมายก้าวออกไปเติบโตในเมืองจีน

แต่มีโอกาสเจออุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะคู่แข่งท้องถิ่น Luckin Coffee รวมถึงอาจได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จึงน่าจะส่งผลให้ Dunkin’ มีความได้เปรียบอยู่มากในการทำตลาดในอเมริกา อีกทั้ง Dunkin’ สามารถขยายสาขาได้รวดเร็ว เพราะขายแฟรนไชส์เกือบทั้งหมด ส่วน Starbucks ขายแฟรนไชส์สัดส่วนเท่ากับบริษัทบริหารเอง

Starbucks ออกไปเติบโตในบึงใหญ่

สตาร์บัคส์

ภาพจาก bit.ly/2WTUdm2

Starbucks แบรนด์กาแฟระดับโลกประกาศรุกตลาดจีนเต็มรูปแบบ หวังดันรายได้เพิ่มขึ้น 3 เท่าภายใน 5 ปีนี้ โดย เควิน จอห์นสัน (Kevin Johnson) ซีอีโอของ Starbucks ประกาศที่งานประชุมใหญ่สำหรับนักลงทุนที่ประเทศจีนว่า

บริษัทตั้งเป้าขยายธุรกิจให้เข้มข้นขึ้น โดยจะเปิดสาขาใหม่ทุก 15 ชั่วโมง หรือปีละเกือบ 600 สาขาจนถึงปี 2022 เพื่อชิงพื้นที่เชนร้านอาหารจากต่างประเทศที่โตเร็วที่สุดในจีน โดยตั้งเป้าเปิดร้านให้ได้ถึง 6 พันสาขา จากเดิมที่ตั้งเอาไว้ที่ 5 พันสาขาในปี 2021

9

ภาพจาก bit.ly/31L19As

สิ่งที่เป็นตัวเสริมแรงที่ดี คือ ดีลล่าสุดที่ Nestle จับมือเป็นพันธมิตรกับ Starbucks ด้วยดีล 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ จะทำให้แบรนด์กาแฟชื่อดังมีเงินสดมากพอ ที่จะใช้รุกตลาดจีนสุดกำลัง

และตั้งเป้าหมายให้แดนพญามังกรเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Starbucks ภายใน 10 ปีนี้ จากข้อมูลปี 2017 ปัจจุบันรายได้ที่มาจากตลาดประเทศจีนและเอเชียแปซิฟิกคิดเป็น 15% ของรายได้ทั้งหมด ที่ 3.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ

8

ภาพจาก bit.ly/2XZJlQ1

สิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบสำคัญคือ Nestle สามารถขายสินค้ากาแฟแบรนด์ Starbucks ได้ในช่องทางที่ตนถนัด ทั้งซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และบริการจัดเลี้ยง

ซึ่งเดิมไม่เคยทำตลาดส่วนนี้มาก่อน Nestle มีช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน 1.5 ล้านร้านค้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับการสร้างการรับรู้และขยายตลาดของ Starbucks ได้

Starbucks โตในจีนไม่ใช่เรื่องง่าย

7

ภาพจาก bit.ly/2ZA2ybc

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายของ Starbucks ในตลาดจีน อาจต้องเผชิญกับปัญหาสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ รวมถึงแข่งขันกับแบรนด์กาแฟท้องถิ่นที่กำลังมาแรงอย่าง Luckin Coffee ที่ได้ IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ระดมทุนได้ถึง 561 ล้านดอลลาร์ ทำให้ LK กลายเป็นหุ้น IPO บริษัทสัญชาติจีนที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้

สาเหตุสำคัญที่หุ้น LK เป็นที่ต้องการของนักลงทุนในตลาดหุ้น NASDAQ ซึ่งเป็นตลาดหุ้นเดียวกับที่ Starbucks ทำการซื้อขายอยู่ อาจมาจากนิยามของ Luckin ที่ว่า “Starbucks’ Challenger” หรือ “Starbucks of China”

บ้างก็มองว่ามาจากความเป็น Unicorn มูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ และความใหญ่เป็นอันดับสองในตลาดร้านกาแฟจีน รวมถึงแผนล้ม “ช้าง” อย่าง Starbucks ภายในปีนี้

6

ภาพจาก bit.ly/2KrY17g

ก้าวแรกแห่งชัยชนะ Luckin ตั้งใจจะขยายสาขา เพื่อมีจำนวนมากกว่าแบรนด์กาแฟยักษ์ใหญ่จากอเมริกาให้ได้ภายในปีนี้ ปัจจุบัน (ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2019) Luckin มีสาขากว่า 2,370 สาขาใน 28 เมือง มีแผนจะเปิดสาขาใหม่อีก 2,500 สาขาในปีนี้ เพื่อจะมีจำนวนสาขารวมทั้งสิ้นกว่า 4,500 สาขาทั่วประเทศจีน

ขณะที่ Starbucks ปัจจุบันมี 3,789 สาขาใน 150 เมืองทั่วประเทศจีน ภายในสิ้นปี 2019 วางเป้าหมายเปิดให้ถึง 4,121 สาขาในจีน โดยใน 5 ปีนี้ (ปี 2017-2022) บริษัทมีแผนเปิดสาขาใหม่ปีละ 600 สาขา และตั้งเป้าจำนวนให้ได้ 6,000 สาขาใน 230 เมือง ณ เดือนมี.ค. 2023

เพื่อที่จะต่อสู้กับ Starbucks อย่างสมน้ำสมเนื้อ Luckin ทุ่มเทอย่างหนักในการขยายสาขา ปรับปรุงบริการด้วยเทคโนโลยีและแอพพลิเคชั่น และโหมจัดโปรโมชั่นร้อนแรง ซึ่งแลกมาด้วยรายจ่ายมหาศาล นี่คือความท้าทายของ Starbucks ในขณะนี้

Dunkin’ ขอท้าชิงตลาดกาแฟในอเมริกา

5

ภาพจาก bit.ly/2MYyO6q

มีรายงานว่า รายได้ของ Dunkin’ เพิ่มขึ้น 3.4% สำหรับตลาดในอเมริกา และเพิ่มขึ้น 13% ตลาดต่างประเทศ จากยอดขายปี 2017 จนถึงปี 2018 หลังจากที่บริษัทได้รีแบรนด์ใหม่ พัฒนาเมนูใหม่ๆ ออกมาตอบโจทย์ลูกค้าต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่มต่างๆ เปิดร้านได้ทั้งแบบขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก และซุ้มบริการตนเอง ที่มีอยู่ในพื้นที่วิทยาลัยสนามบินและสำนักงาน

“ดังกิ้น โดนัท” ร้านโดนัทที่ใหญ่สุดในอเมริกา ตัดคำว่าโดนัทออกเหลือเพียง ”ดังกิ้น” พร้อมปรับโฉมร้านใหม่ ทั้งเพิ่มไลน์เครื่องดื่มเย็นแบบกดจากเครื่อง จัดมุมที่มีโต๊ะเก้าอี้ให้ลูกค้านั่งดื่มกิน ทั้งหมดทั้งปวงมาจากกลยุทธ์การ rebranding ของบริษัท ที่ต้องการปรับภาพลักษณ์ เพื่อฉีกภาพจำการเป็นแบรนด์โดนัท ไปเน้นที่ธุรกิจเครื่องดื่มโดยเฉพาะกาแฟแทน

4

ภาพจาก bit.ly/2KrY17g

ปัจจุบันผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม โดยเฉพาะกาแฟ สามารถสร้างรายได้ให้ดังกิ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60 ของยอดขายทั้งหมด แม้ว่าดังกิ้นจะหันไปเอาดีด้านธุรกิจเครื่องดื่ม

แต่ในส่วนของโดนัท บริษัทก็ยังให้ความสำคัญอยู่เช่นเดิม เนื่องจากยังสามารถทำยอดขายได้ปีละมากกว่า 3,000 ล้านชิ้น หลังจากที่ทยอยเปลี่ยนป้ายชื่อร้านใหม่ทั่วโลก

3

ภาพจาก bit.ly/2Ith8fb

ภายในร้านดังกิ้นโฉมใหม่ นอกเหนือจากการติดตั้งระบบสั่งสินค้าผ่านจอดิจิทัล รวมถึงโมบายแอพฯ และการเพิ่มโต๊ะเก้าอี้ให้ลูกค้าได้นั่ง ที่โดดเด่นสุดเห็นจะเป็นบาร์เครื่องดื่มเย็นที่กดจากเครื่อง โดยมีหลากหลายชนิดให้เลือก

ได้แก่ กาแฟสกัดเย็น กาแฟสกัดเย็นอัดไนโตรเจนที่ให้ฟองนุ่มเหมือนเบียร์ กาแฟปลอดคาเฟอีน กาแฟแบบคั่วเข้ม กาแฟสายพันธุ์เดียวจากแหล่งปลูกเดียว ไปจนถึงกาแฟเย็น และชาเย็น และดูเหมือนกาแฟหลากหลายชนิดที่ดังกิ้นนำเสนอจะเป็นที่ถูกปากผู้บริโภคไม่น้อย

แน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนที่กำลังเกิดขึ้น เป็นการท้าชนสตาร์บัคส์ ซึ่งเป็นเจ้าในตลาดกาแฟ แม้จะก่อตั้งหลังดังกิ้นถึง 20 ปี แต่สตาร์บัคส์กลับเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้ธุรกิจของสตาร์บัคส์มีขนาดใหญ่กว่าดังกิ้น

โดยในปี 2017 ที่ผ่านมา สตาร์บัคส์ทำรายได้กว่า 2,200 ล้านดอลลาร์จากทั้งหมด 28,209 สาขาทั่วโลก ในขณะที่ดังกิ้นทำยอดขาย 860 กว่าล้านดอลลาร์จาก 20,500 สาขา เมื่อเทียบจำนวนสาขาเฉพาะในตลาดสหรัฐฯ สตาร์บัคส์มี 14,000 แห่ง ส่วนดังกิ้นมีเกือบ 9,200 สาขา

ฟาสต์ฟู้ดอเมริกาแย่งลูกค้าด้วยโมบายแอปฯ

2

ภาพจา bit.ly/2FlS4V8

ทั้งนี้ แฟรนไชส์ร้านฟาสต์ฟู้ดและเครื่องดื่มอเมริกาได้ให้ความสำคัญอย่างมาก ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชั่น เพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น มีความสะดวกสบาย โดยในปี 2018 สตาร์บัคส์มีลูกค้าใช้โมบายแอปฯ กว่า 449,000 ราย, แมคโดนัลด์ 276,000 ราย, ดังกิ้น 152,000 ราย และ โดมิโน่พิซซ่า 101,000 ราย

สรุประหว่าง สตาร์บัคส์ และ ดังกิ้น ใครจะได้เปรียบเสียเปรียบในตลาดกาแฟของอเมริกา และการเติบโตของของบริษัท แม้ว่าสตาร์บัคส์จะมีตลาดที่กว้างใหญ่อย่างจีน

แต่สตาร์บัคส์จะต้องแข่งขันกับแบรนด์ท้องถิ่นของจีนอย่าง Luckin Coffee ที่พร้อมเทหมดหน้าตักสู้ยิบตา อีกทั้งไม่รู้ว่าสตาร์บัคส์จะได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ หรือไม่ เพราะบางทีผู้บริโภคชาวจีนอาจตอบโต้ด้วยการไม่ใช้บริการแบรนด์ที่มาจากอเมริกาก็ได้

1

ภาพจาก bit.ly/2KrY17g

เหมือนเช่นกรณีหุ้นร่วงหนักของ “แอ๊ปเปิ้ล อิงค์” ในประเทศจีนเมื่อต้นเดือนมกราคม 2562 หลังบริษัทเตือนว่า ยอดขายไอโฟนในจีนต่ำกว่าคาด เนื่องจากภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน และกูรูหลายคนคาดว่า คิวต่อไปอาจเป็น “สตาร์บัคส์”

แต่ถึงอย่างไร ยังไม่ชัดเจนว่าสงครามการค้า จะมีผลกระทบโดยตรงกับการจำหน่ายสินค้าแบรนด์สหรัฐในจีนอย่างไร แต่นักวิเคราะห์ในวอลล์สตรีทหลายคนเชื่อว่า ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลกำลังเผชิญกับกระแส “คว่ำบาตรอย่างไม่เป็นทางการ” และก็ไม่รู้ว่า “สตาร์บัคส์” จะประสบชะตากรรมเช่นเดียวกันหรือไม่ ต้องรอติดตามดู นั่นจึงทำให้ “ดังกิ้น” ได้เปรียบอยู่บ้างครับ


คุณผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจแฟรนไชส์และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

01

อ่านบทความอื่นๆ จากไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ www.thaifranchisecenter.com/document
เลือกซื้อแฟรนไชส์ไทยขายดี เปิดร้าน www.thaifranchisecenter.com/directory/index.php

อ้างอิงข้อมูล
bit.ly/2KrY17g

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2U3PtJH

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช