มหากาพย์! รูปแบบแฟรนไชส์ขยายต่างประเทศอย่างแท้จริง

จากกรณีแฟรนไชส์แซนด์วิชดัง Subway โดนลูกค้าร้องเรียนในเรื่องคุณภาพอาหาร, วัตถุดิบขาด, กระดาษห่อไม่มีพิมพ์ลาย Subway, กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ฯลฯ จนกลายเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง หลังจากนั้นแบรนด์แฟรนไชส์แซนด์วิชชื่อดังออกมาชี้แจงได้ยกเลิกสิทธิการให้แฟรนไชส์กว่า 105 สาขา ตั้งแต่วันที่ 26 กค. 2567 หลังจากที่ PTG ได้จ่ายเงิน 35 ล้านบาท เพื่อรับสิทธิบริหารแฟรนไชส์ร้านแซนด์วิช Subway ต่อจากบริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด

ปัญหาที่เกิดขึ้นถือเป็นกรณีศึกษาให้กับแบรนด์แฟรนไชส์ที่คิดจะขยายสาขาไปต่างประเทศ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาขึ้นมาดูกันว่า ธุรกิจที่จะขยายสาขาไปต่างประเทศ ควรเลือกวิธีการให้สิทธิแฟรนไชส์แก่นักลงทุนในต่างประเทศแบบไหนดีที่สุด

1. Single Unit Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

Single Unit Franchise (แฟรนไชส์แบบหน่วยเดียว) คือ รูปแบบแฟรนไชส์ ที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) จะได้รับสิทธิในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่หรือสถานที่เดียว โดยมุ่งเน้นการเปิดและดำเนินการร้านหรือสถานประกอบการแฟรนไชส์ในสถานที่ที่เลือกหนึ่งแห่งเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบ Multi-Unit Franchise ที่อนุญาตให้เปิดหลายสาขาในหลายพื้นที่

คุณลักษณะของ Single Unit Franchise

  • พื้นที่จำกัด ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิในการเปิดร้านในสถานที่หนึ่งหรือสาขาหนึ่ง ซึ่งจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของเจ้าของแฟรนไชส์ เช่น ขนาดพื้นที่, พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ หรือจำนวนประชากรในพื้นที่
  • การควบคุมง่าย เนื่องจากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์เปิดสาขาเดียว การบริหารจัดการจะง่ายขึ้น เมื่อเทียบกับเปิดหลายสาขา
  • ข้อจำกัดในการขยาย ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในรูปแบบนี้จะไม่สามารถขยายได้หลายสาขาโดยไม่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าของแฟรนไชส์ เว้นแต่จะเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบ Multi-Unit Franchise

ข้อดีของ Single Unit Franchise

  • ความสะดวกในการบริหาร ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์สามารถมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจที่สาขาเดียวได้เต็มที่
  • ค่าใช้จ่ายต่ำ การลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะต่ำเมื่อเทียบกับการเปิดหลายสาขา

ข้อเสียของ Single Unit Franchise

  • ข้อจำกัดในการขยายสาขา หากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องการขยายสาขาในอนาคต จะต้องได้รับการอนุมัติจากเจ้าของแฟรนไชส์ และอาจต้องมีเงื่อนไขเพิ่มเติม
  • กำไรจำกัด ธุรกิจจะมีกำไรจากสาขาเดียว ไม่มีการกระจายความเสี่ยงจากหลายสาขา
  • มีความเสี่ยง หากสาขาที่เปิดประสบปัญหาหรือไม่ประสบความสำเร็จ จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยรวม

ดังนั้น Single Unit Franchise เป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์โมเดลร้านขนาดเล็ก เป็นแฟรนไชส์สร้างอาชีพ ต้องการมุ่งเน้นการดำเนินงานในพื้นที่เดียว ก่อนที่จะตัดสินใจขยายธุรกิจในอนาคต


2. Multi-Unit Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

Multi-Unit Franchise คือ รูปแบบแฟรนไชส์ ให้สิทธิแฟรนไชส์ที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) สามารถเปิดและดำเนินธุรกิจได้หลายสาขาในพื้นที่หรือภูมิภาคที่ได้รับอนุญาต โดยทั่วไปแล้ว Multi-Unit Franchise จะใช้เมื่อผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพในการบริหารจัดการหลายสาขา

คุณลักษณะของ Multi-Unit Franchise

  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะได้รับสิทธิในการเปิดหลายสาขาภายใต้เงื่อนไขและข้อกำหนดของเจ้าของแฟรนไชส์ ซึ่งอาจมีการกำหนดจำนวนสาขาที่ต้องเปิดในระยะเวลาที่กำหนด เช่น เปิด 3-5 สาขาภายใน 5 ปี
  • การเปิดหลายสาขาทำให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ต้องเตรียมเงินลงทุนและทรัพยากรในการบริหารจัดการสาขาหลายแห่ง ซึ่งมักจะสูงกว่าในรูปแบบ Single Unit Franchise
  • การบริหารหลายสาขาอาจมีความท้าทายมากขึ้น เนื่องจากต้องดูแลการดำเนินงานในหลายแห่งพร้อมกัน และอาจมีความซับซ้อนในด้านการจัดการบุคลากร การบริหารสต็อกสินค้า, การตลาด ฯลฯ
  • เจ้าของแฟรนไชส์จะให้การสนับสนุนด้านการฝึกอบรมที่เข้มข้นขึ้น รวมถึงการบริหารจัดการหลายสาขา และการสนับสนุนด้านการตลาดเพื่อให้มั่นใจว่าทุกสาขาจะดำเนินงานตามมาตรฐานที่กำหนด

ข้อดีของ Multi-Unit Franchise

  • การเปิดหลายสาขาช่วยให้ธุรกิจขยายอย่างรวดเร็ว และสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในพื้นที่ต่างๆ ได้เร็ว
  • ธุรกิจจะมีการกระจายความเสี่ยง หากสาขาใดสาขาหนึ่งประสบปัญหาหรือไม่ทำกำไร สาขาอื่น ๆ สามารถช่วยชดเชยได้
  • การเปิดหลายสาขาจะมีผลตอบแทนทางการเงินที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการเปิดสาขาเดียว

ข้อเสียของ Multi-Unit Franchise

  • เปิดหลายสาขาต้องใช้เงินลงทุนที่สูงกว่าการเปิดสาขาเดียว รวมถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและการขยายสาขา
  • การเปิดหลายสาขาอาจท้าทายมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการรักษามาตรฐาน การควบคุมคุณภาพสินค้า การฝึกอบรมพนักงาน ฯลฯ
  • ความเสี่ยงที่สูงขึ้น หากสาขาหนึ่งประสบปัญหา ความเสี่ยงในทางการเงินจะสูงขึ้น เนื่องจากมีสาขาหลายแห่งที่ต้องดูแล

สรุป Multi-Unit Franchise เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่มีศักยภาพในการลงทุนสูง และมีความสามารถในการบริหารจัดการหลายสาขาได้ หากต้องการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วและเพิ่มรายได้จากการเปิดหลายสาขาในเวลาเดียวกัน รูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจแฟรนไชส์ในระยะยาว และมีการสนับสนุนที่มั่นคงจากเจ้าของแฟรนไชส์


3. Sub-Area Development Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

Area Development Franchise (แฟรนไชส์แบบพัฒนาพื้นที่) คือ รูปแบบแฟรนไชส์ ที่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) ได้รับสิทธิในการเปิดหลายสาขาภายในพื้นที่หรือภูมิภาคที่กำหนด ซึ่งในที่นี้ “พื้นที่” จะหมายถึงบริเวณหรืออาณาเขตที่เจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) อนุญาตให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ขยายธุรกิจและเปิดสาขาใหม่ได้ตามข้อตกลง

การได้รับสิทธิในรูปแบบนี้มักจะเป็นการตกลงที่มีระยะเวลายาวนาน และกำหนดจำนวนสาขาที่ต้องเปิดในระยะเวลาที่เจ้าของแฟรนไชส์ต้องการ โดยผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องลงทุนและดำเนินธุรกิจหลายสาขาภายในพื้นที่อาณาเขตที่ได้รับอนุญาต ซึ่งมักจะมีเงื่อนไขการเปิดสาขาใหม่ภายในระยะเวลาที่กำหนด

คุณลักษณะของ Sub-Area Development Franchise

  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในรูปแบบนี้จะได้รับสิทธิในการพัฒนาและขยายสาขาในพื้นที่หรือภูมิภาคเฉพาะที่เจ้าของแฟรนไชส์กำหนด เช่น เขตเมือง, จังหวัด, หรือภูมิภาคต่างๆ โดยอาจจะมีการจำกัดจำนวนสาขาที่สามารถเปิดได้ในพื้นที่นั้น
  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องเปิดหลายสาขาภายในพื้นที่ที่ได้รับสิทธิ ซึ่งจะต้องเปิดตามจำนวนที่ตกลงไว้ เช่น อาจจะต้องเปิด 3-5 สาขาภายใน 5 ปี ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในสัญญาแฟรนไชส์
  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในรูปแบบ Area Development Franchise มักจะมีสิทธิพิเศษในการดำเนินธุรกิจในพื้นที่ที่กำหนด โดยจะได้รับการปกป้องจากการที่เจ้าของแฟรนไชส์ ในการให้สิทธิ์กับแฟรนไชส์ซีรายอื่นในพื้นที่เดียวกัน
  • ข้อตกลงในการพัฒนาพื้นที่ (Area Development Agreement) มักจะมีระยะเวลาหลายปี และจะกำหนดจำนวนสาขาที่ต้องเปิดในช่วงเวลานั้น รวมถึงการจ่ายค่าธรรมเนียมเริ่มต้นที่สูงขึ้น รวมถึงค่าลิขสิทธิ์อีกด้วย

ข้อดีของ Sub-Area Development Franchise

  • ขยายธุรกิจได้รวดเร็ว ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์สามารถขยายธุรกิจได้อย่างรวดเร็วภายในพื้นที่ที่ได้รับสิทธิ เช่น การเปิดหลายสาขาภายในเมืองเดียวหรือจังหวัดเดียว ช่วยให้สามารถเพิ่มฐานลูกค้าและรายได้ได้เร็ว
  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะได้รับความคุ้มครองจากการเปิดสาขาของแฟรนไชส์ซีรายอื่นในพื้นที่เดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถเป็นเจ้าตลาดหรือผู้นำตลาดในพื้นที่นั้นได้
  • ลดความเสี่ยง เมื่อเปิดหลายสาขาในพื้นที่เดียว การกระจายความเสี่ยงจะช่วยลดผลกระทบจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น หากสาขาหนึ่งประสบปัญหาการดำเนินงาน ก็ยังมีสาขาอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างรายได้

ข้อเสียของ Sub-Area Development Franchise

  • ลงทุนสูง การเปิดหลายสาขาในพื้นที่เดียวต้องใช้เงินลงทุสูงกว่าการเปิดสาขาเดียว และมีค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่มากขึ้น
  • การดูแลและบริหารหลายสาขาในพื้นที่เดียวกัน อาจจะทำให้เกิดความซับซ้อนในการจัดการ จำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทุกสาขาสามารถดำเนินงานได้ตามมาตรฐาน
  • ความเสี่ยงสูงขึ้น หากสาขาใดสาขาหนึ่งล้มเหลว ธุรกิจทั้งหมดในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบ

ตัวอย่างของ Sub-Area Development Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

กลุ่มทุนท้องถิ่นที่ได้รับสิทธิ์ Sub-Area License ของ 7-Eleven มีอยู่ 4 กลุ่มทุน

  1. กลุ่มตันตราภัณฑ์ (บริษัท ชอยสฺ มินิ สโตร์ จำกัด) ผู้ประกอบการค้าปลีกริมปิง ซุปเปอร์มาร์เก็ต บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน
  2. กลุ่มงานทวี (บริษัท งานหนึ่ง จำกัด) ผู้ประกอบการโรงแรมรอยัลภูเก็ตซี้ตี้ ป้มน้ำมัน สวนยางพารา เหมืองแร่ ค้าส่ง บริหารพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ภูเก็ต ระนอง พังงา กะบี่ ตรัง
  3. กลุ่มยิ่งยง (บริษัท ยิ่งยง มินิมาร์ท จำกัด) ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้ายิ่งยงอุบลฯ บริหารพื้นที่ 4 จังหวัดภาคอีสาน ได้แก่ อุบลฯ ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ
  4. กลุ่มศรีสมัย (บริษัท ยะลาเซเว่น จำกัด) ผู้ประกอบการร้านศรีสมัยค้าส่ง บริหารพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส แต่ละกลุ่มทุนท้องถิ่น 4 กลุ่ม บริหารร้าน 7-Eleven ในอาณาเขตของตัวเองมากกว่า 100 สาขา โดยเฉพาะกลุ่มยิ่งยงมีมากกว่า 203 สาขา และมีแผนขยายสาขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

4. Master Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

Master Franchise คือ รูปแบบแฟรนไชส์ การให้สิทธิที่เจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) มอบสิทธิให้ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) ไม่เพียงแค่เปิดสาขาในพื้นที่ที่กำหนด แต่ยังสามารถขยายธุรกิจแฟรนไชส์โดยการอนุญาตให้ผู้อื่นในพื้นที่นั้นๆ เปิดร้านแฟรนไชส์ภายใต้แบรนด์เดียวกันได้ด้วย

ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Franchisee) ที่ได้รับสิทธิในประเทศหนึ่งๆ จะทำหน้าที่เหมือนกับเจ้าของแฟรนไชส์ โดยมีความรับผิดชอบในการหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย (Sub-franchisees) และดูแลการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในภูมิภาคของตนเอง

คุณลักษณะของ Master Franchise

  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในรูปแบบ Master Franchise จะได้รับสิทธิในการขยายธุรกิจในพื้นที่หรือประเทศทั้งหมด โดยสามารถเปิดสาขาของตนเองได้ และยังสามารถหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ (Sub-franchisees) มาเปิดสาขาในพื้นที่นั้นๆ ภายใต้การกำกับดูแล
  • ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในรูปแบบ Master Franchise ต้องรับผิดชอบในการหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย (Sub-franchisees) และตรวจสอบให้มั่นใจว่า พวกเขาดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานของบริษัทแม่แฟรนไชส์
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise ต้องฝึกอบรมผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย และให้การสนับสนุนในด้านการดำเนินธุรกิจ
  • การได้รับสิทธิ Master Franchise มักจะมีค่าธรรมเนียมเริ่มต้น (Initial Franchise Fee) ที่สูงขึ้น เนื่องจากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์จะต้องรับผิดชอบในหลายๆ ด้าน ทั้งการขยายสาขาและการหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย (Sub-franchisees)
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise จะมีอำนาจในการควบคุมและดูแลการดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ในพื้นที่ของตนเอง ซึ่งรวมถึงการรักษามาตรฐานการบริการ, การตรวจสอบคุณภาพ, การจัดการด้านการตลาด และการให้คำปรึกษาแก่ผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย
  • เจ้าของแฟรนไชส์หลัก (Franchisor) ยังคงมีบทบาทในการกำหนดทิศทางของแบรนด์และการควบคุมมาตรฐานการดำเนินงาน แต่ Master Franchisee จะดูแลในรายละเอียดในระดับพื้นที่แบ่งปันรายได้ (Royalties)
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมรายปี (Royalty Fee) ให้กับบริษัทแม่แฟรนไชส์ โดยอาจมีการแบ่งเปอร์เซ็นต์จากรายได้ของสาขาที่เปิดเอง และจากรายได้ของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย Sub-franchisees ทั้งนี้ ในบางกรณีผู้รับสิทธิ Master Franchise อาจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมจากการขายสิทธิแฟรนไชส์ย่อย

ข้อดีของ Master Franchise

  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise สามารถขยายธุรกิจในพื้นที่ของตนเองได้รวดเร็ว เพราะสามารถเปิดสาขาเองและขายแฟรนไชส์ให้รายย่อยได้ ช่วยให้บริษัทแม่แฟรนไชส์สามารถขยายแบรนด์ไปยังตลาดใหม่โดยไม่ต้องลงทุนเอง
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise จะได้รับการสนับสนุนจากบริษัทแม่แฟรนไชส์ ทั้งในเรื่องของการฝึกอบรม, การตลาด, ระบบการดำเนินงาน และการตั้งมาตรฐาน
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise จะมีรายได้จากการเปิดสาขาของตนเอง และยังสามารถได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ของผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย (Sub-franchisees) จึงมีโอกาสในการสร้างรายได้หลายช่องทาง

ข้อเสียของ Master Franchise

  • การซื้อสิทธิในรูปแบบ Master Franchise ต้องใช้เงินลงทุนสูง เนื่องจากต้องเปิดหลายสาขาและหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย รวมถึงการฝึกอบรมและสนับสนุนธุรกิจตลอดอายุสัญญา
  • ผู้รับสิทธิ Master Franchise จะต้องรับผิดชอบทั้งการเปิดสาขาของตนเอง และการหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย ซึ่งเป็นภาระการบริหารจัดการที่มีความซับซ้อน ต้องตรวจสอบผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อยให้ดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานบริษัทแม่แฟรนไชส์
  • ความเสี่ยงสูง หากผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อยไม่สามารถทำกำไร หรือไม่สามารถบริหารจัดการสาขาได้ดี อาจส่งผลกระทบต่อแบรนด์ได้

ตัวอย่างของ Master Franchise

รูปแบบแฟรนไชส์

7-Eleven มีการใช้ระบบ Master Franchise ในการขยายสาขาทั่วโลก โดยผู้รับสิทธิ Master Franchise ในประเทศต่าง ๆ จะเป็นผู้ดูแลการขยายสาขาและการดำเนินงานในประเทศนั้นๆ รวมถึงหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อยเปิดสาขา หรือ Sub Way ที่เป็นข่าวใช้ระบบ Master Franchise ในการขยายสาขาทั่วโลก

โดยผู้รับสิทธิ Master Franchise ในประเทศต่างๆ จะเป็นผู้ดูแลการขยายสาขาและการดำเนินงานในประเทศนั้นๆ รวมถึงหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อยเปิดสาขา อย่างกรณีในประเทศไทยตอนนี้ PTG ได้รับสิทธิ Master Franchise แต่เพียงผู้เดียว

สรุปก็คือ โดยปกติการให้สิทธิแฟรนไชส์ในการขยายสาขาข้ามประเทศ ส่วนใหญ่มักจะให้สิทธิแบบ Master Franchise เพราะผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ในประเทศนั้นจะมีความยืดหยุ่นในการลงทุนมากกว่า ไม่ต้องลงทุนเปิดสาขาเองทั้งหมด

โดยสามารถหาผู้รับสิทธิแฟรนไชส์ย่อย (Sub-franchisees) เปิดสาขาแทนได้ แต่ในสัญญา Master Franchise ควรมีเงื่อนไขระบุให้ชัดเจน เพื่อให้กระทบกับ Sub-franchisee ในประเทศนั้นๆ น้อยที่สุด จะไม่เกิดขึ้นเหมือนกับ Sub Way กว่า 105 สาขาในไทย 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช