ภาษีและขั้นตอนการเตรียมธุรกิจแฟรนไชส์

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจ แต่อยากมีธุรกิจเป็นของตนเอง อาจจะเริ่มการทำธุรกิจด้วยการติดต่อซื้อธุรกิจแฟรนไชส์จากผู้ขายแฟรนไชส์ (Franchisor)

ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ขายธุรกิจแฟรนไชส์ในหลายประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจค้าปลีก อาหารและเครื่องดื่ม โรงเรียนกวดวิชา สถานเสริมความงาม บริการ ฯลฯ

แต่ก็อย่าลืมไป แม้ว่าเราจะเป็นผู้ซื้อแฟรนไชส์มาประกอบธุรกิจ ทำงานทุกอย่างตามระบบที่เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์กำหนดเอาไว้ให้ แต่แฟรนไชส์ซีก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ ก็ต้องรู้ว่าร้านค้าหรือธุรกิจที่ซื้อมาแล้วจะต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษี

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอพาผู้ที่จะซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ไปดูว่า ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจต้องทำอย่างไรบ้าง และที่สำคัญจะต้องมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของภาษีด้านไหนบ้างครับ

ขั้นตอนเตรียมธุรกิจแฟรนไชส์ เราจะต้องเกี่ยวข้องกับภาษีดังต่อไปนี้

ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

1.การซื้อวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการประกอบธุรกิจ

1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เราต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ว่าจะจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นผู้ประกอบการ โดยเราจะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 จากผู้ขายแฟรนไชส์
  • โดยผู้ขายจะออกใบกำกับภาษีให้ ซึ่งเราต้องจัดเก็บไว้ เพื่อใช้สำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือน (กรณีเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน) และเพื่อเป็นหลักฐานในการรับรู้รายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้
  • ในกรณีที่เราจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน เราต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อและรายงานสินค้าและวัตถุดิบด้วย

1.2 ภาษีศุลกากร

  • หากมีการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือจากนอกประเทศ เรามีหน้าที่ต้องยื่นใบขนสินค้าขาเข้า ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
  • เริ่มจากการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร (Paperless) โดยลงทะเบียนเฉพาะ ครั้งแรกเท่านั้น
  • ผ่านพิธีการนำเข้าสินค้า ต้องศึกษาเรื่องพิกัดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ตามแต่ละประเภทของสินค้าที่นำเข้า

ee22

2. การจ้างลูกจ้าง

ในกรณีที่เรามีลูกจ้าง เราต้องทำการเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งกรมสรรพากรภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปที่ เราจ่ายเงินเดือนหรือค่าจ้างหรือโบนัส ฯลฯ

3. การจัดหาสถานที่ตั้ง

สำหรับผู้ให้เช่าต้องเสียภาษีเงินได้ ในฐานะที่มีรายได้จากการให้เช่า และต้องเสียค่าอากรแสตมป์ตามมูลค่าของสัญญาเช่า ส่วนสำหรับผู้เช่าเฉพาะกรณีที่เป็นนิติบุคคล การจ่ายค่าเช่าต้องเสียภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่ายด้วยนะ

4. การจ่ายค่าแฟรนไชส์

เรามีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเจ้าของแฟรนไชส์ ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิแฟรนไชส์ เมื่อจ่ายค่าแฟรนไชส์

เมื่อเริ่มต้นทำธุรกิจและเริ่มมีรายได้เข้ามาต้องเสียภาษีดังต่อไปนี้

ee21

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  • ครั้งแรกยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.94 ใน เดือนกันยายนสำหรับเงินได้ในเดือนมกราคม- มิถุนายน
  • ครั้งที่ 2 ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.90 ใน เดือนมีนาคมของปีถัดไปสำหรับเงินได้ ใน เดือนมกราคม-ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่าย ครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ใน ครั้งที่ 2

2.ภาษีเงินได้นิติบุคคล

ต้องยื่นแบบชำระภาษีต่อกรมสรรพากร ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในเขตท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่หรือทางอินเทอร์เน็ตปีละ 2 ครั้ง ได้แก่

  1. ภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.51 ภายใน 2 เดือนนับตั้ง แต่วันครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี
  2. ภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นตามแบบ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยนำภาษีที่จ่ายในครึ่งรอบระยะเวลาบัญชีมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้เมื่อสิ้นรอบเวลาบัญชี

3.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

  • เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้รับบริการและออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้รับบริการ เมื่อได้รับชำระค่าบริการ
  • เราต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อ และออกใบกำกับภาษีให้แก่ผู้ซื้อเมื่อส่งมอบสินค้า
  • เรามีหน้าที่จัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ รายงานภาษีขายและยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30 ในแต่ละเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ทั้งหมดเป็นการเริ่มต้นธุรกิจสำหรับแฟรนไชส์ซีหรือผู้ซื้อแฟรนไชส์ แม้ว่าจะเสียค่าแฟรนไชส์ รวมถึงค่าสิทธิต่างๆ ให้แก่เจ้าของแฟรนไชส์แล้ว แต่ก็อย่าลืมว่าจะต้องเสียภาษีต่างๆ สาหรับการดำเนินธุรกิจในฐานะแฟรนไชส์ซีด้วยเหมือนกัน


ท่านใดสนใจอยากให้ร่างสัญญาแฟรนไชส์โดยถูกต้องตามหลักกฎหมายแจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

2

ใครสนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/Bw6hJi
อ่านบทความต่างๆ เกี่ยวกับแฟรนไชส์ คลิก goo.gl/lwjH9a

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/3pYqqU7

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช