ผู้กำกับ งานหด…สู่ครีเอเตอร์ TikTok ปั้นคอนเทนท์ “ครัวจิ๋วกินจริง” คนติดตามนับล้าน

จากผู้กำกับหนังโฆษณา ชีวิตตกอับ งานหด ผันตัว สู่ครีเอเตอร์ TikTok แต่ไม่ Success เพราะไม่มีความรู้ ไม่ย่อท้อ เดินทางหาความรู้ ออกงานสัมมนาทุกที่ สมัครคอร์สเรียนทุกอย่าง ทำให้รู้พฤติกรรมคนดู เรียนรู้เรื่องการขาย การหาสินค้า การแปะตะกร้า ได้เจอคนเก่งคอยแนะนำ เปิดช่อง “ลุงพิท ครัวจิ๋ว” 2 วัน คนติดตาม 5 พันกว่า ปัจจุบัน 1.3 ล้านคน

สู่ครีเอเตอร์ TikTok

คุณพิท-พิศิษฐ์ วิจิตรเบญจรงค์ ผู้กำกับหนังโฆษณา เจ้าของเพจและ TikTok ช่อง “ลุงพิท ครัวจิ๋ว” ที่มีคนติดตามนับล้านคน เปิดเผยว่า ก่อนมาเปิดเพจและเป็นครีเอเตอร์ TiKTok “ลุงพิท ครัวจิ๋ว” ตนเองทำงานผู้กำกับหนังโฆษณามาก่อน แต่พอหลังๆ งานน้อยลง บวกกับงานด้านออนไลน์กำลังมาแรง

สู่ครีเอเตอร์ TikTok

จากนั้นได้ศึกษาหาความรู้เรื่องการทำ YouTube จากครูแม่อาย ทำคลิปเกี่ยวกับสตรีทฟู้ด ใช้มือถือเครื่องเดียวถ่ายตามตลาดนัด ปรากฏว่ามียอดวิวสูงมาก บางคลิปมีคนดูตั้ง 70 ล้านวิว แต่คลิปแนวนี้มีคนทำเยอะมากเหมือนกัน เลยคิดว่าการทำแบบนี้ไม่มีจุดแข็งของตัวเอง ใครทำก็ได้

สู่ครีเอเตอร์ TikTok

จากนั้นได้มองหาอะไรที่คนอื่นทำตามยาก จึงมาลงตัวที่ “ครัวจิ๋ว” ทำผ่าน YouTube ชื่อ Mini Food Cooking แต่ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะคนดู YouTube อยากดูอะไรที่ยาวๆ แต่ตอนนั้นเป็นคลิปสั้น หลังจากนั้นก็หยุดทำคลิปไว้ก่อน สักพักแพลตฟอร์ม TikTok เริ่มเข้ามาและได้รับความนิยมพอดี จึงนำคลิปที่เคยทำไปลง TikTok แต่ก็ไม่สำเร็จเหมือนเดิม

เพราะตนเองยังไม่มีความรู้ หลังจากนั้นออกไปงานสัมมนาทุกที่ สมัครคอร์สเรียนทุกอย่าง ทำให้เข้าใจโลกออนไลน์ขึ้น รู้ว่าคนดูต้องการอะไร ได้เรียนรู้เรื่องการขาย การหาสินค้า การแปะตะกร้า ได้เจอคนเก่งๆ คอยแนะนำการทำคลิป ต่อจากนั้นได้นำความรู้ทั้งหมดมาเปิดช่อง “ลุงพิทครัวจิ๋ว” เปิดได้ 2 วัน คนติดตาม 5 พันกว่าคน ปัจจุบัน 1.3 ล้านคน

สู่ครีเอเตอร์ TikTok

คุณพิท เล่าต่อว่า ตนเองไม่เคยชอบเล่นของจิ๋ว ไม่มีทักษะการทำอาหาร รู้แค่ว่าตัวเองรักการถ่ายภาพ ถ่ายวิดีโอและชอบตัดต่อ แต่อยากทำอะไรที่คนอื่นทำตามยาก ซึ่งในการถ่ายทำคลิปต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการทำอาหารจิ๋ว กินได้เลย ช่วงตอนแรกที่เริ่มทำยังไม่ค่อยมีคนทำ บวกกับตนเองเคยกำกับหนังโฆษณามาก่อน ทำให้รู้การถ่ายฟู้ดช็อตอย่างไรให้สวย

ส่วนอุปกรณ์จิ๋วที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นของเล่น เอามาใช้จริงไม่ได้ แต่ใช้ไฟจริง ทำจริงทุกอย่าง ก็ต้องอะแด๊ปอุปกรณ์ขึ้นมาเอง ไปซื้อร้านขายของมือสองญี่ปุ่น เอาทัพพีมาทำเป็นกระทะ เอาโน่นเอานี่มาดัดแปลง เพื่อให้ได้เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานได้จริง

สำหรับวัตถุดิบที่กินได้ ก็จะใช้ของจริง กินจริงๆ ปลูกผักเองเพื่อยอดตอนเล็กๆ ส่วนพวกปลาก็เอาปลาซิว ปลาสร้อย ปลาเล็กๆ โดยไปเดินตลาด สำรวจว่ามีอะไรจิ๋วบ้าง เพื่อทำเป็นครัวจิ๋ว แล้วค่อยมาดัดแปลงเมนูอาหารอีกครั้ง

สำหรับเมนูอาหารที่ถ่ายทำแต่ละครั้ง คุณพิท อธิบายว่า เรื่องของเมนูอาหารต่างๆ จะดูมาจากออนไลน์ว่าเขาทำเมนูอะไรกัน มีเครื่องปรุงอะไรบ้างเหมือนกับครัวใหญ่ แต่ครัวจิ๋วจะเทเครื่องปรุงใส่ภาชนะเล็กๆ เพื่อให้ดูว่าได้เตรียมไว้แล้ว

ในเรื่องการถ่ายทำคลิปแต่ละครั้ง ตนเองเป็นคนเตรียมอุปกรณ์ จัดฉากทุกอย่างเองทั้งหมด พอจัดฉากเสร็จก็ใช้มือถือเครื่องเดียวถ่ายทำ ใช้แสงธรรมชาติ ตัดต่อในมือถือ พากย์ในมือถือ ทำเสร็จทุกอย่างในมือถือเครื่องเดียว

คุณพิท เล่าต่อว่า กลุ่มคนดูคลิปส่วนใหญ่ ตอนแรกตั้งเป้าเป็นกลุ่มผู้ใหญ่ เพราะเป็นครัวไทยโบราณ เล่นกับความทรงจำในอดีต ไม่ว่าจะเป็นตู้เย็น อุปกรณ์ในครัวต่างๆ ที่เคยใช้ในอดีตหรือตอนเด็กๆ พอมาถึงตอนนี้คนดูส่วนใหญ่กลับกลายเป็นเด็กๆ เพราะครัวจิ๋วเป็นของกึ่งๆ ของเล่น เป็นคอนเทนท์สายขาวดูได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ กลายเป็นคอนเทนท์ที่ดูกันทั้งครอบครัว ตอนนี้กลุ่มคนดูใหม่ๆ ที่เข้ามา คือ คนอายุ 55 ปีขึ้นไป อาจเป็นเพราะเกษียณมีเวลาในการดูมากขึ้น

สำหรับรายได้จากการทำคลิปหลักๆ มาจากสปอนเซอร์สินค้า ให้ทำคอนเทนท์ผ่านการทำครัวจิ๋ว และยังมีรายได้จากการเป็นวิทยากรสอนการทำวิดีโอสั้น การทำเพจ การเล่าเรื่อง การจัดไฟ ถ่ายคลิป ภาพนิ่ง และอื่นๆ

เคล็ดลับทำคลิปให้คนติดตาม

คุณพิท บอกว่า การทำช่องหนึ่งให้มันว้าว ต้องไม่เหมือนใคร ถ้าทำเหมือนคนอื่น คนก็จะไม่ติดตาม เพราะเขาได้ดูคลิปของคนอื่นมาเยอะแล้ว เราทำซับเจคหรือเนื้อหาเหมือนคนอื่นได้ แต่เราต้องใส่คาแรคเตอร์ของเราเข้าไป ใส่สไตล์ ใส่มุมมองที่พิเศษลงไป ถ้าตนเองทำครัวปกติก็คงไม่มีใครติดตาม ก็เลยทำเป็นครัวจิ๋ว ใช้เสียงพากย์แบบต่ำๆ อย่าง “ทุกโคนนน”

“เคล็ดลับทำคลิปแรกให้คนหยุดดูและติดตามเรา อันดับแรกในการทำคลิป อย่าไปทำแนวที่ตัวเองอยากทำ ต้องคิดก่อนเลยว่าคนดูอยากดูอะไร แล้วทำคลิปออกมา ถ้าเราเริ่มทำคลิปจากที่เราอยากทำ คนดูอาจไม่ดูคลิปเลยก็ได้”

ภาพจาก www.facebook.com/pittminifoodcooking

ติดตามเรื่องราวของจิ๋วๆ ได้ที่

 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultan

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช