ผลกระทบทางธุรกิจ SME ในกรุงเทพจากไวรัส Covid-19
PROSEEDASIA บริษัทให้คำปรึกษาด้านธุกิจสตาร์ทอัพที่ให้บริการสอน ให้คำปรึกษา และการเข้าถึงแหล่งทุนทั่วประเทศในอาเซียน ได้จัดการอภิปรายเกี่ยวกับผลกระทบของไวรัส โควิด-19 ต่อธุรกิจด้านต่างๆ
โดยมีคุณ Mike Darnell กรรมการผู้จัดการบริษัท Vimi.co เป็นผู้ดำเนินรายการ ในกลุ่มการอภิปรายนั้นได้แก่ (จากซ้ายไปขวา) 1. คุณ Steve Harrop ผู้บริหารบริษัท Exmant และผู้ก่อตั้ง BudgetBusinessTravel.com 2. คุณ Pacharee Pantoomano ผู้จัดการบริษัท BrandNow.asia 3. คุณ Lawrence Chaney หุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท GPS Legal 4. คุณ Kris Withouck ผู้จัดการทั่วไปบริษัท Vitalo Packing Thailand ซึ่งทั้งสี่ท่านได้มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจภายในการอภิปรายครั้งนี้
ในการอภิปราย คุณ Kris ได้พูดถึงการผลิตสินค้าของบริษัท Vaitalo Packing Thailand ซึ่งตอนนี้การผลิตยังคงที่เนื่องจากออเดอร์สินค้าจากลูกค้าที่มีจากต้นปี แต่ถึงอย่างนั้นคุณ Kris ก็ได้คาดการณ์ว่าในภายหน้า การผลิตและการทำงานในบางส่วนจะได้รับผกระทบจากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งจะทำให้ออเดอร์สินค้าลดลงและผลข้างเคียงนี้ก็ไม่สามารถเลี่ยงได้
คุณ Steve ได้กล่าวว่า “ในธุรกิจการท่องเที่ยว ทริปการเดินทางของลูกค้าเกือบทั้งหมดนั้นได้รับผลกระทบจากโรคระบาด Covid-19 ปัจจุบัน เที่ยวบินถูกยกเลิกและมีการตั้งด่านกักกันทั่วทั้งโลก การขอเงินคืนจากสายการบินนั้นอาจจะใช้เวลานานถึง 45 วัน และมักจะก่อให้เกิดปัญหาความกังวลแก่นักเดินทาง แต่ ณ ตอนนี้เรากำลังให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ทีมบริการติดต่อกับลูกค้าโดยตรงและให้มั่นใจว่าลูกค้าที่ถูกยกเลิกเที่ยวบินจะสามารถรับเงินคืนได้เต็มจำนวนและรวดเร็ว รวมไปถึงบริการช่วยเปลี่ยนตารางการเดินทางให้ลูกค้า”
“ในตอนนี้ผู้คนใช้เวลาอยู่บ้านมากขึ้น ทั้งยังมีการรณรงค์ทำ social distancing ส่งผลกระทบให้บริษัท BrandNow.asia ในโปรเจคที่เกี่ยวกับร้านค้าและร้านอาหารต้องหยุดลงชั่วคราว หากแต่ว่าเรากำลังเพ่งความสนใจไปในการทำโปรเจคออนไลน์กับลูกค้าด้านอื่นๆมากขึ้น รวมทั้งการสร้างบริการ อัพเกรดเว็บไซต์ เรียนรู้ซอฟต์แวร์ และเครื่องมือใหม่ๆอีกด้วย” – คุณ Pacharee กล่าวในการอภิปราย
คุณ Lawrence Chaney หุ้นส่วนผู้จัดการบริษัท GPS Legal ได้กล่าวว่า “การชะลอตัวของธุรกิจทำให้นายจ้างหลายรายในประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลดรายได้ของลูกจ้างและพนักงาน ในการทำเช่นนั้น ต้องขอนุญาตจากรัฐบาลภายใต้กฎหมายแรงงาน มาตรา 75 เพื่อที่จะลดรายได้ของพนักงานเป็นร้อยละ 75 ต่อเดือน ในอีกด้านหนึ่ง รัฐบาลไทยได้ประกาศให้ โรคระบาด Covid-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ หมายความว่าถ้าหากคุณรู้จักใครที่ติดเชื้อ Covid-19 จะต้องรายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องภายใน 3 ชั่วโมง มิเช่นนั้นเจ้าหน้าที่จะมีสิทธิ์สามารถตั้งข้อกล่าวหาตามกฎหมายได้”
ไวรัส Covid-19 ได้แพร่กระจายไปอย่างมากนับตั้งแต่รายงานครั้งแรกในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 ส่วนองค์กรอนามัยโลกก็ได้ประกาศว่าไวรัส Covid-19 ได้เข้าสู่ภาวะแพร่ระบาดทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชากร มากกว่า 1 ล้านคน ประเทศส่วนใหญ่นั้นได้ออกมาตรการปิดเมือง ซึ่งมีตั้งแต่การปิดเมืองบางส่วนไปจนถึงการปิดประเทศเพื่อลดผลกระทบของไวรัสโคโรน่า
ผู้คน รัฐบาล และเอกชนจำเป็นต้องร่วมมือกันในการยับยั้งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลกกำลังดำเนินการช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ผ่านการให้กู้ยืมเงิน เพื่อให้ผู้คนได้มีงานทำและในบางกรณีก็ได้มีการจ่ายเงินชดเชยให้กับคนที่ไม่สามารถทำงานได้ ส่วนมาตาการอื่นๆ มีเช่น การลดค่าจำนอง ค่าเช่า และลดภาษี
สหราชอาณาจักร
- นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใช้งบประมาณ 66.5 พันล้านปอนด์ เพื่อลดภาษีและจ่ายค่าแรงสูงสุด 80% กับแรงงานที่ถูกปลด
สเปน
- นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใช้งบประมาณ 220 พันล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งนับเป็น 20% ของ GDP ในประเทศ
สหรัฐอเมริกา
- นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจใช้งบประมาณ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐซึ่งนับเป็น 10% ของ GDP ในประเทศ
- ให้กู้ 377 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ธุรกิจขนาดเล็ก (ให้แรงงานที่ยังต้องทำงาน)
- ให้กู้ 500 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ธุรกิจขนาดใหญ่ (รวมถึงส่วนของการบิน)
- ให้เงินจำนวน 604 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่ประชาชนสูงสุดคนละ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ
- ให้เงินจำนวน 340 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่รัฐในประเทศและรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อรับมือไวรัส Covid-19
- ให้เงินจำนวน 180 พันล้านดอลลาร์สหรัฐแก่สาธาราณะและบริการด้านสุขภาพ
ออสเตรเลีย
- รัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศใช้งบประมาณ 130 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยไม่ให้ชาวออสเตรเลียถูกปลดจากงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายงบประมาณ โดยนโยบายใหญ่นั้นมีงบถึง 320 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 16% ของ GDP รายปี
- โดยงบประมาณช่วยเหลือแรงงานที่กล่าวไปจะถูกส่งให้บริษัทที่ยังมีแรงงานประจำอยู่
- บริษัทที่มีสิทธิ์จะได้รับเงินจำนวน 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน
ข่าวประชาสัมพันธ์จาก BrandNow PR