ปี 68 แฟรนไชส์จีนกินรวบ ไทยตายเรียบ ถ้าไม่เปลี่ยน

ในปี 2568 เชื่อว่าธุรกิจแฟรนไชส์ในไทยอาจต้องเผชิญกับความท้าทายจากการขยายตัวต่อเนื่องของแฟรนไชส์จีน จากสาเหตุที่ไทยมีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงการค้าตลาดจีน คาดว่าปี 2568 จะมีแบรนด์แฟรนไชส์จากจีนไหลบ่าเข้ามาเปิดตลาดในไทยอีกหลายแบรนด์ ทั้งร้านอาหาร เครื่องดื่ม ไอศกรีม ฟาสต์ฟู้ด เทคโนโลยี และบริการต่างๆ มาดูกันว่าที่ผ่านมามีธุรกิจแฟรนไชส์จีน แบรนด์ไหนบ้าง บุกตลาดในประเทศไทยแล้ว

  • Mixue (มี่เสวี่ย) มีมากกว่า 200 สาขา ถือเป็นแฟรนไชส์ฟาสต์ฟู้ดที่มีสาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก McDonald’s, Subway, Starbucks แซงหน้า KFC แล้ว และอาจแซงหน้า Starbucks และ Subway ขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกได้ตลอดเวลา
  • Wedrink แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มีกว่า 150 สาขา
  • Bing Chun (ปิงฉุน) แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ มี 14 สาขา
  • CHA i ENJOY แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 1 สาขา
  • JIAN CHA Tea เจี้ยนชา แฟรนไชส์ชานมและชาผลไม้ มี 11 สาขา
  • Naixue ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
  • Chagee ร้านชานมและชาผลไม้ มี 2 สาขา
  • ChaPanda ร้านชานม มี 2 สาขา

นอกจากแฟรนไชส์ไอศกรีมและชาจากจีน ยังมีแฟรนไชส์ร้านอาหารจีนเปิดตลาดในไทยอีกด้วย เช่น

  • ไหตี่เลา (Haidilao) เชนร้านหม้อไฟจีน มี 9 สาขา บริการลูกค้าที่เป็นเอกลักษณ์ระหว่างรอคิว ตั้งแต่ของว่าง ไอศกรีม ทำเล็บ
  • ไก่ทอดเจิ้งซิน ร้านไก่ทอด สเต็ก บาร์บีคิว ไอศกรีม ราคาเริ่มต้น 15 บาท มี 2 สาขา

แฟรนไชส์จีนกินรวบ

หากแฟรนไชส์ไทยไม่ปรับตัวในปี 2568 อาจสู้แฟรนไชส์จีนไม่ได้ จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น

  1. แฟรนไชส์จีนขายสินค้าราคาถูก โดยเฉพาะแฟรนไชส์ไอศกรีมและชา เริ่มต้น 15-50 บาท
  2. แฟรนไชส์จีนขายแฟรนไชส์ราคาต่ำ เช่น แฟรนไชส์ไอศกรีมและชาผลไม้ เริ่มต้น 1-1.5 ล้านบาท
  3. แฟรนไชส์ไก่ย่าง ไก่ทอด “เชสเตอร์” ของไทย ใช้เงินลงทุนเริ่มต้น 6 ล้านบาท สูงกว่าแฟรนไชส์ไก่ทอด “เจิ้งซิน” จากจีนที่ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 8.12 แสนบาท นั่นจึงทำให้แฟรนไชส์จีนได้เปรียบคู่แข่ง ทั้งราคาขายสินค้า และเงินลงทุนแฟรนไชส์
  4. แฟรนไชส์จากจีน ใช้กลยุทธ์ขยายสาขาด้วย “ระบบแฟรนไชส์” ทำให้ธุรกิจขยายได้เร็วกว่าธุรกิจอื่นๆ
  5. แฟรนไชส์จีนโดดเด่นด้วยสินค้าใหม่ โมเดลธุรกิจใหม่ สร้างประสบการณ์ใหม่ และราคาไม่แพง ทำให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า
  6. แฟรนไชส์จีนให้ตัวแทนบริษัทแม่ในจีนเข้ามาบริหารโดยตรง แตกต่างจากแฟรนไชส์อเมริกาที่ใช้ตัวแทนบริหารในไทย อีกทั้งหากดูนิสัยการทำงานของคนจีนแล้ว ส่วนใหญ่เป็นคนจริงจังกับงานมากกว่าคนไทย ทำให้บริหารธุรกิจโตเร็ว

แฟรนไชส์จีนกินรวบ

วิธีปรับตัวแฟรนไชส์ไทยสู้แฟรนไชส์จีน

  1. สร้างความแตกต่างทางการตลาด เน้นการสร้างคุณค่าและคุณภาพ ทำโฆษณาออนไลน์ที่มีเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจ การเล่าเรื่องราวที่มีความผูกพันกับลูกค้า หรือการใช้ Influencers ที่มีความน่าเชื่อถือในกลุ่มตลาดเป้าหมาย
  2. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการให้เหนือกว่าคู่แข่ง โดยสามารถนำเสนอสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า เช่น การใช้วัตถุดิบท้องถิ่นหรือตามฤดูกาลเพื่อสร้างความแตกต่าง หรือการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ให้ประโยชน์กับลูกค้า
  3. ตอบสนองต่อเทรนด์ใหม่ๆ เช่น ใส่ใจในสุขภาพ การนำเสนอเมนูสุขภาพ การใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ หรือการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Business)
  4. สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น แอปพลิเคชันสำหรับการสั่งซื้อ หรือเว็บไซต์ที่สามารถสั่งซื้อออนไลน์ได้ เพื่อให้บริการลูกค้าได้สะดวกขึ้น และเข้าถึงลูกค้าในทุกที่ทุกเวลา
  5. ใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการธุรกิจ เช่น ระบบ POS (Point of Sale) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ลดต้นทุน และเพิ่มความสะดวกในการให้บริการลูกค้า
  6. เน้นการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้า ด้วยบริการคุณภาพและรวดเร็ว ทำให้แข่งขันกับแฟรนไชส์จีนได้
  7. ศึกษากลยุทธ์และโมเดลธุรกิจแฟรนไชส์จีนที่ประสบความสำเร็จ เช่น ใช้ระบบออนไลน์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าในราคาถูก แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตลาดแฟรนไชส์ในไทย

ดังนั้น หากแฟรนไชส์ไทยไม่ปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลง เช่น ปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบริการให้แตกต่าง ขยายตลาดออนไลน์ และเพิ่มประสิทธิภาพด้านต้นทุน ก็ยากที่จะต่อสู้กับความแข็งแกร่งของแฟรนไชส์จีนในตลาดไทยได้ 

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช