ปี 67 ฟองสบู่ ร้านหมาล่า แตก! คนในอยากออกคนนอกอยากเข้า

ต้องบอกว่ากระแสความนิยม “หม่าล่า” จนกลายเป็นเทรนด์อาหารมาตั้งแต่ปี 2566 จนมีร้านอาหารจีนจากมณฑลเสฉวนเกิดขึ้นจำนวนมาก ทั้งแบรนด์ใหญ่แบรนด์เล็ก จนมีมูลค่าตลาดกว่า 20,000 ล้านบาท อารมณ์ดูเหมือนชานมไข่มุกในช่วงแรกๆ ไปไหนก็เจอแต่ร้านหม่าล่า เชื่อว่าทุกร้านคงรู้กันดีอยู่แล้วว่าในอนาคตอาจเป็นฟองสบู่เหมือนร้าน “ชา 25 บาท”

ย้อนกลับไปช่วงปี 2566 ผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรี่อย่าง LINE MAN ได้เผยสถิติที่สุดแห่งปี 2566 ด้านอาหาร พบว่าเมนูฮิตขวัญใจผู้ใช้บริการกว่า 10 ล้านคน จากร้านอาหารกว่า 1 ล้านร้านใน 77 จังหวัด คือ หม่าล่าเสียบไม้และสุกี้ชาบูหม่าล่า เมนูดาวรุ่งสุดร้อนแรง มีผู้ใช้บริการ LINE MAN สั่งมากกว่า 1 ล้านออเดอร์ เพิ่มขึ้นถึง 45% เมื่อเทียบกับปี 2565

จากข้อมูลจากเพจ “การตลาดวันละตอน” ได้เก็บอินไซต์ตลาดหม่าล่าตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 2565 – 4 เม.ย. 2566 พบว่า ประเภทหม่าล่าที่มีการพูดถึงในโซเชียลมากที่สุด คือ หม่าล่าย่าง ราวๆ 29.8% ส่วนใหญ่เป็นร้านรถเข็น มีการนำผงหม่าล่ามาคลุกเคล้าหลังจากปิ้งจนสุกแล้ว ส่วนคำว่า “หม่าล่าชาบู” มีการพูดถึง 28.4% และ “หม่าล่าหม้อไฟ” คนพูดถึง 11.4%

ปี 67 หมดยุค หม่าล่า

ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจร้านอาหารหม่าล่ายังพบว่าตั้งแต่ 4 เม.ย. 2565 – 30 มิ.ย. 2566 ประเภทหม่าล่าที่มีการพูดถึงมากที่สุด คือ หม่าล่าสายพาน 42% รองลงมาเป็น หม้อไฟ และ ชาบู ส่วนร้านหม่าล่าที่มีคนพูดถึงมากที่สุด คือ สุกี้จินดา มีการพูดถึงกว่า 47.1% เป็นร้านอาหารสุกี้หม่าล่าสายพานเจ้าแรกๆ ในประเทศไทย ที่มีคนสนใจซื้อแฟรนไชส์จำนวนมาก ปัจจุบันขยายสาขาไปแล้วกว่า 40 สาขา แบ่งเป็นเจ้าของแบรนด์บริหารเอง 7 สาขา สาขาแฟรนไชส์ 33 สาขา

สถิติหม่าล่าเปิดใหม่วันละ 1 ร้าน

ปี 67 หมดยุค หม่าล่า

ร้านอาหารหม่าล่าได้กลายเป็นเทรนด์ฮิตของคนทำธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยไปแล้ว จากการเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 31 ส.ค. – 11 ก.ย. 2566 บน Facebook, YouTube, Instagram และ Twitter พบว่า มีการพูดถึงร้านอาหารหม่าล่าเปิดใหม่ เฉพาะแค่ในพื้นที่กรุงเทพฯ ถึง 11 ร้าน ซึ่งเฉลี่ยตกเกือบวันละ 1 ร้าน

จากการเกิดขึ้นของร้านหม่าล่าจำนวนมากจนล้นตลาด ทำให้มีการแข่งขันกันสูง หลายๆ ร้านเริ่มปรับกลยุทธ์ดึงดูดลูกค้าให้บริการแบบบุฟเฟ่ต์ สายพาน ราคาถูกไปจนถึงแพง ตั้งแต่ 159-599 บาท เฉลี่ยต่อหัวอยู่ที่ 289 บาท

จากข้อมูลกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า จำนวนร้านหม่าล่าในประเทศไทยปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 16,000 ร้าน จาก 15,000 ร้านในปี 2565 เติบโต 7.3% โดยร้านส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล คิดเป็นสัดส่วน 60% คาดว่าในปี 2567 จำนวนร้านหม่าล่าอาจเพิ่มขึ้นเป็น 17,000 ร้าน

ปี 67 คาดยอดขายแตะ 12,000 ล้านบาท

ปี 67 หมดยุค หม่าล่า

กระทรวงพาณิชย์ เผยยอดขายธุรกิจร้านหม่าล่าในประเทศไทย ปี 2566 อยู่ที่ราวๆ 10,000 ล้านบาท เติบโต 15% เมื่อเทียบกับปี 2565 แบ่งออกเป็นยอดขายร้านหม่าล่าหม้อไฟกว่า 9,000 ล้านบาท และมีร้านเปิดใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 1,000 ร้าน และยอดขายจากผลิตภัณฑ์หม่าล่าหม้อไฟสำเร็จรูปกว่า 1,000 ล้านบาท

โดยในปี 2567 คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารหม่าล่าจะมียอดขายสูงถึง 12,000 ล้านบาท มาจาการที่คนไทยชื่นชอบอาหารรสจัด วัฒนธรรมการกินคนไทยได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน และร้านอาหารหม่าล่าหม้อไฟปรับรูปแบบทานสะดวกรวดเร็ว

โดยร้านหม่าล่าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวไทย ได้แก่ Hai Di Lao Hotpot (ไห ตี่เลา) ร้านหม่าล่าหม้อไฟจากจีน, ร้านสุกี้จินดา ร้านสุกี้สายพานเจ้าแรกในไทย, SHU DAXIA (สู่ต้าเสีย) ร้านหม่าล่าชื่อดังจากจีน, หม่าล่าอาอี๋ ร้านหม่าล่าสูตรต้นตำรับจากเสฉวน, Fufu Shabu ร้านชาบูบุฟเฟต์สไตล์ไต้หวัน และ Mongkok Sukiyaki ร้านชาบูบุฟเฟต์สไตล์ฮ่องกง

หมดยุค “หม่าล่าสายพาน-หม้อไฟ” หรือยัง?

ปี 67 หมดยุค หม่าล่า

พอมาถึงปี 2567 หลายคนมีคำถามว่า ยุคสมัยแห่ง “หม่าล่าสายพาน” ฟองสบู่แตกหรือยัง? เพราะคนไทยชอบคิดหรือทำอะไรตามกัน เปิดร้านซ้ำๆ กัน ขายอะไรตามๆ กัน สุดท้ายก็เจ๊ง อีกทั้งผู้บริโภคหลายๆ คนบ่นเป็นเสียงเดียวกันว่า ราคาค่อนข้างแพง

เมื่อเทียบกับบุฟเฟ่ต์ แต่ละร้านมีการคิดค่าน้ำซุป น้ำจิ้ม เครื่องดื่มทุกอย่าง ที่สำคัญร้านอาหารหม่าล่าเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงมาก ร้านไหนทำยอดขายและกำไรได้ก็อยู่รอด ร้านมีชื่อเสียงดังๆ อยู่แล้วก็น่าจะขายได้เรื่อยๆ เรียกได้ว่าหม่าล่าสายพาน คนกินเท่าเดิม คนขายมากขึ้น หลายคนมองว่าธุรกิจที่เป็นกระแสจะมีการแผ่วปลายในอนาคต

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

แหล่งข้อมูล

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช