ปี 2025 “Marketing Battle” จะกลับมาอีกครั้ง!

ในปี 2024 ที่ผ่านมาธุรกิจไทยเผชิญความยากลำบากในหลากหลายรูปแบบ และคาดว่าในปี 2025 ความยากลำบากนั้นก็จะยังไม่ผ่อนคลาย จะมากขึ้นหรือเท่าเดิมก็ต้องลุ้นกันอีกที โดยปัจจัยเสี่ยงก็ยังคงมีอยู่ครบถ้วนทั้งกำลังซื้อที่ลดลง , ค่าครองชีพที่สูงขึ้น , ต้นทุนการผลิตที่สูง รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการที่จะต้องได้เจอกับคู่แข่งที่ต่างจะงัดกลยุทธ์ทุกอย่างเพื่อหวังดึงส่วนแบ่งการตลาดหรือสร้างยอดขายให้แบรนด์ตัวเองได้มากที่สุด

ก่อนอื่นเราต้องไปดูว่าในปี 2025 นี้เทรนด์การบริโภคจะเป็นอย่างไร

  • เน้นบริโภคเท่าที่จำเป็น อันไหนไม่จำเป็นก็ไม่ซื้อ
  • เน้นสินค้าที่คุ้มค่าราคาสมเหตุสมผล
  • เน้นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ความต้องการได้
  • ไม่ยึดติดกับแบรนด์ แต่ดูที่ความพึงพอใจ ณ ช่วงเวลานั้น

เมื่อวิเคราะห์ในเทรนด์ผู้บริโภคแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ในปี 2025 ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละแบรนด์จะดึงความสนใจลูกค้าได้ดีแค่ไหน จะโฟกัสกลุ่มลูกค้าหรือวางแผนการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากแค่ไหน หรืออาจจะพูดให้เข้าใจได้ง่ายๆว่า จะเป็นการกลับมาอีกครั้งของ Marketing Battle

Marketing Battle

คำว่า MarketingBattle หรือสงครามการตลาดในอดีตจะชัดเจนมาก ย้อนกลับไปสมัยก่อนเราจะเห็นการชิงส่วนแบ่งการตลาดของแบรนด์ดังๆ ที่ห่ำหั่นกันด้วยการโฆษณา , การพัฒนาสินค้า , การจัดโปรโมชัน , หรือการดึงเอาพรีเซนเตอร์คนดังมาเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การตลาด แต่ในระยะหลังเมื่อสื่อโซเชี่ยลเริ่มมาแรง พฤติกรรมด้านการตลาดของแบรนด์ก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากยุคที่ปลาใหญ่กินปลาเล็กก็กลายเป็นยุคของปลาที่เร็วกว่ากินปลาที่ช้ากว่า

ดูได้ง่ายที่สุดคือบรรดาธุรกิจค้าปลีกโดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อที่เมื่อก่อนมีไม่กี่แบรนด์แต่ตอนนี้ผุดขึ้นทุกพื้นที่ และมีการพัฒนาธุรกิจให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่มากขึ้นจนถึงจุดหนึ่งที่แตละแบรนด์ต่างก็มีจุดแข็ง มีกลุ่มลูกค้า มีแนวทางทำธุรกิจของตัวเอง สิ่งที่จะวัดพลังการเติบโตในปี 2025 จึงกลายเป็น MarketingBattle ที่ใครดีกว่าก็ชนะไป

Marketing Battle

ถ้าไล่ดูสงครามการแย่งส่วนแบ่งการตลาดในปี 2024 ต่อเนื่องมาถึงปี 2025 Marketing Battle น่าจะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างปัจจัยหลักส่วนหนึ่งมาจากแบรนด์จีนที่เข้ามาทำในตลาดเมืองไทย ทั้ง Mixue ที่กลายเป็นเป็นแฟรนไชส์สาขามากเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก McDonald’s, Subway, Starbucks แซงหน้า KFC และอาจแซงหน้า Starbucks และ Subway ขึ้นเป็นอันดับ 2 ของโลกได้ตลอดเวลา

Marketing Battle

รวมถึงยังมีอีกหลายแบรนด์ในลักษณะเดียวกันที่เป็นคู่แข่งได้อย่างชัดเจน เช่น Wedrink , Bing Chun , CHA i ENJOY , Chagee , ChaPanda เป็นต้น

หรือ Marketing Battle ในกลุ่มอื่นก็คาดว่าน่าสนใจที่น่าจับตาคือกลุ่มสุขภาพ / ความงาม , สัตว์เลี้ยง , การแพทย์ , ค้าปลีก , อาหารและเครื่องดื่ม โดยที่ต้องไม่ลืมว่าคู่แข่งที่จะมาเป็น Marketing Battle ไม่ใช่แค่ในประเทศเท่านั้น แต่ต้องระวังกลุ่มธุรกิจจากจีน ที่ปี 2024 ก็ไหลมาเทมาเข้าสู่ประเทศไทยนับไม่ถ้วนและจะมากขึ้นในปี 2025 นี้ด้วย

Marketing Battle

คาดการณ์ว่า Marketing Battle ในปี 2025 นี้จึงจะมาแรงเป็นพิเศษ โดยเคล็ดลับในการอยู่รอดของแต่ละแบรนด์โดยเฉพาะพวกรายเล็กที่สายป่านไม่ยาวหรือเพิ่งเริ่มธุรกิจใหม่ ต้องให้ความสำคัญในเรื่องของความยืดหยุ่น เข้าเร็ว ออกเร็ว จับเซกเมนต์ตลาดให้แน่น และจำเป็นต้องคิดใหม่ แปลกใหม่ ทำใหม่ เปลี่ยนบทบาทจาก “ผู้ตาม” กล้าที่จะบอกว่าตัวเองเป็น “ผู้นำ” ในเซกเมนต์นั้นๆ

วิธีการจะเอาชนะในสงครามการตลาด “Marketing Battle” มีองค์ประกอบหลายอย่างที่ต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการทำคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับแต่ละแพลตฟอร์ม เนื้อหาต้องโดดเด่นจากแบรนด์อื่น หรือสร้างไอเดียใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน (Novelty) ซึ่งก็ต้องแยกตามความสนใจของคนแต่ละ Gen ไปอีก เช่น กลุ่ม Gen X และ Babyboomers ชื่นชอบโฆษณาแนวอารมณ์ขัน ส่วน Gen Z ชอบคอนเทนต์ที่มีเพลงเพราะ ๆ เป็นต้น

หรือใช้วิธีการ Live Streaming ที่ได้ผลในยุคนี้มากอย่างที่ประเทศจีนยอดขายจากการไลฟ์สดอาจคิดเป็น 20% ของยอดขายปลีกทั้งหมดในประเทศ โดยมีกลุ่ม Gen Z และ Millennials เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก อย่างไรก็ดีการจะเลือกใช้กลยุทธ์แบบไหนเพื่อแย่งชิงการตลาดจากคู่แข่งในวันที่มองไปทางไหนก็เจอแต่คู่แข่งรายล้อม แถมยังต้องสู้กับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้คือหัวใจสำคัญที่คนทำธุรกิจในปี 2025 ควรรู้ และต้องมีแผนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise

อ้างอิงจาก คลิกที่นี่


สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด