ปั่นจักรยานขายสีตามบ้าน! สร้างธุรกิจเป็นเศรษฐี 10,000 ล้าน

การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นที่ต้องใช้ความมุ่งมั่น ตั้งใจทำจริง ปรัชญาความสำเร็จแท้ที่จริงไม่มีอะไรมาก มีแค่ “ทำหรือไม่ทำ” หลายคนที่เป็นเศรษฐีพลิกชีวิตจากดินสู่ดาวเพราะเขาตัดสินใจที่ “จะทำ” ผิดกับอีกหลายคนที่ได้แต่คิดไม่ลงมือทำสุดท้ายก็วนเวียนอยู่จุดเดิมไม่เคยเปลี่ยนแปลง

หนึ่งในตัวอย่างของเศรษฐีเมืองไทยที่ www.ThaiSMEsCenter.com คิดว่าน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีและเป็นแรงบันดาลใจให้คนอยากมีธุรกิจได้ศึกษาคือเรื่องราวของคุณประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ผู้นำของธุรกิจสีทาบ้านที่เรารู้จักกันดีอย่าง TOA , Captain, SuperShield, 4Seasons แต่กว่าจะมีวันนี้เส้นทางที่ผ่านมาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ แต่สุดท้ายก็ทำได้และกลายเป็นเศรษฐี 10,000 ล้าน

จากร้านก่อสร้างเล็กๆ สู่อาณาจักรธุรกิจสีทาบ้านรายได้หมื่นล้าน

ปั่นจักรยานขายสีตามบ้าน

ภาพจาก https://bit.ly/3Igjkmv

ย้อนกลับไปในปี 2501 เป็นจุดเริ่มต้นบุกเบิกธุรกิจเป็นครั้งแรกของครอบครัวตั้งคารวคุณ เริ่มจากตึกแถวคูหาเดียว ซึ่งขายเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ เป็นยี่ปั๊วขายกลอนประตู ต่อมาก็ขยับขยายเป็นร้านวัสดุก่อสร้าง ช่วงแรกของการขายแน่นอนว่าต้องสร้างตลาดต้องทำให้ลูกค้ารู้จักสินค้าส่วนใหญ่ต้องนำไปเสนอขาย ต่อมาในปี2507 ได้จัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัดไทยเกษมเทรดดิ้งนำเข้าสินค้าคุณภาพสูงจากต่างประเทศก่อนจะเริ่มผลิตสีทาไม้ออกจำหน่ายเอง และในปี2515 ขยายธุรกิจจากร้านค้าวัสดุก่อสร้าง สู่บริษัทจำกัดเป็นครั้งแรก

ปั่นจักรยานขายสีตามบ้าน

ภาพจาก https://bit.ly/3sbkudk

จากนั้นธุรกิจเริ่มมีการเติบโตมาเป็นลำดับและในปี 2560 ได้นำบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นครั้งแรกด้วย Stark ผู้ผลิตสายไฟและสายเคเบิ้ลทำให้บริษัทเติบโตเพิ่มทรัพย์สินได้กว่า 82% ทำให้ในปี 2561 คุณประจักษ์ได้เข้ามาอยู่ในลิสต์รายชื่อมหาเศรษฐีไทยเป็นครั้งแรกหลังจาก TOA เข้าเทรดในตลาดหุ้นเมื่อเดือนตุลาคม 2560 ซึ่งจากการขายหุ้น 507 ล้านหุ้นจึงสามารถระดมทุนได้ 1.4 หมื่นล้านบาท

รายได้ของบริษัทเมื่อปี 2562 ข้อมูลระบุว่ากำไรกว่า 1,654.3 ล้านบาท ซึ่งจากการจัดอันดับบุคลร่ำรวยในประเทศไทยเมื่อปี 2564 คุณประจักษ์ ตั้งคารวคุณ ประธานที่ปรึกษากลุ่มบริษัททีโอเอ เป็นบุคคลที่ร่ำรวย ในประเทศไทยอันดับที่ 9 ทรัพย์สินรวม 3,200 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 102,400 ล้านบาท

เคล็ดลับสำคัญ “สร้างธุรกิจ” เริ่มจากเล็กให้รวยหมื่นล้าน

ปั่นจักรยานขายสีตามบ้าน

ภาพจาก https://bit.ly/3522BF5

ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจจะเห็นได้ว่าเป็นแค่ร้านฮาร์ดแวร์อุปกรณ์ก่อสร้างเล็กๆ ที่มองไม่เห็นโอกาสว่าจะเติบโตเป็นธุรกิจหมื่นล้านได้อย่างไร สิ่งที่เป็นเคล็ดลับคือ “การมองหาโอกาสและการไม่ทิ้งโอกาส” พร้อมกับการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต และต่อยอดให้สูงยิ่งขึ้นไป ไม่หยุดอยู่กับที่ ซึ่งแน่นอนว่าในระหว่างดำเนินกิจการย่อมเกิดปัญหา แต่ทุกปัญหาก็คือประสบการณ์ที่จะสอนให้คนทำธุรกิจเติบโตแข็งแรงมากขึ้น

ข้อได้เปรียบของในทุกวันนี้คือ TOA มีสายป่านที่เหนียวแน่นและแข็งแกร่ง กับจำนวนดีลเลอร์หรือตัวแทนจำหน่ายที่มีคุณภาพมากถึง 7,000 ราย ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ และอีก 2,000 รายในต่างประเทศ สิ่งที่ยืนยันความแข็งแกร่งของ TOA ได้เป็นอย่างดีคือ การครองสัดส่วนมากถึง 47.8% จากตลาดรวมสีทาอาคารที่มีมูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลการดำเนินงานในไตรมาสแรกเมื่อปี 2563 TOA มียอดขายสูงกว่า 4,100 ล้านบาท เป็นหนึ่งในไม่กี่เจ้าในตลาดที่สามารถรักษาการเติบโตอย่างดี และทุกวันนี้ TOA ไม่ได้มีแค่ธุรกิจสีอย่างเดียวเท่านั้น

ยังมี “ทีโอเอ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง” ที่เป็นบริษัทในเครือและทำหน้าที่เป็นบริษัทลงทุนในกลุ่มธุรกิจอื่น เช่น

ปั่นจักรยานขายสีตามบ้าน

ภาพจาก https://bit.ly/3JOJ1Li

  1. กลุ่มธุรกิจสีอุตสาหกรรมและชิ้นส่วนยานยนต์
  2. กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ที่ TOAVH ไปถือหุ้นใหญ่ใน บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  3. ธุรกิจผู้จำหน่ายรถยนต์ เริ่มจากแบรนด์ ซูซูกิ ใช้ชื่อ ไอทีโอเอ ออโต้เซลส์ และสามารถสร้างยอดขายสะสมจาก 4 โชว์รูมได้ร่วม 2 หมื่นคัน
  4. ธุรกิจบริหารจัดการและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

และเชื่อได้ว่าในอนาคตอาณาจักร TOA จะยังคงเดินหน้าต่อเนื่องและสร้างรายได้ทางธุรกิจได้อีกมากส่วนหนึ่งมาจากวิสัยทัศน์ในการบริหารธุรกิจที่ชาญฉลาด รู้จักทำการตลาดอย่างมืออาชีพ ให้ความสำคัญกับบุคลกรทำให้องค์กรเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณข้อมูล https://bit.ly/3IT63Al , https://bit.ly/35NvTaz , https://bit.ly/3sryLSd , https://bit.ly/3GD7XUj , https://bit.ly/3oW3BBJ

อ้างอิงจาก https://bit.ly/36YPVzC

ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise


8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์

1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์

  • กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
  • ชื่อกิจการ (Brand)
  • การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
  • การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
  • การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
  • การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
  • การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
  • การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
  • การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์

2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ

  • ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
  • ระบบการเงิน การบัญชี
  • งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
  • รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
  • ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
  • แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ

3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
  • แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
  • สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
  • เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
  • มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
  • มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
  • ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
  • แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี

4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์

  • กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
  • การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
  • สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
  • เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ

5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายแฟรนไชส์
  • ระบบการเงิน
  • ค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
  • การจดทะเบียนแฟรนไชส์
  • เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
  • ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
  • การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
  • แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
  • การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า

6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น

7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
  • พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
  • ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
  • การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
  • เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
  • จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์

8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์

  • การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
  • กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
  • การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
  • การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
  • กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
  • กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี

สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น

ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี

ลักษณะงาน

  • เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
  • ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
  • มอบหมายงานและติดตามงาน
  • อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ

1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้

  • ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
  • ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
  • การปฏิบัติงาน
  • เป้าหมายในอนาคต

2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ

  • การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
  • การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
  • การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
  • การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)

3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)

  • การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
  • สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
  • กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
  • มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม

4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ

  • แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
  • แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์

5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์

  • รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
  • ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
  • ปรับปรุงแก้ไข
  • พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง

การปฎิบัติงาน

  1. สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
  2. ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา

เงื่อนไขอื่นๆ

  • การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์

อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)

 

คุณรัตนชัย ม่วงงาม (เปี๊ยก)

เรียนจบจากคณะนิเทศศาสตร์ ทำงานในด้านวารสารมากว่า10ปี สะสมความรู้หลากหลายแนวทั้งด้านการเกษตร สังคม สู่การประยุกต์เป็นอาชีพทั้ง SMEs และแฟรนไชส์รวมถึงแนวทางด้านกลยุทธ์การตลาดต่างๆ การเขียนคืองานที่เราตั้งใจและใจรักมากที่สุด