ปลูก “มะม่วงหาวมะนาวโห่” พืชสมุนไพร เพิ่มรายได้ยุค COVID
กระแสรักสุขภาพตอนนี้มาแรงเพราะปัญหาการแพร่ระบาด COVID ที่ยังไม่เห็นทางคลี่คลาย การเฝ้ารอแต่วัคซีนหรือรอให้ภาครัฐมาช่วยดูแล ดูจะพึ่งพาได้ยาก สิ่งสำคัญในตอนนี้คงได้แต่ช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากที่สุด
โดยพืชสมุนไพรเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ในประเทศไทยมีสมุนไพรหลายชนิดที่รับประทานแล้วดีต่อสุขภาพ เพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายได้
โดย www.ThaiSMEsCenter.com เห็นว่าการปลูกพืชสมุนไพรเหล่านี้สามารถสร้างเป็นอาชีพที่ดีให้กับเราได้แม้ในอนาคตถ้าสถานการณ์ COVID ผ่านพ้นไปกระแสรักสุขภาพก็จะยังคงอยู่โดยหนึ่งในพืชที่น่าสนใจคือ มะม่วงหาวมะนาวโห่ที่มีสรรพคุณน่าสนใจมาก
สรรพคุณของ มะม่วงหาวมะนาวโห่
ภาพจาก bit.ly/3fBkvkh
มะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นพืชสมุนไพรไทยชื่อแปลกที่มีประโยชน์และสรรพคุณที่หลากหลายจัดเป็นผลไม้ประเภทรับประทานผลสุก มีรสชาติเปรี้ยวเฉพาะตัว ผลสุกสีแดงขนาดเล็ก เป็นแหล่งสำคัญของธาตุเหล็ก วิตามินซี และยังมีปริมาณเพคติน ซึ่งเป็นใยอาหารที่ละลายน้ำได้ในปริมาณสูงและที่สำคัญมีสารสีม่วงแดงซึ่งเป็นกลุ่มฟินอลิกปริมาณมากสามารถต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายพันเท่า ซึ่งมีประโยชน์ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยเสริมให้ร่างกายต้านเชื้อโรค สมานแผล ส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดแดง
วิธีการปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ลงแปลง
ภาพจาก bit.ly/3rZxGQN
สำหรับคนที่มีพื้นที่ว่าง หรือบางคนกลับบ้านต่างจังหวัด การเลือกปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ ลงแปลงถือว่าน่าสนใจ ซึ่งมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากดังนี้
- ปลูกแบบเดียวกับมะนาว ขุดหลุมลึก ประมาณ 50 เซนติเมตร ระยะห่าง 3×3 เมตร
- นำดินหรือแกลบดำคลุกใส่ที่ก้นหลุม หลังจากนั้น ลงต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่
- ฤดูที่เหมาะในการปลูกคือฤดูฝน ไม่ต้องรดน้ำมาก ระยะเวลาในการปลูก ถ้าเป็นต้นเล็กใช้ระยะเวลา 3 ปี ถึงจะโตมีลูก
- ต้นมะม่วงหาวมะนาวโห่ เป็นต้นไม้ที่ไม่ชอบความแฉะให้รดน้ำแบบวันเว้นวัน
- หนอนที่เป็นปัญหาคือหนอนผีเสื้อ แนะนำว่าไม่ควรใช้ยาฆ่าแมลงแต่ใช้วิธีสังเกตและจับออกจะดีที่สุด
วิธีการปลูกมะม่วงหาวมะนาวโห่ในกระถาง
ภาพจาก bit.ly/3jrYBkr
วิธีนี้เหมาะกับคนที่อยากปลูกแต่ไม่มีพื้นที่มากพอ ขอแนะนำวิธีการปลูกในกระถาง ซึ่งอาจไม่ได้ผลผลิตที่มีจำนวนมาก แต่ก็พอให้เราปลูกเองกินเองหรือนำมาแปรรูปรับประทานในครอบครัวได้แบบง่ายๆ ซึ่งมีวิธีปลูกดังนี้
- นำดินร่วนที่ผสมกากมะพร้าวหรือแกลบใส่ลงในหลุมกระถางเพาะต้นกล้า แล้วรดน้ำให้ดินยุบตัวลงเล็กน้อย
- คัดเมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์โรยลงบนหน้าดินที่เตรียมไว้ จากนั้นนำดินที่เหลือมากลบ รดน้ำให้ชุ่มปานกลาง
- ย้ายกระถางเพาะเมล็ดไว้ในที่ที่มีแดดรำไร
- หลังจากเพาะต้นกล้าได้แล้วประมาณ 10 วัน ก็สังเกตเห็นต้นกล้างอกออกมา และเมื่อต้นกล้าเจริญเติบโตได้แข็งแรง ให้ย้ายมาปลูกในกระถางขนาดกลาง
ราคาในการจำหน่าย กิโลกรัมละ 200-300 บาท
ภาพจาก bit.ly/2VFp31K
ผลสดมะม่วงหาวมะนาวโห่ ราคาขายกิโลกรัมละ 200 – 300 บาท ซึ่งถ้าเป็นนอกฤดูอาจขายได้ถึงกิโลกรัมละ 500 บาท แต่ถ้านำมะม่วงหาวมะนาวโห่มาแปรรูปจะเพิ่มมูลค่าได้อีกหลายเท่าตัว โดยมะม่วงหาวมะนาวโห่แปรรูปเป็นสินค้าได้หลายชนิดเช่นเครื่องดื่ม เยลลี่ สบู่ แยม เป็นต้น ถือเป็นพืชสมุนไพรที่หลายคนอาจมองข้ามแต่พืชตัวนี้สามารถสร้างรายได้ให้กับเราได้เป็นอย่างดี ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมีกลยุทธ์ในการทำตลาด ในการนำเสนอสินค้าได้ดีแค่ไหน
วิธีทำเครื่องดื่มมะม่วงหาวมะนาวโห่
ภาพจาก bit.ly/2Vo5j3c
เพื่อให้มองเห็นภาพที่ชัดเจนเราขอยกตัวอย่างวิธีการแปรรูปมะม่วงหาวมะนาวโห่จากผลสดมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งนอกจากเครื่องดื่มที่เรายกตัวอย่างนี้แล้ว มะม่วงหาวมะนาวโห่ยังแปรรูปเป็นสินค้าที่น่าสนใจได้อีกมาก โดยวิธีการทำเครื่องดื่มจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ มีดังนี้
ส่วนผสม
มะม่วงหาวมะนาวโห่ 20 ลูก , น้ำเปล่า 1 ลิตร ,น้ำตาลทราย , เกลือ
วิธีทำ
- ล้างน้ำมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้สะอาด ผ่าครึ่งเอาเมล็ดออก
- ปั่นมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้ละเอียด หากไม่ชอบเนื้อมะม่วงหาวมะนาวโห่ให้กรองเอาแต่น้ำ
- ผสมกับน้ำที่ต้มสุกแล้วในปริมาณที่พอเหมาะ แล้วคั้นเอาเฉพาะน้ำมะม่วงหาว มะนาวโห่ออก
- นำไปต้มจนเดือดเติมเกลือและน้ำตาลกรวดลงไปเล็กน้อย ต้มจนเดือด ชิมรสตามชอบ
ซึ่งนอกจากมะม่วงหาวมะนาวโห่ก็ยังมีพืชสมุนไพรที่น่าสนใจอีกจำนวนมาก ซึ่งมีวิธีการปลูกไม่ยาก คนที่สนใจสามารถลองศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมดู แล้วเราอาจจะพบว่าพืชสมุนไพรเหล่านี้คือวิธีสร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่ดีในยุคนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับไอเดียในการทำสินค้า ร่วมถึงต้องมีกลยุทธ์การตลาดที่ดีร่วมด้วย
อ้างอิงจาก https://bit.ly/3yC5J44
ผู้อ่านสามารถติดตามข่าวสาร ทุกความเคลื่อนไหวธุรกิจ แฟรนไชส์ และ SMEs รวดเร็ว รอบด้าน
ติดตามได้ที่ Add LINE id: @thaifranchise
- อยากสร้างแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Ive14C
- อยากทำเป็นแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3IrrH0k
- รู้เรื่องกฎหมาย สัญญาแฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Iu5WNu
- รวมความรู้แฟรนไชส์ > https://bit.ly/3Pe0m5s
อ้างอิงจาก คลิกที่นี่
8 ขั้นตอน การพัฒนาระบบแฟรนไชส์
1. การวางแผนธุรกิจ ก่อนทำแฟรนไชส์
- กำหนดรูปแบบธุรกิจ (Business Model) ให้มีความชัดเจน โดนใจลูกค้า
- ชื่อกิจการ (Brand)
- การสร้างผลการดำเนินธุรกิจที่ดี ได้ผลกำไร มีความมั่นคง (Good ROI)
- การสร้างแบรนด์ ตราสินค้า ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักผู้บริโภค
- การพัฒนาสินค้าบริการ ให้มีคุณภาพมาตรฐาน และระบบการจัดการที่เป็นมาตรฐาน
- การพัฒนาระบบบริการจัดการ จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- วางโครงสร้างองค์กรใหม่ รวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทีมงาน สนับสนุนระบบแฟรนไชส์
- การวางแผน และกำหนดเป้าหมายการขยายธุรกิจ การขยายสาขา ทั้งในและต่างประเทศ
- การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของร้านค้า
- การเลือกใช้สื่อต่างๆ ช่องทางต่างๆ ในการจัดกิจกรรม เพื่อสร้างแบรนด์แฟรนไชส์
2. การรวบรวมข้อมูลธุรกิจ
- ระบบการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ
- ระบบการเงิน การบัญชี
- งบประมาณในการลงทุนธุรกิจ การขยายสาขา
- รูปแบบของร้านค้า รูปแบบของตราสินค้า ที่เป็นเอกลักษณ์
- ระบบการสต็อกสินค้า จัดส่งสินค้า วัตถุดิบ
- แผนงานการตลาด การส่งเสริมการขายต่างๆ
- กระบวนการพัฒนาบุคลากร ทีมงานด้านต่างๆ
3. การวิเคราะห์ธุรกิจแฟรนไชส์
- ธุรกิจเปิดมานานหลายปี จำนวนไม่น้อยกว่า 1สาขา
- แบรนด์มีชื่อเสียงได้รับความนิยม เป็นที่รู้จักของผู้บริโภคในวงกว้าง
- สินค้าและบริการ มีคุณภาพมาตรฐาน เป็นที่ต้องการของตลาด
- เป็นธุรกิจที่มีความมั่นคง ให้ผลตอบแทนสม่ำเสมอ มีผลกำไร ต่อเนื่อง เป็นที่น่าพอใจ
- มีระบบการทำงาน การปฏิบัติงาน แผนการทำงานที่ชัดเจน สามารถถ่ายทอดให้คนอื่นได้
- มีระบบการพัฒนาบุคลากร และสร้างทีมงานที่แข็งแกร่ง เป็นมาตรฐาน
- ประสบความสำเร็จทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การส่งเสริมการขายต่างๆ
- แผนกลยุทธ์การขยายสาขา และเติบโตต่อเนื่อง เป็นรายเดือน หรือ รายปี
4. การวางโครงสร้างของระบบแฟรนไชส์
- กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักของผู้บริโภค
- การสร้างองค์ความรู้ ระบบปฏิบัติงานต่างๆ ที่พร้อมถ่ายทอดให้ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- วางระบบการปฏิบัติงานของแต่ละขั้นตอนธุรกิจ ที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ง่าย
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย แต่ละแผนกให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนการอบรม ระบบตรวจสอบ เพื่อสร้างมาตรฐานธุรกิจแฟรนไชส์
- สร้างระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซี หรือผู้ซื้อแฟรนไชส์
- การกำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ ในการขยายสาขาแฟรนไชส์ ให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้า (ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์)
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงแก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ช่วงเริ่มต้นได้
- เงื่อนไขการเปิดสาขาในด้านต่างๆ
5. การวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายแฟรนไชส์
- ระบบการเงิน
- ค่าธรรมเนียมต่างๆ
- ข้อเสนอแฟรนไชส์ซี
- การจดทะเบียนแฟรนไชส์
- เรื่องกฎหมาย อายุสัญญาแฟรนไชส์
- ระบบปฏิบัติงาน รูปแบบการให้สิทธิ
- การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์
- แพ็คเกจต่างๆ ระบบการสนับสนุนแฟรนไชส์ซีอย่างต่อเนื่อง
- การจัดทำคู่มือแฟรนไชส์ หรือโปรแกรมแฟรนไชส์
- การจัดทำสัญญาแฟรนไชส์ รวมถึงเครื่องหมายการค้า
6. การวางแผนเพื่อขยายสาขาธุรกิจแฟรนไชส์
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ เจ้าของแฟรนไชส์จะบริหารจัดการเองทุกอย่าง เพื่อสร้างความโดดเด่น สร้างความเด่นชัดให้แก่นักลงทุน ได้เห็นภาพของร้านที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การลงทุนเปิดสาขาแฟรนไชส์ในภายหลัง
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟนไชส์ คือ เมื่อสาขาแรกมีความแข็งแกร่ง มั่นคง มีผลกำไรต่อเนื่อง เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในพื้นที่นั้นๆ แล้ว ก็ทดลองขยายสาขาเพิ่มอีก เพื่อทดสอบสาขาที่ 2 เป็นอย่างไร โดยนำเอาระบบการปฏิบัติงานทุกอย่างของร้านสาขาแรกมาปฏิบัติ ถ้าประสบความสำเร็จ ก็ค่อยขยายสาขาตัวเองเพิ่มอีก 2-3 สาขา ถ้าประสบความสำเร็จเหมือนสาขาแรก ก็ค่อยคิดขายแฟรนไชส์ให้กับคนอื่น
7. กระบวนการพัฒนาและปรับปรุงระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น (ระบบการบริหารจัดการในร้าน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน)วิเคราะห์ระบบการเงิน การลงทุน ในแต่ละสาขาที่เปิดทดลอง
- พิจารณาปรับปรุงระบบงาน ระบบการทำงานต่างๆ ให้เหมาะสม
- ระบบการพัฒนาทีมงานรองรับการขยายงาน ขยายสาขา
- การวางแผนงานขยายสาขาแฟรนไชส์
- เก็บข้อมูลรายละเอียดต่างๆ กลุ่มลูกค้า ผลประกอบการ การดำเนินงาน ของสาขาแรก หรือสาขาต้นแบบ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ก่อนเปิดสาขาที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 และขายแฟรนไชส์
- จัดวางงบประมาณ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขยายธุรกิจแฟรนไชส์
8. แผนการตลาดของธุรกิจแฟรนไชส์
- การจัดทำคู่มือต่างๆ เพื่อแนะนำธุรกิจแฟรนไชส์
- กระบวนการขายแฟรนไชส์ การคัดเลือกผู้ซื้อแฟรนไชส์
- กระบวนการติดตามลูกค้าเป้าหมาย
- การนำเสนอธุรกิจแฟรนไชส์ในงานแสดงธุรกิจแฟรนไชส์ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- การจัดงาน สัมมนาการขายธุรกิจ แฟรนไชส์
- การเปิดเยี่ยมชมธุรกิจ ร้านต้นแบบแฟรนไชส์
- กระบวนการคัดเลือกแฟรนไชส์ซีที่เหมาะสม ตามหลักมาตรฐานแฟรนไชส์สากล
- กระบวนการถ่ายทอดความรู้ การอบรม และให้คำปรึกษาแก่แฟรนไชส์ซี
สำหรับคนที่อยากเอาตัวรอดในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ แนะนำเข้ารับคำปรึกษาผ่านหน่วยงาน ที่น่าเชื่อถือ เช่น
ไทยแฟรนไชส์ คอนซัลแทนซี่ (ThaiFranchise Consultancy)เป็นหน่วยงานภายใต้กำกับของไทยแฟรนไชส์เซ็นเตอร์ ยินดีให้คำปรึกษาในทุกกระบวนการสร้างระบบแฟรนไชส์ ทางบริษัทฯ มีอาจารย์และทีมงานที่พร้อมให้บริการ คอยให้คำแนะนำ และร่วมค้นหาคำตอบจากประสบการณ์บนเส้นทางของธุรกิจแฟรนไชส์ไทย มายาวนานกว่า 14 ปี
ลักษณะงาน
- เน้นการทำงานร่วมกับทีมงานของบริษัท
- ให้แนวทางในการทำงานในทุกๆ ด้าน
- มอบหมายงานและติดตามงาน
- อื่นๆ ทุกด้านที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจ
1. วิเคราะห์ธุรกิจปัจจุบันเบื้องต้น หัวข้อดังนี้
- ลักษณะธุรกิจในปัจจุบัน
- ผลการดำเนินงานของธุรกิจ
- การปฏิบัติงาน
- เป้าหมายในอนาคต
2. กลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ
- การสร้างแนวคิดธุรกิจ (Business Concept)
- การกำหนดเป้าหมาย (Business Objective)
- การจำลองงบกำไร-ขาดทุน (Profit-Loss)
- การพัฒนาในด้านต่างๆ (Development Plan)
3. การวางแผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan)
- การวางแผนการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงาน
- สร้างคู่มือการทำงานแต่ละฝ่าย
- กำหนดเงื่อนไขในด้านต่างๆ เช่น ค่าธรรมเนียม ค่าสิทธิ์ รูปแบบร้าน ทำเล การให้สิทธิต่างๆ แก่ผู้ซื้อแฟรนไชส์
- มีโครงสร้างทีมงานที่เหมาะสม
4. กลยุทธ์ในการขยายธุรกิจ
- แผนการขยายสาขาของบริษัท หรือ ร้านสาขาต้นแบบ
- แผนการทดสอบขยายสาขาแฟรนไชส์
5. ขั้นตอนการพัฒนาระบบแฟรนไชส์
- รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น
- ดูผลประกอบการ การดำเนินของร้านแฟรนไชส์จำลอง หรือร้านต้นแบบ
- ปรับปรุงแก้ไข
- พัฒนาธุรกิจแฟรนไชส์ อย่างไม่หยุดยั้ง
การปฎิบัติงาน
- สัปดาห์ละ 1 คาบเวลา (ประมาณ 3-4 ชม.)
- ติดต่อปรึกษางานได้ตลอดเวลา
เงื่อนไขอื่นๆ
- การ Consult ไม่รับกลุ่มเดียวกัน ในช่วงเวลาเดียวกันและรับไม่เกิน 5 แบรนด์
อนึ่ง รายละเอียดและขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการรับคำปรึกษา อาจมีนอกเหนือจากแผนงานดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบแผนโครงสร้างของธุรกิจเดิม และเป้าหมายที่กำหนดไว้
สอบถามเพิ่มเติม โทร.02-1019187
ฝ่ายที่ปรึกษาโครงการ (ThaiFranchise Consultancy)