ประเทศตูมี 5 เมนู ชื่อนอกแต่ไทยมี!
นักท่องเที่ยวต่างชาติเมื่อมาเยือนเมืองไทยมักจะมองหาเมนูที่เป็น Signature ที่ขึ้นชื่อลือชาก็ต้องพวก Street Food ตั้งแต่หอยทอด ผัดไท ข้าวผัดกระเพรา ต้มยำกุ้ง เป็นต้น ในทางกลับกันคนไทยไปเที่ยวต่างประเทศจะโหยหาเมนูแบบไหน คำตอบก็คือเมนูท้องถิ่นที่หากินไม่ได้ในเมืองไทยหรือไม่ก็เป็นเมนูที่มีวัตถุดิบสดๆจากประเทศต้นตำหรับอย่างปลาดิบ พิซซ่า ข้าวแกงกะหรี่ โอเด้ง เป็นต้น
ดูเผินๆก็เหมือนจะเป็นเรื่องทีใครทีมันใครอยากกินอะไรก็ต้องไปประเทศนั้นแต่ www.ThaiSMEsCenter.com มีเกร็ดน่ารู้เกี่ยวกับเมนูอาหารที่บอกได้ว่าเป็น “ThailandOnly”
นั่นคือจะหากินได้เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้นเพราะเมนูต่อไปนี้ชื่อไม่ใช่ของไทยแม้แต่น้อยแต่กลับหากินไม่ได้ในประเทศที่เป็นชื่ออาหาร ที่มาที่ไปของแต่ละเมนูเป็นอย่างไร ทำไมเป็นอย่างนั้น ลองติดตาม
1.ขนมโตเกียว
ภาพจาก goo.gl/xEzZwa
ใครที่เป็นสาวกประเทศญี่ปุ่นติดอกติดใจความงามของประเทศนี้ เดินทางไปๆมาก็หลายครั้ง แต่หลายคนไม่รู้ว่าอย่าไปคิดตามหา “ขนมโตเกียว” ในประเทศญี่ปุ่นเป็นอันขาด เพราะแม้จะได้ชื่อว่าเป็น “ขนมโตเกียว” ที่เหมือนจะมาจากเมืองโตเกียวแต่ความจริงแล้วไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับโตเกียวเลยแม้แต่น้อยกระทั่งวัตถุดิบเองก็ไม่ได้นำเข้ามาจากญี่ปุ่นเลยสักนิด
สันนิษฐาณได้หลายเหตุผลว่าทำไมขนมโตเกียวถึงหากินไม่ได้ในโตเกียว บ้างก็ว่า เป็นขนมที่ห้างไดมารูซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้าสัญชาติญี่ปุ่นที่เข้ามาเปิดบริการเมื่อปี พ.ศ.2507 ได้มีการเอาขนมญี่ปุ่นมาขายแต่คนไทยไม่มีกำลังซื้อจึงได้ดัดแปลงขนมญี่ปุ่นให้ราคาถูกลงและตั้งชื่อให้เหมือนมาจากญี่ปุ่นเลยชื่อว่า “ขนมโตเกียว หรือจะเป็นความเชื่อยอดฮิตที่ว่า เป็นการเรียกเพี้ยนมาจากชื่ออื่น
โดยเชื่อว่าขนมโตเกียวอาจเพี้ยนมาจากคำว่า ขนมโรเนียว อันเกิดจากวิธีการทำที่ต้องวนแผ่นเป็นวงกลมบนกระทะเหล็กเมือนเป็นการโรเนียวแต่เรียกเพี้ยนมาเป็นโตเกียว แต่ไม่ว่าที่มาของชื่อจะเป็นอย่างไรขนมโตเกียวก็หากินได้เฉพาะในเมืองไทยไม่มีในโตเกียวญี่ปุ่นแน่ๆ
2.ขนมจีน
ภาพจาก goo.gl/hyKA28
ไปเมืองจีนหลายคนตามล่าหา “ขนมจีน” ซึ่งงานนี้คงต้องผิดหวังเพราะแม้จะได้ชื่อว่า “ขนมจีน” แต่แท้ที่จริงไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับคนจีนเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยังตรงกันข้าม “ขนมจีน” ต้นกำเนิดที่แท้จริงว่ากันว่ามาจากชนชาติมอญ ที่เรียกขนมจีนว่า “คนอมจีน” ที่หมายถึง “สุก 2 ครั้ง” หากเอามาแยกคำหว่าง “คนอม” และ “จิน” คนอม จะหมายถึงจับกันเป็นกลุ่มก้อน ส่วน จิน แปลว่าทำให้สุก
นอกจากนี้ยังสันนิษฐานต่อไปอีกว่า “คนอม” ใกล้เคียงกับคำไทยอย่างคำว่า “เข้าหนม” ที่หมายถึงนำมานวดให้เป็นแป้งก่อนที่จะกร่อนเป็น “ขนม” สรุปในภาพรวมคือ ขนมจีนไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจีนแต่นี่คือเมนูของชนชาติมอญที่แพร่หลายไปในประเทศอื่นๆ รวมถึงประเทศไทยมาตั้งแต่ยุคโบราณ
3.กล้วยแขก
ภาพจาก goo.gl/bLeNZM
มาถึงแปลกแต่จริงอีกเรื่องใครที่เข้าใจผิดคิดว่า “กล้วยแขก” ต้องมาจากอินเดีย แต่แท้ที่จริงนี่คืออีกหนึ่งเมนูที่ไม่มีในอินเดียและหากินได้เฉพาะในเมืองไทยอีกเช่นกัน ส่วนเหตุผลที่ต้องชื่อว่า “กล้วยแขก” ก็มีการสันนิษฐานหลายแต่ที่ดูน่าจะเป็นไปได้คือเชื่อว่า เมนูกล้วยทอดนั้นเป็นของชาวมาลายูแถบเกาะปีนัง เขาเรียกว่า “ปีซัง โกเร็ง” หน้าตาเหมือนกล้วยแขก
แต่ในยุคล่าอาณานิคมพวกโปรตุเกสได้แพร่เอาเมนูนี้มาทำเป็นอาหารเช้าและขยายไปยังดินแดนที่ตัวเองไปถึง ก็ทำให้คนไทยซึมซับว่าเมนูนี้คือ “กล้วยแขก” อันหมายถึงต้นกำเนิดจากแขกในมาลายู หรืออีกแนวคิดหนึ่งที่
บอกว่าคือเกิดจาก “จำปาดะทอด” ที่เป็นการเอาจำปาดะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลูกขนุนมาชุบแป้งทอดให้รับประทานง่ายแต่มีคนดัดแปลงเนื่องจากมองว่าจำปาดะทอดไม่อร่อยเลยลองเปลี่ยนวัตถุดิบมาเป็นกล้วยปรากฏว่าอร่อยไปอีกแบบเลยกลายเป็นกล้วยแขกมาถึงทุกวันนี้
4.ข้าวผัดอเมริกัน
ภาพจาก goo.gl/S6Bfwf
ไปอเมริกาอย่าคิดมองหาข้าวผัดอเมริกัน ในภัตตาคารหรือร้านอาหารในอเมริการับรองว่าไม่มีเมนูนี้ให้เห็น เนื่องจากไม่ใช่เมนูที่เกิดจากคนอเมริกันแต่เป็นเมนูที่เกิดจากการปรุงของพ่อครัวที่ชื่อว่า “โกเจ๊ก” คิดค้นเมนูนี้เพื่อให้บริการแก่ทหารอเมริกันที่ประจำการในโคราชตั้งแต่ครั้งสมัยที่อเมริกันมาตั้งฐานทัพในเมืองไทยตอนสงครามเวียดนาม
ลักษณะก็คือเป็นข้าวผัดเนยใส่ลูกเกดและถั่วลันเตา ปรุงรสด้วยเกลือและซอสมะเขือเทศ แนบด้วยน่องไก่ทอด แฮม ไส้กรอก จนกระทั่งทหารอเมริกันเลิกฐานทัพกลับไปเมนูข้าวผัดอเมริกันก็ยังเป็นที่รู้จักมาถึงปัจจุบันนี้
5.ลอดช่องสิงคโปร์
มาถึงเมนูของหวานอย่างลอดช่องสิงคโปร์ที่ไปสิงคโปร์ก็หาทานไม่ได้เหมือนกัน ที่มาที่ไปของชื่อนี้ เริ่มจาก พ.ศ.2504 มีการเปิดร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทยไทยใช้ชื่อร้านว่า “สิงคโปร์โภชนา” ซึ่งตั้งอยู่หน้าโรงภาพยนตร์สิงคโปร์ หรือ ลอดช่องสิงคโปร์” นั้น มาจากเมื่อ พ.ศ. 2504 ร้านลอดช่องร้านแรกในประเทศไทย “สิงคโปร์โภชนา”
ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าโรงหนังเฉลิมบุรี บนถนนเยาวราช ผู้คนไปรับประทานจึงมักจะเรียกว่า “ลอดช่องหน้าโรงหนังสิงคโปร์” และก็ตามฟอร์มหลังจากที่เรียกชื่อเต็มอยู่ระยะหนึ่งก็มีการตัดทอนชื่อให้สั้นลงจนเหลือแค่ “ลอดช่องสิงคโปร์” ที่เป็นเมนูของหวานในเมืองไทยหากินในสิงคโปร์ไม่ได้
ไหนๆก็ไหนๆมาตบท้ายกับเมนูที่ชื่อไม่เหมือนหรือหากินไม่ได้ตามชื่ออย่างเฟรนฟรายที่คำว่า “เฟรน” อาจทำให้เข้าใจว่าเมนูนี้ต้นตำหรับคือ Freanh (ฝรั่งเศส) แต่ที่จริงคือชาวเบลเยี่ยมที่คิดทำมันฝรั่งทอดเป็นชาติแรก คำว่า เฟรนช์ ก็เชื่อว่ามาจากคำกริยา to French ที่แปลว่าฝานเป็นแท่งยาวๆ ส่วนชื่อเต็มก็น่าจะมาจาก frenched and fried potato ก่อนที่จะเหลือแค่ french fries มาต่ออีกนิดจะจบละที่เมนูสุดฮิตบ้านเราอย่างส้มตำ
แต่มองไปมองมาก็ไม่เคยเห็นจะมีส้มสักลูกมีแต่มะละกอ อธิบายแบบรวดรัดว่า “ส้มตำ” เป็นภาษาถิ่น “ส้ม” แปลว่าเปรี้ยว “ตำ” เป็นคำกริยา “ส้มตำ” จึงหมายถึง “อาหารรสเปรี้ยวที่ผ่านการตำ” ที่สำคัญส้มตำไม่ใช่อาหารของใครที่ไหนเป็นของประเทศไทยคิดเองทำเองเริ่มตั้งแต่ประมาณ 40 ปีก่อนเท่านั้นถือเป็นอาหารในยุคใหม่ไม่ใช่อาหารโบราณแต่อย่างใด
สำหรับท่านใดที่ต้องการข้อมูลข่าวสาร ต้องการอัพเดทข้อมูลการตลาด หรือแนวทางการทำธุรกิจเรามีรวบรวมบทความมากมาย ติดตามได้ที่ goo.gl/Io5k2S