ประวัติและจุดเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ของโลก
หลายคนอาจคิดว่า เรย์ คอกซ์ แห่งแมคโดนัลด์ เป็นบิดาของระบบแฟรนไชส์โลก แต่จริงๆ แล้วรูปแบบของแฟรนไชส์ได้เริ่มมาก่อนหน้านี้ โดยเริ่มมาจากบริษัททำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามหาทางเร่งการเติบโตของบริษัทฯ
บริษัทเหล่านี้ ได้ขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ และขายระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่น ปรากฏว่าได้ผลลัพธ์ดีเกินคาด หน่วยงานแห่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันนี้ ขยายตัวอย่างรวดเร็วจากเมืองหนึ่งสู่อีกเมืองหนึ่ง
วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำพาท่านผู้อ่านไปขุดค้น และย้อนกลับไปดู ประวัติและจุดเริ่มต้นธุรกิจแฟรนไชส์ของโลก ว่าที่มาที่ไปของระบบแฟรนไชส์ที่เราใช้กันอยู่ และได้รับความนิยมในการทำธุรกิจไปทั่วโลก เป็นอย่างไรครับ
ซิงเกอร์ผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ระบบแฟรนไชส์
ภาพจาก goo.gl/b5fFgf ,goo.gl/RJ29Pc
ก่อนอื่นขอบอกให้ทราบก่อนว่า ระบบแฟรนไชส์เริ่มมีเค้าโครงที่ชัดเจนขึ้นมาระดับหนึ่ง โดยบริษัท ขายจักร ซิงเกอร์ โดยในปี 1850 ซิงเกอร์เป็นผู้ให้ความรู้ระบบการค้าปลีกแก่ร้านลูกข่ายเป็นครั้งแรก
ซึ่งถือเป็นต้นแบบเสมือนเป็นแฟรนไชส์ซอร์ ตอนนั้นซิงเกอร์ใช้วิธีสร้างเครือข่ายการขายปลีก ด้วยระบบพนักงาน และการเป็นดีลเลอร์ ซึ่งกลุ่มที่เป็นเครือข่ายเหล่านี้ จะต้องจ่ายค่าสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายในระดับภูมิภาค
ถึงแม้ว่าการจัดการในระบบของซิงเกอร์จะไม่สมบูรณ์ และไม่ประสบความสำเร็จนักหลังจาก 10 ปี การดำเนินงานรูปแบบนี้ขาดความต่อเนื่อง แต่ก็นับได้ว่า ซิงเกอร์ คือ ผู้หว่านเมล็ดพันธ์ของระบบแฟรนไชส์ให้กับผู้สร้างระบบแฟรนไชส์ใหม่ ในอนาคตได้นำวิธีต้นแบบนี้ไปใช้ จนกลายเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในที่สุด
ต่อมาอุตสาหกรรมรถยนต์ ปั้มน้ำมัน และผู้ผลิตเครื่องดื่ม คือ เป็ปซี่และโคคา โคล่า คือผู้ที่นำเอาระบบของแฟรนไชส์มาปรับใช้ในช่วงระหว่างท้ายของทศวรรษที่ 1800 จนถึงต้นศตวรรษที่ 19
เนื่องมาจากการขาดแคลนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าของพวกเขา บริษัทฯ เหล่านี้ไม่มีเงินทุนมากพอ ที่จะซื้อทรัพย์สิน สร้างโรงงาน หรือลงทุนเปิดร้านค้าจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า หรือลงทุนจ้างผู้จัดการเสมียน และพนักงาน อย่างเช่นในกรณีของอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ระบบการขนส่งทางไกลนั้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายเกินไป
ดังนั้น แทนที่จะส่งสินค้าไปสต็อกไว้ ก็เกิดการใช้วิธีขายแฟรนไชส์ให้ใครก็ตาม ที่จะสามารถรับผิดชอบ การดำเนินงาน รวมทั้งสามารถคิดวิธีการ การกระจายสินค้าได้
วิธีการขยายธุรกิจปั้มน้ำมัน และเครื่องดื่มบรรจุขวดที่เรียกว่า “Product Franchise” ที่ให้สิทธิ์การผลิต และตราสินค้าเพียงรายเดียว ในการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในอาณาเขตที่ระบุ
ซึ่งวิธีนี้ได้รับความสำเร็จมากจนทำให้ บรรยากาศของระบบแฟรนไชส์โดดเด่นขึ้น แต่วิธีการให้สิทธิตัวผลิตภัณฑ์ (Product Franchise) นี้ ก็เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีการเติบโตของระบบแฟรนไชส์ได้เข้ามาแทนที่ เรียกกันว่า “Business Format Franchise” หรือ แฟรนไชส์เต็มรูปแบบ
ระบบแฟรนไชส์กระจายสู่ร้านค้าปลีก
ภาพจาก goo.gl/RJ29Pc
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ร้านค้าปลีกก็ค่อยๆ ยกระดับธุรกิจจากการพัฒนาตัวสินค้า เข้ามาพัฒนาด้านบริการ เมื่อคนชั้นกลางของอเมริกามีการเคลื่อน ย้ายถิ่นฐานสู่ชานเมืองกันมากขึ้น การซื้อของในรูปแบบขับรถเข้าไปซื้อ (Drive-in) อย่างรีบด่วน และนำออกไปทานนอกร้านเป็นรูปแบบที่มีมากขึ้น
ซึ่งสาขาที่หน้าตาเหมือนๆกันนั้น เป็นร้านที่เปิดขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ที่เรียกว่า Mini-Chains กิจการในรูปแบบนี้ยุคนั้น ก็คือ A&W และเทสตี้ ฟรีซ (Tastee Freeze) ที่กลายเป็นที่นิยมกันข้ามประเทศ ถือเป็นจุดต่อของรูปแบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Format Franchising)
ในยุค ค.ศ.1950 เชื่อมมาสู่อีกยุคหนึ่งโดย แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์คิงส์, ดังกิ้นโดนัท, เคเอฟซี และฟาสท์ฟู้ด เกิดแฟรนไชส์ระดับชาติในช่วงเวลาดังกล่าว ระบบแฟรนไชส์ได้ผ่านช่วงของความยากลำบาก แต่ก็เป็นการปฏิวัติที่สำคัญยิ่ง
การให้การอนุญาตอย่างง่ายในการให้สิทธิการกระจายสินค้า (Distribute) หรือให้สิทธิในการขายสินค้า ได้ถูกแทนที่ด้วยการเติบโตของฟาสท์ฟู้ดในระบบแฟรนไชส์ ต่อมาขยายไปสู่ธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่อาหาร
เช่น โรงแรมฮอลิเดย์อินน์, Midas Mufflers ธุรกิจบริการเกี่ยวกับรถยนตร์ และ H&R Block ธุรกิจบริการเกี่ยวกับการเสียภาษี ที่แสดงความแตกต่างจากแฟรนไชส์ในรูปแบบเก่า ที่แฟรนไชส์ซอร์ได้ขายสิทธิ์ที่ประยุกต์สู่การขาย
ทั้งคอนเซ็ปท์ธุรกิจ ที่ให้สิทธิตั้งแต่รูปแบบ สัญลักษณ์ โลโก้ การโฆษณา รูปแบบเอกสารต่างๆ (เช่น เอกสารบัญชี) รูปแบบการแต่งกาย ซึ่งผู้ที่ได้รับสิทธส่วนใหญ่ จะไม่มีความรู้ทางธุรกิจด้านนั้นๆมาก่อนเลย
และถึงแม้ว่าแฟรนไชส์ซอร์บางรายจะยังคงต้องการให้แฟรนไชส์ซี ซื้อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์บางอย่าง จากบริษัทฯ แม่ก็ตาม แต่รายได้หลักของแฟรนไชส์ซอร์รุ่นใหม่เหล่านั้น จะมาจากการขายระบบธุรกิจ ทั้งคอนเซ็ปท์ที่พวกเขาได้พิสูจน์ความสำเร็จมาแล้ว
ระบบแฟรนไชส์ถูกเพิ่มพลังโดย แมคโดนัลด์
ภาพจาก goo.gl/RJ29Pc
บรรยากาศแฟรนไชส์ได้ถูกเติมพลังอย่างรวดเร็วเมื่อ เรย์ คร็อก ได้นำแมคโดนัลด์เข้ามาในกลางปี 1950 โดยการสังเกตรูปแบบฟาสท์ฟู้ดแฟรนไชส์ ในระหว่างที่เขาเดินทางไปยังเมืองต่างๆ
ในช่วงที่เขาเป็นเซลล์แมน คร็อกได้เข้าถึงระบบแฟรนไชส์ และมองเห็นจุดอ่อน และจุดแข็งของระบบนี้ เขาใช้มันมาทำการสร้างแมคโดนัลด์ จากการใช้แฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ (Business Format Franchise) นี้เอง เขาประสบความสำเร็จอย่างสูง ในการสร้างธุรกิจเล็กๆ ให้เป็นธุรกิจขนาดมหึมา ที่หลุดจากการเป็นเพียงภัตตาคาร แฮมเบอร์เกอร์
คร็อกคือผู้ที่มีผลกระทบต่อการตื่นตัวที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ผู้คน และบริษัทฯทั้งหลาย ได้คิดถึงการขยายธุรกิจด้วยวิธีแบบเขา ในขณะที่มหาชนได้เห็น และยอมรับว่า เรย์ คร็อก คือราชาแห่งแฮมเบอร์เกอร์ และเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ธรรมดาเลย
เรย์ คร็อก ไม่ใช่คนที่ประดิษฐ์ แฮมเบอร์เกอร์ แมคโดนัลด์ (เจ้าของที่คิดสูตรอาหาร เป็น 2 พี่น้องตระกูล แมคโดนัลด์) เขาไม่ใช่คนสร้างร้านฟ้าสต์ฟู้ด ไม่ใช่ผู้คิดระบบแฟรนไชส์ แต่เขาคือผู้ที่ทำให้มันดีขึ้น สู่การยกระดับที่ไม่มีใครเคยทำมาก่อน
หลังจากนั้น เขาก็ขายมันทั้งคอนเซ็ปท์ จากร้านแฮมเบอร์เกอร์ 1 แห่ง ที่ตั้งอยู่กับที่ สู่ที่เรียกกันว่า แฟรนไชส์ซี และเกิดขึ้นตลอดทั่วทั้งอเมริกา คร็อกคือผู้ประยุกต์ระบบแฟรนไชส์
เขาเปรียบเสมือนนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกา ก่อนหน้านี้ก็คือ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ที่ประยุกต์การผลิตรถยนต์ อันเป็นสาเหตุเดียวกันที่บุคคลทั้ง 2 กลายเป็นผู้ที่ถูกล่าวขานถึงความสำเร็จ ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโครงสร้างเศรษฐกิจของอเมริกา
เห็นได้ว่า การบูมของแฟรนไชส์ยังคงต่อเนื่องมาอีกทศวรรษ ต่อมาคือทศวรรษที่ 1980 ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิม ที่มีตั้งแต่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง, ตัวแทนจัดหางาน, บริการที่เกี่ยวกับรถยนต์, รถเช่า, อาหารนานาชาติ ส่วนแฟรนไชส์ที่ขายบริการ เช่น งานพิมพ์, จัดจ้างพนักงานชั่วคราว รวมไปถึงร้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานให้บริการเหล่านี้ ได้รับความนิยมมากในเมืองและชานเมือง และเริ่มขยายตัวอย่างเข้มข้น สู่มหานครใหญ่ๆ ทั่วโลก
อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/z5WB7k
หรือสนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ goo.gl/epm44u
อ้างอิงจาก https://bit.ly/33YmCc1
ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise