ประวัติและความเป็นมาธุรกิจแฟรนไชส์ไทย

หลายคนอาจยังไม่รู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์ ในเมืองไทย เกิดขึ้น และเริ่มต้นมาอย่างไร ทำไมธุรกิจแฟรนไชส์ถึงได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทย ธุรกิจแรกๆ ที่เข้ามาเปิดสาขา และทำให้ผู้บริโภคคนไทยรู้จักกับระบบแฟรนไชส์ที่แท้จริง คือธุรกิจอะไร

วันนี้ www.ThaiSMEsCenter.com ขอนำพาท่านผู้อ่านทุกท่าน ย้อนกลับไปดูประวัติเรื่องราวความเป็นมาของธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ว่ามีที่มาที่ไป และมีจุดเริ่มต้นอย่างไร มาดูพร้อมๆ กันเลย

ธุรกิจแฟรนไชส์

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย มีการริเริ่มมามากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ.2526 ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของสิทธิ ที่มักให้แฟรนไชส์เป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน

ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่า ที่เน้นความเป็นระบบครอบครัว ทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหา เกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด

k30

หากย้อนกลับไป ราจะพบว่ากระแสการเป็นเจ้าของกิจการ (Entrepreneur) ได้รับความสนใจจากคนไทยอย่างจริงจัง ตั้งแต่ช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่ยังไม่แตก แต่การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ด้วยตนเอง สำหรับคนที่เป็นลูกจ้างมืออาชีพมาตลอดชีวิต ไม่เคยทำธุรกิจของตนเองมาก่อน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่ายนัก ไม่ใช่ว่ามีเงินทุนแล้วจะสามารถทำธุรกิจเองได้

ดังนั้น ในช่วงดังกล่าวการลงทุนทำธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ จึงได้รับความนิยมอย่างท่วมท้น เพราะเป็นทางลัดในการเป็นเจ้าของกิจการ จนมีการซื้อแฟรนไชส์จากต่างประเทศมากมาย และยังมีการก่อตั้งสมาคมฯ หรือชมรมเกี่ยวกับแฟรนไชส์ขึ้นในเมืองไทยอีกด้วย

k31

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ที่เข้ามาในเมืองไทยในช่วงนั้น ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจบริการ ธุรกิจด้านการศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแฟรนไชส์จากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ยุโรป หรือจากในแถบเอเชียก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีแฟรนไชส์ที่เป็นของคนไทยด้วยจำนวนหนึ่ง ที่พยายามขยายสาขาไปในต่างประเทศ

โดยธุรกิจแฟรนไชส์จากต่างประเทศ ธุรกิจแรกๆ ที่เราคุ้นเคยและรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ร้านแมคโดนัลด์ ทำการเปิดร้านและให้บริการแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ สาขาแรกที่อัมรินทร์พลาซ่า ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

k32

ทำให้ประเทศไทยได้รับกระแสแห่งทางตะวันตกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ว่ากระแสธุรกิจแฟรนไชส์ในเมืองไทยในช่วงแรกๆ จะไม่ค่อยมีคนรู้จักกันมากนัก ถ้าจะรู้จักก็จะเป็นกลุ่มนักธุรกิจ และคนที่ได้เดินทางไปต่างประเทศเท่านั้น

คนที่รู้จักแฟรนไชส์ส่วนมากเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะทางการเงินดี จนกระทั่งร้านสะดวกซื้ออย่าง 7-11 เริ่มเปิดในเมืองไทย ดูเหมือนจะเป็นแฟนไชส์แรก ที่เข้ามาขยายกิจการหลายสาขาด้วยระบบแฟรนไชส์ ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่มักเป็นธุรกิจ Fast Food การเป็นธุรกิจที่ค่อนข้างมีตลาดกว้าง ทำให้ 7-11 ได้รับความนิยมและขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว

k33

จากกระแสความอยากเป็นเจ้าของกิจการดังกล่าว ทำให้มีคนไทยตัดสินใจลงทุนซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินการหลายพันราย โดยมีเหตุผลคล้ายๆ กันก็คือ คิดว่าการลงทุนโดยแฟรนไชส์จะช่วยให้การทำธุรกิจง่ายขึ้น เพราะเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) น่าจะมีระบบในการดำเนินงานที่มีมาตรฐาน และมีประสบการณ์ในการทำธุรกิจดังกล่าวมากกว่า

อีกทั้งชื่อเสียงของร้านหรือสินค้า (Brand) ที่ดี น่าจะช่วยให้ขายได้มากขึ้นกว่าการเปิดร้านด้วยตนเอง เหตุผลข้างต้นฟังดูแล้วน่าจะทำให้ธุรกิจแฟรนไชส์ไปได้ดีในเมืองไทย แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อวิกฤตมาถึงระหว่างปี 2538 ถึงปี 2542 ช่วงที่เศรษฐกิจฟองสบู่ขยายตัวเต็มที่ และแตกออกเป็นเสี่ยงๆ กระจายไปทั่วเอเชียนั้น

k34

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ก็เริ่มปิดกิจการลงราวกับใบไม้ร่วง มีข้อพิพาทเกิดขึ้นมากมายราวกับดอกเห็ด ไม่ว่าจะเป็นกรณีของร้านหนังสือดอกหญ้าที่ผู้ซื้อแฟรนไชส์ (Franchisee) รวมตัวกันเป็นกลุ่มดอกหญ้าแฟรนไชส์

เพื่อสั่งซื้อหนังสือจากผู้ผลิตหนังสือเอง โดยไม่ผ่านเจ้าของแฟรนไชส์ (Franchisor) หรือกรณีของร้านอินเตอร์สุกี้ ซึ่ง Franchisee รายหนึ่งหันมาสร้างตราของตนเอง และปัจจุบันได้ขายแฟรนไชส์ไปยังประเทศญี่ปุ่นแล้วเป็นต้น

k35

นับจากนั้นเป็นต้นมา ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทย ก็ได้รับความนิยมในหมู่คนไทยที่อยากเริ่มต้นธุรกิจอีกครั้ง อาจเป็นเพราะรัฐบาลรวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจแฟรนไชส์อย่างต่อเนื่อง

ธนาคารต่างๆ ก็เข้ามาสนับสนุนสินเชื่อ มีทั้งการเกิดขึ้น และล้มหายตายจากระบบ ส่งผลให้ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ประมาณ 537 กิจการ ส่วนใหญ๋เป็นแฟรนไชส์อาหาร เครื่องดื่มและไอศกรีม การศึกษา บริการ เป็นต้น

k36

อ่านบทความแฟรนไชส์อื่นๆ goo.gl/TFQVMg
สนใจซื้อธุรกิจแฟรนไชส์ต่างๆ goo.gl/VAYmAz

 

อ้างอิงจาก https://bit.ly/2IsBkjU

01565898888

ท่านใดสนใจอยากให้สร้างระบบแฟรนไชส์ แจ้งความประสงค์ได้ที่
โทร : 02-1019187, Line : @thaifranchise

คุณมนตรี ศรีวงษ์ (อ๊อฟ)

นักเขียน ผู้คลุกคลีอยู่ในแวดวงข่าวสาร การค้า การลงทุน มีความสนใจเรื่องของธุรกิจเอสเอ็มอี และแฟรนไช